เรียนลัดหัดกีตาร์ ด้วย... Guitar Pro
ผู้เขียน: สิรวิชญ์ คิมหการ
ISBN: 978-974-04-7814-0
จำนวนหน้า: 336 หน้า
ขนาด: 17 x 22 x 1.8 ซม.
รูปแบบหนังสือ:
หนังสือขาวดำ
ราคาปก: 275 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 240 บาท
- ทางลัดในการหัดกีตาร์ให้เป็นเร็ว โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนรู้
- เจาะลึกทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางด้านดนตรีสากลสำหรับการเล่นกีตาร์
- อ่านและเขียนโน้ตเพลง พร้อมตรวจสอบผลลัพธ์ด้วยคอมพิวเตอร์
- ดาวน์โหลดฟรี! โน้ตเพลงแบบฝึกหัดเพื่อศึกษาทักษะของนิ้ว ที่สามารถเล่นให้ดูเหมือนจริงผ่านทางคอมพิวเตอร์
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นหัดกีตาร์ และต้องการใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนรู้
- ผู้ที่เล่นกีตาร์เป็นอยู่แล้ว และอยากพัฒนาทักษะตามมาตรฐานดนตรีสากล
- ผู้ที่ต้องการเปิดโลกทัศน์ด้านกีตาร์ ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่าน
- เพียงรู้จักการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นก็เพียงพอแล้ว
จะทดลองปฏิบัติตามตัวอย่างในหนังสือต้องมีอะไรบ้าง
- กีตาร์แบบใดก็ได้
- เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมไมโครโฟนและลำโพง
- โปรแกรม Guitar Pro เวอร์ชัน 5 ขึ้นไป
บทนำ คอมพิวเตอร์กับการศึกษาดนตรี
เตรียมความพร้อมในการศึกษาเรื่องดนตรีและกีตาร์จากหนังสือเล่มนี้ โดยทำความเข้าใจแนวทางในการศึกษาดนตรีและบทบาทความสำคัญของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนรู้ดนตรี รวมถึงการทำความรู้จักกับโปรแกรม Guitar Pro 5 ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีประโยชน์มากสำหรับนักกีตาร์และเราจะได้ใช้ในหนังสือเล่มนี้
- บทบาทของคอมพิวเตอร์กับการศึกษาดนตรี
- แนวทางในการศึกษาดนตรี
- การเรียนรู้ทฤษฎีดนตรี
- การฝึกฝนทักษะในการเล่นเครื่องดนตรี
- รู้จักกับโปรแกรม Guitar Pro 5
- การติดตั้งโปรแกรม Guitar Pro 5
- การเปิดใช้งานโปรแกรม Guitar Pro 5
- ส่วนประกอบภายในโปรแกรม Guitar Pro 5
- การเปิดไฟล์งานใน Guitar Pro 5
- เปิดแบบ Open
- เปิดแบบ Browser
- การค้นหาไฟล์แบบฝึกหัดจากอินเทอร์เน็ต
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานสำหรับการเริ่มต้นศึกษากีตาร์
เราจะได้เรียนรู้เรื่องราวทางกายภาพเกี่ยวกับกีตาร์ ประเภทของกีตาร์ รู้จักส่วนประกอบที่สำคัญของกีตาร์ และเริ่มต้นหยิบกีตาร์ขึ้นมาตั้งสาย ซึ่งมีวิธีตั้งสายกีตาร์หลายรูปแบบ รวมถึงเริ่มต้นตั้งสายกีตาร์กับคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม Guitar Pro ด้วย
- ประเภทของกีตาร์
- กีตาร์คลาสสิก (Classical Guitar)
- กีตาร์อคูสติก (Acoustic Guitar)
- กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar)
- ส่วนประกอบของกีตาร์
- รูปแบบการตั้งสายกีตาร์
- แบบมาตรฐาน (Standard Tuning)
- แบบลดคีย์ (Tune Down)
- แบบหย่อนสายบางสาย (Dropped)
- แบบเปิด (Open)
- การศึกษารูปแบบการตั้งสายกีตาร์ด้วย Guitar Pro
- การตั้งสายกีตาร์
- การตั้งสายกีตาร์ในอดีต
- การตั้งสายกีตาร์ด้วยคอมพิวเตอร์
- การตั้งสายกีตาร์แบบสัมพันธ์ (Relative Tuning)
บทที่ 2 การกดและการดีดสาย
