Microsoft Exchange Server 2007 แค่คลิก-คลิก-คลิก ก็บริหารเมลเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว!
ผู้เขียน: สมหวัง พัชอัย
ISBN: 978-974-303-036-9
จำนวนหน้า: 384 หน้า
ขนาด: 17 x 22 ซม.
รูปแบบหนังสือ:
หนังสือขาวดำ
ราคาปก: 295 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 260 บาท
- อ่านง่าย เข้าใจลึกซึ้ง ยกตัวอย่างด้วยสถานการณ์จริง
- อธิบายโดยละเอียด ตั้งแต่เริ่มต้นจนสามารถนำไปใช้งานได้จริง
- รับส่งเมล์ทั้งภายในองค์กรและออกสู่อินเทอร์เน็ต ในแบบไร้ค่าใช้จ่าย
- เจาะลึกการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ
- เสริมการทำงานด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ดูแลและผู้ใช้งาน
- ครอบคลุมรายละเอียดทั้งในส่วนของผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้งานธรรมดา
- ไม่มีพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายมาก่อนก็สามารถเข้าใจได้
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ดูแลระบบไอทีในองค์กร
- นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการศึกษาการทำงานของระบบเมลเซิร์ฟเวอร์ รวมทั้งการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ในแบบของ Microsoft
- ผู้สนใจติดตั้งเมลเซิร์ฟเวอร์คุณภาพสูงไว้ใช้งานเอง
ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่าน
- หากมีความรู้พื้นฐานด้าน Windows Server และระบบที่เกี่ยวข้องมาก่อน จะทำให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น
- ในกรณีที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน หนังสือเล่มนี้จะมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ให้อ่านในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Microsoft Exchange Server 2007 ทำให้ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อนสามารถทำตามได้เช่นเดียวกัน
จะทดลองปฏิบัติตามตัวอย่างในหนังสือต้องมีอะไรบ้าง
- การทำงานส่วนใหญ่สามารถทำได้จากคอมพิวเตอร์เพียง 1 ตัวเท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่มีการใช้งาน Edge Transport Server จะต้องเพิ่มคอมพิวเตอร์ขึ้นมาอีก 1 เครื่อง
- คอมพิวเตอร์จะเป็นแบบ 32 บิต หรือ 64 บิตก็ได้ แต่แบบ 32 บิต จะมีแค่เวอร์ชันทดลองเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้งานจริงได้
บทที่ 1 ทำความรู้จักกับ Microsoft Exchange Server 2007
ในหนังสือเล่มนี้ผมจะแนะนำการใช้งานโปรแกรมระบบเมลโปรแกรมหนึ่งคือ Microsoft Exchange Server 2007 โดยจะอธิบายให้ผู้อ่านได้ทราบถึงหลักการทำงานพื้นฐานของโปรแกรม, การติดตั้ง, การปรับแต่งค่าต่างๆ ของโปรแกรม ตลอดจนการดูแลรักษาระบบเมลให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามาเริ่มทำความรู้จักกับ Microsoft Exchange Server 2007 กันเลยดีกว่าครับ
- ติดตั้งเมลเซิร์ฟเวอร์ไปทำไม ?
- เมื่อเมลเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนัก : ระเบิดซะเลย
- รู้จักกับเมลโฮสติ้ง (Mail Hosting)
- ข้อดีของการมีเมลเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง
- ทำไมต้อง Microsoft Exchange Server 2007 ?
