คิดเอง+ทำเอง อิเล็กทรอนิกส์แบบชาวบ้าน เล่ม 2

ผู้เขียน: อภิเชษฐ์ การัยภูมิ
ISBN: 978-974-7263-13-8
จำนวนหน้า: 224 หน้า
ขนาด: 18.5 x 26 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 175 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 160 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


คำเตือน => ไม่ควรเปิดหนังสือเล่มนี้ หากต้องการอ่านเรื่องเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์แบบเข้าใจยาก! เพราะเนื้อหาของเรามีแต่เรื่องเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ที่อ่านเข้าใจสบายๆ ล้วนๆ ดังต่อไปนี้
  • ตัวอย่างเทคนิคง่ายๆ เพื่อเล่นอิเล็กทรอนิกส์ให้สนุกขึ้น ประกอบด้วย เทคนิคการป้องกันกระแสเกินให้อยู่หมัด, เทคนิคเสริมเขี้ยวเล็บให้มิเตอร์ตัวเก่ง, เทคนิคป้องกันปัญหามิให้ไฟผิดขั้ว, เทคนิคออกแบบวงจรทรานซิสเตอร์เพื่อขับรีเลย์, เทคนิคการชุบชีวิตแอมป์รุ่นคุณปู่และชุดจ่ายไฟโดยไม่ง้อหม้อแปลง
  • ลองสร้างโครงงานอิเล็กทรอนิกส์เล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ อาทิ วงจรจ่ายไฟสำเร็จรูปง่ายๆ ที่ควรมี, วงจรไฟกะพริบง่ายๆ จากไอซีดิจิตอล, วงจรไอซีที่สามารถชาร์จแบตเตอรี่แบบไม่แพง, วงจรควบคุมหลอดไฟฟ้าด้วยแสง, วงจรขยายเสียง 50W OCL เป็นต้น แถมด้วยกลเม็ดเคล็ดลับการสร้างโครงงานให้สำเร็จ
  • ยกตัวอย่างอาการทีวีสีเสียแบบที่ช่างเห็นแล้วยิ้ม เพราะทั้งซ่อมง่าย ค่าอะไหล่ราคาถูก และคิดค่าซ่อมได้แพง เมื่อท่านทราบอย่างนี้แล้ว ไม่คิดที่จะลองซ่อมเองบ้างหรือ?
  • หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับใครบ้าง

    • ผู้มีใจรักที่จะเล่นอิเล็กทรอนิกส์ให้สนุก และนำไปใช้งานได้จริง
    • ผู้ที่ต้องการศึกษาแนวความคิดทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำให้ชีวิตง่ายขึ้น
    • ผู้ที่เคยอ่านหนังสือ "คิดเอง+ทำเอง อิเล็กทรอนิกส์แบบชาวบ้าน เล่ม 1", "อิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย เล่ม 1" และ"อิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย เล่ม 2" มาแล้ว

    ผู้อ่านควรมีความรู้อะไรมาก่อนบ้าง

    • ระดับการศึกษาไม่จำกัด เพียงแค่อ่านหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้บ้างก็พอ
    • มีความรู้พื้นฐานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์มาก่อน

    จะสนุกกับอิเล็กทรอนิกส์ตามตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ ต้องมีอะไรบ้าง

    • เครื่องมือพื้นฐานเพื่อการขัน-ถอด-งัด-ตัด นั่นคือ ไขควงและคีมแบบต่างๆ
    • เครื่องมือวัด คือ มัลติมิเตอร์แบบเข็มหรือแบบดิจิตอล แล้วแต่ลักษณะการใช้งาน
    • เครื่องมือช่วยงานบัดกรี คือ หัวแร้งขนาดไม่เกิน 35W, ตะกั่วบัดกรี และอื่นๆ
    • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของใหม่หรือของเก่า แล้วแต่สะดวก นานาไอเดีย


    บทที่ 1 เทคนิคป้องกันกระแสเกิน

    หากท่านประสบปัญหาเกี่ยวกับกระแสเกิน นอกจากการใช้ฟิวส์ ซึ่งไม่สะดวกและไม่เที่ยงตรงแล้ว ลองหันมาใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ดูดีกว่า แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็คุ้มค่าพอสมควร