เราจะได้เริ่มหยิบกีตาร์ขึ้นมาลองกดลองดีดเพื่อฝึกทักษะการใช้นิ้วและมือในการเล่นกีตาร์ พร้อมกับการเรียนรู้วิธีการกดสายบนคอกีตาร์และวิธีการดีดสายกีตาร์ในรูปแบต่างๆ โดยถือว่าผู้อ่านถนัดมือขวาเป็นหลัก จึงใช้มือซ้ายในการจับคอกีตาร์และใช้มือขวาในการดีด ดังนั้นหากมีกาพูดถึงมือซ้ายหรือมือขวาก็ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย สำหรับคนที่ถนัดมือซ้ายก็ขอให้พิจารณากลับการเล่นด้วยตัวท่านเอง ซึ่งคงไม่เกินความสามารถอย่างแน่นอน
- การกดสายบนเฟร็ตบอร์ด
- การกดสายโดยทั่วไป
- การกดสายแบบทาบ (Barre)
- การดีดสายกีตาร์
- การดีดโดยใช้ปิ๊ก (Pick Style)
- การดีดด้วยนิ้ว หรือการเกา (Finger Style)
- การดีดโดยใช้ปิ๊กผสมนิ้ว
บทที่ 3 ระบบโน้ตแท็บและระบบโน้ตมาตรฐาน
เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับการศึกษากีตาร์ ซึ่งได้แก่วิธีการอ่านและเขียนโน้ตทั้งในระบบโน้ตแท็บและระบบโน้ตมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากต่อการเรียนรู้และฝึกหัดการเล่นกีตาร์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเผยแพร่ในรูปแบบโน้ตแท็บและระบบโน้ตมาตรฐาน
- ระบบโน้ตแท็บ (Tablature Notation)
- จุดเด่นของระบบโน้ตแท็บ
- จุดด้อยของระบบโน้ตแท็บ
- ระบบโน้ตมาตรฐาน (Music Notation)
- บรรทัด (Music Notation)
- เครื่องหมายบอกระดับเสียง (Clef)
- ห้องเพลง (Measures)
- เครื่องหมายควบคุมการเล่น
- แบบฝึกหัด 3-1
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 4 ขั้นเวลา ระดับเสียง และการควบคุม
เรียนรู้ทฤษฎีดนตรีที่เกี่ยวข้องกับขั้นเวลา (Duration) ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ในแนวนอนของตัวโน้ต และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับระดับเสียง (Pitch) ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ในแนวตั้งของตัวโน้ต เมื่อศึกษาจบบทนี้จะทำให้เราสามารถอ่านและเขียนโน้ตเพลงในระบบโน้ตมาตรฐานได้
- เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
- ชื่อมาตราของเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
- ขั้นเวลาตัวโน้ต (Note Duration)
- ขั้นเวลาตัวหยุด (Rest Duration)
- โน้ตประจุดและการโยงเสียง (Augmentation dots และ Tenuto ties)
- N-tuplet
- Tripet Feel
- ระดับเสียง (Accidentals)
- การเขยิบเสียง (Accidentals)
- เครื่องหมายกุญแจเสียง (Key Signature)
- การศึกษา Key Signature ด้วย Guitar Pro 5
- แบบฝึกหัด 4-1
- แบบฝึกหัด 4-2
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 5 ขั้นคู่เสียงและสเกล (Interval & Scale)
เรียนรู้ทฤษฎีดนตรีที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของระดับเสียง ซึ่งเรียกว่าขั้นคู่เสียง และกลุ่มของระดับเสียงที่เรียกว่าสเกล อีกทั้งจะได้ใช้เครื่องมือใน Guitar Pro ช่วยในการศึกษาค้นคว้าด้วย ซึ่งความรู้ในบทนี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในงานประพันธ์เพลง การศึกษาการเล่นกีตาร์ และการแกะเพลงด้วยโปรแกรม Guitar Pro ในโอกาสต่อไป
- ขั้นคู่เสียง
- Major และ Perfect
- Augmented และ Diminished
- Minor
- แบบฝึกนิ้วสำหรับขั้นคู่เสียง
- แบบฝึกหัด 5-1
- การศึกษาขั้นคู่เสียงจาก Guitar Pro
- สเกล (Scale)
- โครมาติกสเกล (Chromatic Scales)
- ไดอาโทนิกสเกล (Diatonic Scales)