- ความสามารถที่น่าสนใจของ Microsoft Exchange Server 2007
- Server Roles : แยกหน้าที่หลักมาเป็นเซิร์ฟเวอร์ตัวหนึ่งเลยดีกว่า
- AutoDiscover : กำหนดค่าการเชื่อมต่ออัตโนมัติ
- Exchange Management Console (EMC) : ควบคุมการทำงานจากส่วนเดียว
- Exchange Management Shell (EMS) : จัดการกับระบบอย่างรวดเร็วด้วยการเขียนโปรแกรม
- Outlook Web Access (OWA) : ใช้งานระบบเมลผ่านหน้าเว็บ
- 64-Bit Architecture : ทำงานบนระบบ 64 บิต
- Edge Transport Server : ใช้งานระบบเมลอย่างปลอดภัยและไร้เมลขยะ
- Cluster Continuous Replication และ Local Continuous Replication : ทำงานแบบไม่มีสะดุด
- Automatic TLS Encryption : ส่งข้อมูลได้อย่างปลอดภัย
- Transport Rules : กำหนดเงื่อนไขการรับส่งเมล
- WebReady Document Viewing : อ่านเอกสารที่แนบมาได้ทันที แม้ไม่มีโปรแกรมเปิด
- Calendaring & Scheduling : ไม่พลาดทุกการนัดหมาย
- Unified Messaging : การสื่อสารที่หลากหลาย
- Disaster Recovery : การสำรองและกู้ข้อมูลที่ยอดเยี่ยม
- รุ่นของ Microsoft Exchange Server 2007
- หน้าที่ของเซิร์ฟเวอร์ย่อยแต่ละแบบใน Microsoft Exchange Server 2007
- Mailbox Server
- Client Access Server
- Hub Transport Server
- Edge Transport Server
- Unified Messaging Server
บทที่ 2 เตรียมตัวก่อนติดตั้ง Microsoft Exchange Server 2007
การติดตั้ง Microsoft Exchange Server 2007 จะแตกต่างจากโปรแกรมส่วนใหญ่ที่เราเคยติดตั้งกันมาเล็กน้อย คือ จะต้องเปิดการทำงานฟังก์ชันบางอย่างของวินโดวส์ ต้องมีการติดตั้งคอมโพเนนต์ที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน รวมทั้งต้องมีการปรับแต่งค่าบางอย่างของวินโดวส์ เพื่อให้ Microsoft Exchange Server 2007 สามารถทำงานได้บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของเรา
- ความต้องการของ Microsoft Exchange Server 2007
- รู้จักกับคอมโพเนนต์หรือเซอร์วิสที่จำเป็นของ Microsoft Exchange Server 2007
- คอมโพเนนต์ (Component)
- เซอร์วิส (Service)
- โพรโตคอล (Protocol)
- รูปแบบการติดตั้ง Microsoft Exchange Server 2007
- ติดตั้ง Active Directory
- ปรับฟังก์ชันการทำงานของ Active Directory
- ติดตั้งคอมโพเนนต์ที่จำเป็น
- .NET Framework 2.0
- Hotfix for .NET Framework
- Microsoft Management Console 3.0
- Windows PowerShell 1.0
- Hotfix for Windows x64
- ติดตั้งคอมโพเนนต์สำหรับ Mailbox Server
- ติดตั้งคอมโพเนนต์สำหรับ Client Access Server
- ติดตั้งคอมโพเนนต์สำหรับ Edge Transport Server
- ติดตั้งคอมโพเนนต์สำหรับ Unified Messaging Server
- Windows Media Encoder
- Windows Media Audio Voice Codec
- MSXML 6
- เตรียมตัวก่อนการติดตั้ง Microsoft Exchange Server 2007 เวอร์ชัน 32 บิต
บทที่ 3 ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Exchange Server 2007
หลังจากติดตั้งคอมโพเนนต์ที่จำเป็น เปิดฟังก์ชันการทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับแต่งค่าวินโดวส์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ก็พร้อมที่จะติดตั้ง Microsoft Exchange Server 2007 ได้แล้ว ในบทนี้เราก็จะกล่าวถึงกระบวนการทั้งหมดเกี่ยวกับการติดตั้งตัวโปรแกรม Microsoft Exchange Server 2007 เพื่อให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