    • รับรู้กระแสเกิน
      • นำวิธีวัดกระแสมาใช้ดีกว่า
      • เกินปุ๊บตัดปั๊บด้วย SCR
    • เทคนิคการป้องกันที่ลงตัว
      • คิดหาวิธีปราบกระแสเกินอย่างมีขั้นตอน
      • ใช้ทรานซิสเตอร์แทน SCR ไม่ยาก
    • รวมวงจร+หาค่าอุปกรณ์
    • ปรับปรุงการป้องกันตามใจนึก

    บทที่ 2 เพิ่มย่านวัดแรงดันให้มัลติมิเตอร์ตัวเก่ง

    เบื่อไหมกับการใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มทั่วไป แล้วเจอปัญหาอ่านค่าแรงดันยาก เรามาหาทางแก้ปัญหานี้โดยการเพิ่มย่านวัดแรงดันอีก ด้วยวิธีการแบบง่ายๆ และประหยัดสุดๆ

    • ทำความเข้าใจมัลติมิเตอร์ในฐานะโวลต์มิเตอร์
      • สิ่งที่โวลต์มิเตอร์ควรมี
      • เปรียบเทียบ Rm และ Im ของย่านวัดต่างๆ
    • ลงมือเพิ่มย่านวัดที่ต้องการ
      • ลดไฟด้วยตัวต้านทาน Rs
      • หาค่า Rs ได้อีกวิธีหนึ่ง
    • หาสเกลที่เหมาะสมในการอ่านค่า

    บทที่ 3 นานาเทคนิคป้องกันการต่อผิดขั้ว

    การป้อนไฟเลี้ยงผิดขั้ว เป็นเรื่องที่ควรให้ความระมัดระวัง เนื่องจากมีโอกาสก่อความเสียหายมากพอสมควร ดังนั้น เราจะมาดูวิธีป้องกันความผิดพลาดเมื่อเผลอป้อนไฟเลี้ยงผิดขั้ว ซึ่งมีหลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสม

    • ไดโอดตัวเดียวก็แจ๋วได้
      • เข้าใจจุดอ่อน
      • เลือกไดโอดให้เหมาะสม
    • กลับขั้วอัตโนมัติด้วยไดโอดแบบบริดจ์
      • มีจุดอ่อนลักษณะเดียวกัน
      • ใช้ไดโอดแบบบริดจ์สำเร็จรูปดีกว่า
    • ผิดขั้วปุ๊บฟิวส์ขาดปั๊บ
      • ประโยชน์จากการใช้ฟิวส์+ไดโอด
      • เลือกไดโอดที่ทนกระแส
    • ผิดขั้วปุ๊บรีเลย์ตัดไฟปั๊บ
      • ตัดไฟแต่ต้นลมด้วยรีเลย์
      • เลือกอุปกรณ์ตามคุณสมบัติ
      • คิดดัดแปลงเล่นๆ
    • กลับขั้วอัตโนมัติรุ่นปรับปรุง
      • เพิ่มรีเลย์อีกตัว
      • จุดอ่อนที่พอรับได้

    บทที่ 4 วงจรขับรีเลย์ด้วยทรานซิสเตอร์

    ท่านคงเคยเห็นการควบคุมรีเลย์ให้ทำงานตามต้องการมาบ้างแล้ว คราวนี้ขอเชิญมาดูวงจรขับรีเลย์ในแบบของผม ซึ่งเป็นวงจรแบบง่ายๆ +ประหยัด และสามารถเลือกใช้ทรานซิสเตอร์ NPN หรือ PNP เป็นตัวขับก็ได้

    • เด่นด้านควบคุม
    • พื้นฐานในการต่อทรานซิสเตอร์
    • ทดลองใช้ทรานซิสเตอร์ขับรีเลย์
      • บ่อยครั้งที่ขับรีเลย์ด้วยทรานซิสเตอร์ NPN
      • ทำไมต้องใส่ D1 ด้วย?
      • ใช้อุปกรณ์ได้อย่างยืดหยุ่น
      • เกิดอะไรขึ้นเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งรีเลย์?
    • วงจรกลับสถานะทางไฟฟ้า
      • ใช้ทรานซิสเตอร์ NPN กลับสถานะไฟง่ายดี
      • ใช้ทรานซิสเตอร์ PNP กลับสถานะไฟได้เหมือนกัน
    • แรงไม่พอจึงต้องขยาย
      • ต่อทรานซิสเตอร์ NPN แบบดาร์ลิงตัน
      • ต่อทรานซิสเตอร์ PNP แบบดาร์ลิงตันก็ไม่มีปัญหา
      • ต่อทรานซิสเตอร์ NPN และ PNP ร่วมกัน