- แบบฝึกนิ้วสำหรับสเกล Major
- แบบฝึกหัด 5-2
- แบบฝึกนิ้วสำหรับสเกล Minor
- แบบฝึกหัด 5-3
- ชื่อระดับของโน้ตในสเกล (Scale Degrees)
- การศึกษาเรื่องสเกลด้วย Guitar Pro
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 6 การเล่นลูกนิ้วไล่สเกล
เข้าสู่การฝึกหัดนิ้วด้วยการเล่น Lick หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "ลูกนิ้ว" ซึ่งเป็นการเล่นกีตาร์โดยค่อยๆ ไล่โน้ตไปตามสเกลในแบบต่างๆ โดยจะคัดมาให้ท่านได้ศึกษากันเฉพาะในรูปแบบที่น่าสนใจและมีความยืดหยุ่นในการประยุกต์-ปรับปรุง-ดัดแปลง เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย
- Stretching Lick
- แบบฝึกการไล่ Chromatic Scale แบบ Stretching Lick
- แบบฝึกหัด 6-1
- แบบฝึกหัด 6-2
- แบบฝึกหัด 6-3
- แบบฝึกหัด 6-4
- แบบฝึกการไล่ 2nd Augmented แบบ Stretching Lick
- แบบฝึกหัด 6-5
- Sequences Lick
- แบบฝึกการไล่ Major Scale แบบ Sequences Lick
- แบบฝึกหัด 6-6
- แบบฝึกการไล่ Pentatonic Minor Scale แบบ Sequences Lick
- แบบฝึกหัด 6-7
- แบบฝึกการไล่ Byzantine Scale แบบ Sequences Lick
- แบบฝึกหัด 6-8
- Pedal Point Lick
- แบบฝึก Pedal Point แบบ Single High & Low
- แบบฝึกหัด 6-9
- แบบฝึกหัด 6-10
- แบบฝึก Pedal Point แบบ Multi High & Low
- แบบฝึกหัด 6-11
- แบบฝึกหัด 6-12
- String Skipping Lick
- แบบฝึก String Skipping แบบเว้นสายคงที่
- แบบฝึกหัด 6-13
- แบบฝึก String Skipping แบบมีการเขยิบสายเว้น
- แบบฝึกหัด 6-14
- แบบฝึก String Skipping แบบมีการเพิ่ม-ลดสายเว้น
- แบบฝึกหัด 6-15
- Arpeggios Lick
- แบบฝึกการไล่ Minor Scale แบบ Arpeggios Lick
- แบบฝึกหัด 6-16
- แบบฝึกหัด 6-17
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 7 เทคนิคลูกเล่นเสียง
ลูกเล่นการสร้างเสียงจากกีตาร์ ให้เสียงที่แตกต่างจากการดีดสายทั่วไปและจะช่วยสร้างสีสันและอรรถรสให้แก่เสียงเพลงมากกว่าการเล่นโน้ตตามปกติ ก่อนเข้าสู่เนื้อหาขอทำความเข้าใจอีกครั้งว่า หนังสือเล่มนี้ถือว่าผู้อ่านเป็นคนถนัดมือขวา คือใช้มือซ้ายในการกดเฟร็ตบนคอกีตาร์และใช้มือขวาในการดีดสาย ดังนั้นหากมีการใช้คำพูดว่า "มือซ้าย" ขอให้เข้าใจว่า เป็นมือที่ใช้กดสาย และหากพูดว่า "มือขวา" ให้เข้าใจว่าเป็นมือที่ใช้ดีดสาย
- เทคนิค Bend/Release
- ขั้นตอนการ Bend/Release
- แบบฝึกหัด 7-1
- เทคนิค Vibrato
- การเคลื่อนที่นิ้วในแนวตั้ง (Vertical)
- การเคลื่อนที่นิ้วในแนวขวาง (Sideway)
- แบบฝึกหัด 7-2
- เทคนิค Hammer On / Pull Off
- แบบฝึกหัด 7-3
- เทคนิค Trill
- แบบฝึกหัด 7-4
- เทคนิค Harmonics
- Natural Harmonic
- Artifical Harmonic
- แบบฝึกหัด 7-5
- เทคนิค Slide
- ขั้นตอนการ Slide
- แบบฝึกหัด 7-6
- เทคนิค Palm Mute และ Dead Note
- Palm Mute
- Dead Note
- แบบฝึกหัด 7-7
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 8 คอร์ด I - การสร้างและการเล่นโดยกีตาร์
การทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับคอร์ด บางท่านอาจใช้วิธีการท่องจำเอาว่าคอร์ดไหนประกอบด้วยโน้ตใดบ้าง ซึ่งก็คงไม่สามารถจดจำได้มากนัก และจะเกิดความยุ่งยากเมื่อต้องเขียนโน้ตคอร์ดใน Score ดังนั้นเราควรเรียนรู้หลักการและวิธีการสร้างคอร์ดที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้เราสามารถสร้างเสียงจากคอร์ดได้เอง เมื่อเจอคอร์ดไหนที่ไม่เคยพบ ก็ไม่ต้องเสียเวลากลับไปเปิดตารางคอร์ดเพื่อท่องจำใหม่ นอกจากนี้ท่านจะสามารถเลื่อนคีย์ของคอร์ดได้อย่างไม่จำกัด และยังช่วยให้สามารถใส่ลูกเล่นเข้าไปในการเล่นคอร์ดได้อย่างถูกครรลองอีกด้วย