- การติดตั้ง Microsoft Exchange Server 2007
- ทดลองใช้งานเมลผ่านเว็บ
- การลดเซิร์ฟเวอร์ย่อย
- การเพิ่มเซิร์ฟเวอร์ย่อย
- ติดตั้ง Microsoft Exchange Server 2007 เวอร์ชัน 32 บิต (แบบทดลองใช้งานมีทั้ง 32 และ 64 บิต)
บทที่ 4 การบริหารจัดการผู้ใช้งานในระบบ (Recipient)
ตอนนี้เรามีเมลเซิร์ฟเวอร์ในระบบแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องสร้างผู้ใช้ในระบบขึ้นมา โดยผู้ใช้ในระบบจะถูกเรียกว่า Recipient ดังนั้นในบทนี้เราจะมาสร้างและจัดการกับผู้ใช้ เรียนรู้ประโยชน์ของการใช้งานกลุ่มของผู้ใช้แต่ละประเภท กำหนดเงื่อนไขในการใช้งานต่างๆ เพื่อให้ใช้งานระบบเมลในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและสะดวกที่สุด
- Mailbox
- User Mailbox
- Room Mailbox
- Equipment Mailbox
- การจัดการ Mailbox
- การ Move Mailbox
- การนำ Disconnected Mailbox มาใช้งานใหม่
- การใช้งาน Distribution Group
- จัดการกับ Distribution Group
- การใช้งาน Dynamic Distribution Group
- จัดการกับ Dynamic Distribution Group
- การใช้งาน Filter
- เพิ่มความสะดวกด้วย Mail Contact
บทที่ 5 การบริหารจัดการ Mailbox Server
Mailbox Server เป็นเซิร์ฟเวอร์ย่อย ที่มีหน้าที่ในการจัดการกับข้อมูลในระบบเมลเซิร์ฟเวอร์ การปรับแต่ง Mailbox Server ที่เหมาะสม จะช่วยให้การจัดการด้านข้อมูลของระบบเมล มีประสิทธิภาพสูงสุด ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการจัดการกับฐานข้อมูลในระบบเมล การกำหนดเงื่อนไขในการเก็บข้อมูล การสร้าง Address List เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน รวมทั้งการกำหนดนโยบายในการใช้งานระบบเมลของผู้ใช้
- ทำความรู้จักกับ Storage Group
- สร้าง Mailbox Database
- การจัดการกับ Mailbox Database
- แท็บ General
- แท็บ Limits
- สร้าง Public Folder Database สำหรับเก็บข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน
- การจัดการกับ Public Folder Database
- แท็บ General
- แท็บ Limits
- แท็บ Replication
- ค้นหาเมลง่ายขึ้นด้วย Address List
- การแก้ไข Address List
- การอัปเดต Address List
- การสร้าง Offline Address Book
- กำหนดนโยบายในการใช้งาน Microsoft Exchange Server 2007
- โฟลเดอร์ใน Microsoft Exchange Server 2007
- การจัดการกับ Default Folder
- การสร้าง Custom Folder
- Managed Folder Mailbox Policy
- การนำ Managed Folder Mailbox Policy มาใช้งาน
- การอัปเดต Managed Folder Mailbox Policy
บทที่ 6 Client Access Server
Client Access Server เป็นเซิร์ฟเวอร์ย่อยที่มีหน้าที่ในการควบคุมการเข้าใช้งานของผู้ใช้ การปรับแต่ง Client Access Server ที่ดีจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้น และตัวระบบเองก็มีความปลอดภัยสูงขึ้นด้วย ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องของการปรับแต่งค่าต่างๆ ในการเข้าใช้งานระบบเมลของผู้ใช้ การกำหนดเงื่อนไขในการใช้งานข้อมูลของผู้ใช้ รวมทั้งรายละเอียดสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้งานระบบกัน
- การจัดการกับ Outlook Web Access (OWA)
- แท็บ General
- แท็บ Authentication
- แท็บ Segmentation
- แท็บ Remote File Servers
- แท็บ Public Computer File Access และ Private Computer File Access
- เปิดการทำงานของ POP3 และ IMAP
บทที่ 7 Hub Transport Server