    บทที่ 5 เพิ่มพลังให้แอมป์เก๋ากึ๊ก

    ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากทนฟังแอมป์เก่าๆ เสียงแย่ๆ ก็ลองอ่านประสบการณ์ของผมในการดัดแปลงแอมป์เก่า แบบ OTL ให้มีคุณภาพเสียงดีขึ้น ในแบบเรียบง่ายและประหยัดอีกแล้วครับท่าน

    • ส่องดูภายในตัวเครื่อง
      • จุดเด่นคือเป็นมิตรกับลำโพง
      • สาเหตุที่ทำให้เกิดจุดด้อย
    • ลงมือเพิ่มพลังเสียง
      • เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
      • เปลี่ยนอุปกรณ์เล็กๆ ก่อน
      • ติดตั้งหม้อแปลง+เพิ่มฟิวส์
      • ใช้ท่อหดแทนเทปพันสายไฟ
      • ทดสอบและลองพลังเสียง

    บทที่ 6 ชุดจ่ายไฟตรงแบบไม่ง้อหม้อแปลง

    วงจรจ่ายไฟตรงขนาดเล็กเขาทำกันอย่างไรหนอ? ฝืนใช้หม้อแปลงไปคงไม่ดีแน่ มาดูวิธีต่างๆ ที่ผมจะแนะนำในบทนี้กันดีกว่า ทั้งเบา สบาย ไม่เกะกะ (ขนาดเล็ก) แถมยังประหยัดตามหลักพอเพียงอีกด้วย

    • หาอุปกรณ์แทนหม้อแปลง (ตัวอย่างจากกรณีต่อหลอด LED กับไฟบ้าน)
    • ลองคิดวงจรจ่ายไฟตรงด้วยตัวต้านทาน
      • ตัวต้านทานค่าเท่าไหร่ดี?
      • ใช้ตัวต้านทานก็มีจุดอ่อน
    • วงจรจ่ายไฟตรงด้วยตัวเก็บประจุแบบง่ายๆ
      • ตัวเก็บประจุค่าเท่าไหร่ดี?
      • แม้วงจรนี้มีจุดอ่อน แต่...
    • วงจรจ่ายไฟตรงด้วยตัวเก็บประจุรุ่นพิมพ์นิยม
      • เลือกตัวเก็บประจุที่เหมาะสม
      • ตัวอย่างการใช้งานจริงและปรับปรุงให้ดีขึ้น
      • ผลเสียและข้อควรระวังอย่างมาก

    บทที่ 7 โครงงานแบบชาวบ้าน คิดเอง+ทำเองอย่างไรให้ได้ผล

    ถ้าอยากสร้างโครงงานได้อย่างประสบความสำเร็จ ควรประเดิมอ่านบทนี้ก่อน เพราะจะช่วยให้ท่านเริ่มต้นสร้างโครงงานได้ดี ราบรื่น ด้วยอุปกรณ์ที่ลงตัว และต่อยอดพัฒนาโครงงาไปได้เรื่อยๆ อย่างไม่สิ้นสุด

    • ข้อพึงปฏิบัติเพื่อสร้างโครงงานให้แจ๋วจริง
    • เลือกสรรอุปกรณ์อย่างฉลาด
      • ไดโอด
      • ทรานซิสเตอร์
      • รีเลย์
    • แนวทางการออกแบบวงจรต่างๆ

    บทที่ 8 ชุดจ่ายไฟพื้นฐานสำเร็จรูป ง่ายแต่สุดคุ้ม

    สาเหตุสำคัญที่ทำให้โครงงานที่ใช้กับไฟบ้าน ไม่ได้ผลดีนัก อาจเป็นเพราะว่าชุดจ่ายไฟตรงในโครงงานเหล่านั้น ยังไม่ดีพอ บทนี้จึงแนะนำการสร้างชุดจ่ายไฟตรงแบบง่ายๆ และเป็นชุดจ่ายไฟสำเร็จรูป ซึ่งเหมาะสำหรับการแก้ปัญหาในลักษณะดังกล่าว