ในการรับส่งเมลนั้น เราจะต้องมีตัวกลางเสมือนรถรับส่งจดหมาย เพื่อทำหน้าที่รับส่งเมลตามความต้องการ Hub Transport Server คือ เซิร์ฟเวอร์ย่อยที่เข้ามารับหน้าที่นี้ นอกจากการรับส่งเมลซึ่งเป็นหน้าที่หลักแล้ว เรายังสามารถตั้งเงื่อนไขหรือข้อกำหนดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ควบคุมการรับส่งเมลได้อีกด้วย
- สร้าง Send Connector เพื่อส่งเมลให้ Exchange Server 2007 ในระบบเครือข่ายของเราเอง
- ตัวรับเมล Receive Connector
- กำหนดเงื่อนไขการใช้งานด้วย Transport Rule
- การสร้าง E-mail Address Policy
- การใช้งาน Accepted Domain
- ตั้งค่าการใช้งานผ่าน Remote Domain
- แท็บ General
- แท็บ Message Format
- ตรวจสอบการส่งเมลด้วย Journaling
- การปรับแต่งค่า DNS และ Limits ของ Hub Transport Server
บทที่ 8 Edge Transport Server
ปัญหาเมลที่ไม่ต้องการ เช่น เมลโฆษณาสินค้า เมลหลอกลวง ล้วนเป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้ดูแลระบบเมลต้องป้องกันให้ดี Edge Transport Server เป็นเซิร์ฟเวอร์ย่อยที่เข้ามารับหน้าที่เป็นด่านแรกในการตรวจสอบเมลที่ได้รับมาว่าปลอดภัยหรือไม่ เป็นเมลหลอกลวงไหม ดังนั้นในบทนี้ เราจะมาทำความรู้จักและหาวิธีป้องกันปัญหาเหล่านี้ด้วย Edge Transport Server
- การติดตั้ง Edge Transport Server
- ปรับแต่งค่า DNS Suffix ของ Edge Transport Server
- สร้างการเชื่อมต่อระหว่าง Edge Transport Server กับ Hub Transport Server
- Content Filtering
- IP Allow List
- IP Allow List Providers
- IP Block List
- IP Block List Providers
- Recipient Filtering
- Sender Filtering
- Sender ID
- Sender Reputation
บทที่ 9 ใช้บริการเมลผ่านเว็บด้วย Outlook Web Access
เราสามารถใช้บริการระบบเมลของ Microsoft Exchange Server ผ่านเว็บได้ด้วยบริการที่มีชื่อว่า Outlook Web Access หรือ OWA ในบทนี้เราจะมาลองใช้งาน OWA ในการส่งเมล นัดหมายการประชุม สร้างบันทึกเตือนความจำ การเปิดไฟล์บางรูปแบบผ่านเว็บ รวมทั้งการตั้งค่าต่างๆ ที่ช่วยให้การใช้งานระบบขององค์กรมีความหลากหลายมากขึ้นกันครับ
- สร้างเมลฉบับใหม่
- การนัดหมาย
- บันทึกเตือนความจำ
- เมนูภาษาไทยบน Outlook Web Access
- การใช้งาน WebReady Document Viewing
บทที่ 10 ใช้งานเมลด้วย Outlook 2007
นอกจากการใช้เมลผ่านเว็บแล้ว การใช้งานระบบเมลผ่านโปรแกรมที่เรียกว่า Mail Client ก็สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Exchange Server 2007 ได้ด้วย โปรแกรมประเภทนี้มีให้เลือกหลายตัว แต่แนะนำให้ใช้ Outlook 2007 ซึ่งเป็นโปรแกรมจากไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน ในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการใช้ระบบเมลด้วย Outlook 2007 ที่มีฟังก์ชันมากมายช่วยเพิ่มความหลากหลายในการทำงานได้มากขึ้น ซึ่ง OWA หรือโปรแกรม Mail Client ตัวอื่นๆ บางตัวไม่สามารถทำได้
- การใช้งาน AutoDiscover
- เริ่มใช้งาน Outlook 2007
- สร้างเมลฉบับใหม่
- การนัดหมาย
- เรียกใช้ Offline Address Book
- การใช้ Public Folder
- การใช้งาน Out of Office Message
- ทำงานกับ Outlook Express 6
บทที่ 11 การใช้งาน Local Continuous Replication
ระบบเมลเป็นระบบที่ควรให้บริการได้ตลอดเวลา หากเสียหายก็ต้องทำให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิมโดยเร็วที่สุด ปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นในระบบ คือ ฐานข้อมูลหรือฮาร์ดดิสก์ที่เก็บฐานข้อมูลเกิดความเสียหาย ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถใช้งานระบบเมลได้ วิธีที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วก็คือ Local Continuous Replication ซึ่งเป็นการนำฐานข้อมูลที่เราได้สำรองข้อมูลไว้มาใช้แทน ทำให้ระบบสามารถกลับมาให้บริการได้ดังเดิม ดังนั้นในบทนี้ เราจะมาใช้งาน Local Continuous Replication กัน
- เปิดการทำงาน Local Continuous Replication
- ตรวจสอบสถานะการทำงานของ Local Continuous Replication
- การนำ Passive Storage Group มาใช้งาน
- การคัดลอกฐานข้อมูลแบบแมนนวล
บทที่ 12 การสำรองและการกู้ข้อมูล
ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากในการติดต่อสื่อสาร การมีระบบป้องกันที่ดีจะช่วยลดความเสียหายจากกรณีที่ข้อมูลเกิดการสูญหายขึ้นมาได้ ในบทนี้เราจะได้ทำความรู้จักเกี่ยวกับการสำรองข้อมูลของเราเก็บไว้ และการนำข้อมูลที่เก็บไว้นั้นกลับมาใช้ใหม่ในยามจำเป็น
- สำรองข้อมูลด้วย Windows Backup
- กู้ข้อมูลใน Mailbox Server
- สำรองและกู้ข้อมูลใน Advanced Mode
- การใช้ Schedule ใน Advanced Mode
บทที่ 13 เชื่อมต่อ Microsoft Exchange Server 2007 กับอินเทอร์เน็ต
จุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งในการติดตั้งเมลเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาใช้เอง คือ การใช้เมลเซิร์ฟเวอร์นี้ติดต่อสื่อสารกับเมลเซิร์ฟเวอร์อื่นบนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เราสามารถรับหรือส่งเมลกับผู้ใช้เมลที่ไม่ได้อยู่ในองค์กรของเราผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ในบทนี้เราจะมาเชื่อมต่อ Microsoft Exchange Server 2007 กับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับเมลเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ ภายนอกได้
- ติดตั้ง DynDNS Updater
- ปรับแต่งการใช้งาน Dynamic DNS ของ DynDNS
- ใช้งาน Hub Transport Server ในการรับและส่งเมล
- การทำ Port Forward
- สร้าง Accepted Domain
- สร้าง E-mail Address Policy
- ปรับแต่ง Receive Connector
- สร้าง Send Connector
- ใช้งาน Edge Transport Server ในการรับและส่งเมล
- ปรับแต่งการใช้งาน DNS ของ Edge Transport Server
- ปรับแต่ง Receive Connector
- ปรับแต่ง Send Connector
บทที่ 14 เครื่องมือต่างๆ ของ Microsoft Exchange Server 2007
นอกจากการจัดการระบบเมลผ่าน Exchange Management Console หรือ Exchange Management Shell แล้ว เรายังสามารถตรวจสอบหรือแก้ไขระบบเมลผ่านโปรแกรมย่อยที่สร้างขึ้นมา เพื่อทำงานร่วมกับ Microsoft Exchange Server 2007 ได้อีกด้วย โปรแกรมย่อยเหล่านี้เราเรียกว่าเครื่องมือหรือ Tools ซึ่งมีความสามารถในการตรวจสอบปัญหาของการรับส่งเมล ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบด้วย
- Mail Flow Troubleshooter
- Message Tracking
- Queue Viewer
- Performance Monitor
- Performance Troubleshooter
- Best Practice Analyzer
- Database Recovery Management
- Database Troubleshooter
FAQ คำถามที่พบบ่อย
- บทที่ 1
- บทที่ 2
- บทที่ 3
- บทที่ 4
- บทที่ 5
- บทที่ 6
- บทที่ 7
- บทที่ 8
- บทที่ 9
- บทที่ 10
- บทที่ 11
- บทที่ 12
- บทที่ 13
- บทที่ 14
ภาคผนวก รวมเว็บไซต์เกี่ยวกับ Exchange Server 2007