    • ใช้แรงดันขนาด 12V เหมาะที่สุด
    • ชุดจ่ายไฟพื้นฐาน 2 แบบ 2 ประเภท
    • ทำความเข้าใจอุปกรณ์สำคัญในวงจร
    • อย่าตกใจถ้าแรงดันสูงเกิน 12V
    • ลงมือสร้างชุดโครงงาน
      • แจกแจงรายการอุปกรณ์
      • หน้าตาแผ่นปรินต์ตัวจริง

    บทที่ 9 ลองใช้ไอซีดิจิตอลทำวงจรไฟกะพริบแบบง่ายๆ

    หากท่านเคยสร้างวงจรไฟกะพริบด้วยทรานซิสเตอร์มาแล้ว อยากให้ลองมาดูว่า ไอซีดิจิตอลจะสามารถสร้างเป็นวงจรไฟกะพริบได้ง่ายหรือยากว่าทรานซิสเตอร์เพียงใด ไม่แน่ว่าท่านอาจจะหลงเสน่ห์ไอซีดิจิตอลเหมือนผมก็ได้

    • NOT gate คืออะไร?
    • วัดสัญญาณเพื่อเข้าใจการทำงาน
    • วิเคราะห์รูปสัญญาณจากสโคป
    • ไฟกะพริบด้วยไอซีที่ลงตัว
    • ใส่บัฟเฟอร์เป็นกันชนไว้ดีนัก
    • ลงมือสร้างชุดโครงงาน
      • แจกแจงรายการอุปกรณ์
      • หน้าตาแผ่นปรินต์ตัวจริง

    บทที่ 10 จ่ายกระแสคงที่ด้วยไอซี 78xx เพื่อสร้างวงจรชาร์จถ่าน

    ผมเคยแนะนำให้ใช้วงจรทรานซิสเตอร์ในการสร้างเครื่องชาร์จถ่านด้วยกระแสคงที่มาแล้ว แต่ท่านคงพบความไม่สะดวกในการสร้างอยู่บ้าง คราวนี้ผมจึงขอแนะนำอีกวิธีหนึ่งคือ นำไอซีจ่ายไฟตรงเบอร์ยอดนิยมมาสร้างเป็นวงจรจ่ายกระแสคงที่สักหน่อย (ง่าย+ถูก+ดีเช่นกัน)

    • ต้องชาร์จด้วยกระแสเท่าไร+นานแค่ไหน?
    • วงจรพื้นฐานจากคู่มือไอซี 7805
    • หาค่ากระแสคงที่จาก R1
    • ทดลองต่อวงจรใช้งานจริง
    • ลงมือสร้างชุดโครงงาน
      • แจกแจงรายการอุปกรณ์
      • หน้าตาแผ่นปรินต์ตัวจริง

    บทที่ 11 ชาร์จแบตฯรถมอเตอร์ไซค์แบบคนยาก

    ไฟแบตเตอรี่ของรถมอเตอร์ไซค์หมดเกลี้ยงแล้ว จะทำอย่างไรดี คงไม่ไหวแน่หากนำไปชาร์จไฟที่ร้าน ลองสร้างชุดวงจรชาร์จแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เอาไว้ใช้งานสิครับ นอกจากใช้กับมอเตอร์ไซค์ได้แล้ว ยังใช้สำหรับชาร์จแบตฯทั่วไปได้ด้วย สร้างก็ง่าย ราคาก็ถูก คุ้มจริงๆ

    • ทำความเข้าใจการชาร์จแบตเตอรี่
      • แบตเตอรี่มี 2 ประเภท
      • ชาร์จอย่างไรดี?
    • คิดวงจรที่เหมาะสม
      • ไม่ใส่ C ในวงจรชาร์จดีกว่า
      • ใส่เทอร์โมฟิวส์ป้องกันร้อนเกินขนาด
    • ลงมือสร้างชุดโครงงาน
      • แจกแจงรายการอุปกรณ์
      • หน้าตาแผ่นปรินต์ตัวจริง

    บทที่ 12 ทดลองวงจรผลิตความถี่เสียงไล่นก

    ถ้าท่านอยากทราบว่า สัญญาณเสียงความถี่สูง สามารถไล่นกได้หรือไม่ ต้องทดลองดูกันหน่อย โดยงัดเอาไอซียอดนิยมมาใช้ ถึงแม้ไม่มีนกให้พิสูจน์ชัวร์ๆ ว่าไล่ได้หรือไม่ได้ แต่รับรองว่าผลิตความถี่ได้ผลอย่างแน่นอน

    • คิดวงจรตามเงื่อนไข
      • อาศัยไอซีมาผลิตความถี่เสียง
      • ตีความเงื่อนไขเป็นผังการทำงานพื้นฐาน
      • เลือกวงจรที่เหมาะสม
      • ภาคจ่ายไฟ
      • ภาคคาบเวลาอัตโนมัติ
      • ภาคผลิตความถี่
    • ภาคผลิตคาบเวลาควบคุมภาคผลิตความถี่ได้อย่างไร?

    บทที่ 13 สวิตช์สนธยา

    ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ (สวิตช์สนธยา) จะช่วยให้ท่านสะดวกและประหยัดยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้เปิดไฟเฉพาะตอนกลางคืน และปิดไฟตอนกลางวัน หลังจากอ่านบทนี้แล้ว ท่านจะทราบว่า เราสามารถพัฒนาเอาอุปกรณ์ต่างๆ ใกล้ตัวมาใช้ในการสร้างระบบนี้ได้อย่างไร

    • ความคิดริเริ่มจากระบบเปิด-ปิดไฟ ควบคุมด้วยแสง
    • ลองใช้สวิตช์แสงสำเร็จรูป (Photocontrols)
    • สวิตช์แสง (สวิตช์สนธยา) รุ่นทำเอง
      • ตรวจจับแสงด้วยตัวต้านทานแสง (LDR)
      • หยิบไอซีออปแอมป์มาตรวจสอบแสง
      • ควบคุมรีเลย์ให้ตัด-ต่อไฟอย่างเหมาะเจาะ
      • ชุดวงจรจ่ายไฟก็สำคัญไม่น้อย
    • ลงมือสร้างชุดโครงงาน
      • แจกแจงรายการอุปกรณ์
      • หน้าตาแผ่นปรินต์ตัวจริง
    • ติดตั้ง LDR เป็นชุดรับแสง

    บทที่ 14 ชุดขยายสัญญาณอเนกประสงค์

    หากท่านกำลังมองหาชุดขยายสัญญาณอเนกประสงค์ ก็ลองอ่านบทนี้ได้ คงไม่สามารถบอกว่าดีแค่ไหน แต่อย่างน้อยนับได้ว่า เป็นชุดขยายสัญญาณเสียง (แอมป์) ที่ขับเสียงทุ้ม-แหลมได้อย่างเป็นธรรมชาติ และท่านสามารถสร้างเองไม่ยากนัก ด้วยงบประมาณไม่แพง

    • เรื่องเก่าเล่าใหม่ ขยายสัญญาณความถี่สูง
    • ทำความเข้าใจวงจรขยายสัญญาณอเนกประสงค์
      • ส่วนที่หนึ่ง = วงจรขยายเสียง
      • ส่วนที่สอง = วงจรจ่ายไฟตรง
    • ลงมือสร้างชุดโครงงาน
      • แจกแจงรายการอุปกรณ์
      • หน้าตาแผ่นปรินต์ตัวจริง
    • ทดสอบ+คิดต่อยอด

    บทที่ 15 ระบบสูบน้ำอัตโนมัติ

    ระบบสูบน้ำอัตโนมัติ จะช่วยให้ท่านสูบน้ำได้สะดวกขึ้น และประหยัดน้ำประหยัดค่าไฟยิ่งขึ้น โดยระบบ(เครื่อง) จะตรวจสอบระดับน้ำตลอดเวลา เมื่อใช้น้ำใกล้หมดก็สั่งให้เครื่องสูบน้ำทำงาน พอน้ำใกล้เต็มถัง ระบบก็สั่งให้เครื่องสูบน้ำหยุดทำงาน ทำให้มีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอ และตัดปัญหาเรื่องน้ำล้นถังได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

    • ทำความเข้าใจระบบตรวจระดับน้ำทั้งระบบ
    • ผังการทำงานแบบง่ายๆ
    • หาอุปกรณ์หลักๆ ให้ลงตัว
      • ชุดตรวจ B
      • ชุดตรวจ A
    • คิดวงจรจริงแบบแยกส่วน
      • แก้ปัญหาชุดตรวจ B ไม่ยอมหยุดทำงาน
      • แก้ปัญหาชุดตรวจ A ใช้อุปกรณ์ไม่ตรงเงื่อนไข
    • นำวงจรแยกส่วนมารวมกัน
    • ลงมือสร้างชุดโครงงาน
      • แจกแจงรายการอุปกรณ์
      • หน้าตาแผ่นปรินต์ตัวจริง
    • สร้างจุดตรวจแบบทนทาน
    • นำไปติดตั้งใช้งานได้แล้ว

    บทที่ 16 รวมฮิตอาการเสีย ทีวีสีเนชั่นแนล

    เมื่อทีวีเสีย และเป็นทีวีสียี่ห้อยอดฮิตอย่างเนชั่นแนลซะด้วย ท่านจะทำอย่างไร นำส่งซ่อมที่ร้านทั่วไป คงหลายตังค์ ลองอ่านบทนี้ก่อนสิ ท่านอาจจะซ่อมเองได้ ทั้งประหยัดเงินและภูมิใจด้วย (ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด)

    • อาการที่ 1 เครื่องไม่ทำงาน
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • ตรวจตราอุปกรณ์ในวงจร
      • ไฟออกไม่มา
      • ไฟควบคุมมีผลต่อไฟออก
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!
    • อาการที่ 2 จอหดทั้งสี่ด้าน พอนานๆ ก็ดับเลย
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!
    • อาการที่ 3 จอขาว ไม่มีเสียง
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!
    • อาการที่ 4 ไม่มีเสียง ภาพปกติดี
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!

    บทที่ 17 รวมฮิตอาการเสีย ทีวีสีซิงเกอร์

    สำหรับบทนี้ท่านจะได้ศึกษาตัวอย่างการซ่อมทีวีสียี่ห้อซิงเกอร์ อาการจอมืดหรือเครื่องทำงานไม่ปกติ โดยมีสาเหตุการเสียจากอุปกรณ์ราคาไม่แพง และการตรวจซ่อมก็ไม่ยากด้วย หากท่านซ่อมได้คงช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก

    • อาการที่ 1 จอมืด ไม่มีเสียง
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!
    • อาการที่ 2 เครื่องไม่ทำงาน
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!
    • อาการที่ 3 จอมืดเป็นบางครั้ง
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!

    บทที่ 18 รวมฮิตอาการเสีย ทีวีสีมิตซูบิชิ

    มิตซูบิชิ เป็นยี่ห้อทีวีสีที่ได้ชื่อว่ามีราคาแพงยี่ห้อหนึ่ง เวลาทีวียี่ห้อนี้เสีย ผู้ใช้หลายท่านจึงอาจจะคิดว่า ค่าซ่อมแพง แต่ลองอ่านบทนี้ดูก่อน แล้วท่านจะเปลี่ยนใจ เพราะจริงๆ แล้วมันไม่แพงและยากเกินไปหรอก ท่านเองก็ทำได้ ซ่อมได้แน่นอน

    • อาการที่ 1 เครื่องไม่ทำงาน
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!
    • อาการที่ 2 เครื่องไม่มีแสง ไม่มีเสียง
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!
    • อาการที่ 3 เครื่องไม่ทำงาน แต่ได้ยินเสียงแปลกๆ
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!

    บทที่ 19 รวมฮิตอาการเสีย ทีวีสีสัญชาติจีนแดง

    หากท่านกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับซ่อมทีวีสีจีนแดงราคาถูกๆ ซึ่งนอกจากหาภาพวงจรมาศึกษายากแล้ว อะไหล่ยิ่งหายากเย็นเช่นกัน ท่านก็ควรอ่านบทนี้ เพราะจะช่วยให้สามารถซ่อมทีวีสีสัญชาติจีนได้ง่ายขึ้น ชอบใจจริงๆ มีทีวีสีราคาถูกแล้วยังซ่อมง่ายด้วย คุ้มสุดคุ้ม

    • อาการที่ 1 เครื่องไม่ทำงานใดๆ เลย
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!
    • อาการที่ 2 เครื่องไม่ทำงาน แต่มีเสียงดังน่ากลัวในเครื่อง
      • ขั้นตอนการตรวจซ่อม
      • เจอตัวปัญหาแล้ว!