- คอร์ดและการสร้าง
- คอร์ดประเภท Triads
- คอร์ดประเภท Seventh
- Power chord
- การกลับรูปคอร์ด (Inversion)
- First Inversion (Inversion #1)
- Second Inversion (Inversion #2)
- Third Inverson (Inversion #3)
- การศึกษาเรื่องคอร์ดด้วย Guitar Pro
- การคิดรูปแบบการจับคอร์ดบนคอกีตาร์
- รูปแบบการจับคอร์ดที่สำคัญ
- การใช้งานรูปแบบคอร์ด
- ทำไมการจับคอร์ดจึงมีหลายรูปแบบ
- เทคนิคการเปลี่ยนคอร์ดกีตาร์
- การดีดคอร์ดโดยกีตาร์
- การเล่นแบบตีคอร์ด
- การเล่นแบบกระจายคอร์ด
- แพตเทิร์นในการดีดคอร์ดกีตาร์
- แบบฝึกหัด 8-1
- แบบฝึกหัด 8-2
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 9 คอร์ด II - การเลือกใช้งานคอร์ด
ในบทที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้การสร้างคอร์ดและการเล่นคอร์ดด้วยกีตาร์ ในบทนี้เราจะได้เรียนรู้แนวทางในการนำคอร์ดไปใช้งาน นั่นคือการสร้างทางเดินคอร์ด (Chord Progression) ซึ่งจะทำให้เราทราบว่า ในเพลงๆ หนึ่งควรประกอบด้วยคอร์ดใดบ้าง ควรนำคอร์ดใดมาใช้บ้าง ควรเลือกคอร์ดลูกจบอย่างไร และคอร์ดต่างๆ ในเพลงควรมีการเรียงลำดับอย่างไรจึงจะไพเราะ ส่งผลให้เราสามารถค้นหาคอร์ดในเพลงต่างๆ ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถเลือกคอร์ดใส่ในเพลงที่เราประพันธ์เองได้อย่างเหมาะสม
- คอร์ดที่ควรปรากฏในเพลง
- Diatonic Triads Chords
- Diatonic Seventh Chords
- ตัวเลขโรมันแทนชื่อคอร์ด
- กรณีคอร์ด Triads
- กรณี Inversion ของคอร์ด Triads
- กรณีคอร์ด Seventh
- กรณี Inversion ของคอร์ด Seventh
- วลีเพลงและลูกจบ (Phrase & Cadence)
- Authentic cadence (V หรือ vii ->I)
- Half (หรือ Imperfect) cadence (ii, IV , I , ? ->V)
- Plagal cadence (IV->I)
- Deceptive (หรือ Interrupted) cadence (V->?)
- วงรอบคอร์ด (Circle Progressions)
- ทางเดินคอร์ด (Chord Progressions)
- Chord Progressions พื้นฐาน
- การใช้งานคอร์ด Seventh
- Chord Progressions อื่นๆ
บทที่ 10 พื้นฐานการเขียนโน้ตด้วย Guitar Pro
การประพันธ์เพลงโดยใช้โปรแกรม Guitar Pro จะใช้พื้นฐานของทฤษฎีดนตรีที่ได้เรียนรู้กันมาแล้ว โดยการทำงานจะเกี่ยวข้องกับการเขียนตัวโน้ตและสัญลักษณ์ทางดนตรีเป็นหลัก นอกจากนี้การเลือกเขียนโน้ตตัวใดลงบนโน้ตเพลงนั้น ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ด้านดนตรีของผู้ใช้งานอีกด้วย อย่างไรก็ตาม Guitar Pro มีเครื่องมือสำหรับอำนวยความสะดวกในการประพันธ์เพลงหลายอย่าง ที่ช่วยให้เราสามารถทำงานได้ง่ายและลดข้อผิดพลาด ทำให้ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์มากนัก สามารถประพันธ์เพลงได้อย่างไม่ยากเย็น
- ความสำคัญของการประพันธ์เพลง
- พื้นฐานการสร้างงานเพลงด้วย Guitar Pro
- การสร้างไฟล์งานใหม่
- การกำหนดความเร็วของเพลง
- การจัดการแทร็ก (Track)
- การจัดการตัวโน้ตและบาร์
- การเขียนโน้ตเพลงด้วย Guitar Pro
- การเลือกตำแหน่งการทำงาน
- การกำหนด Key Signature
- การกำหนด Time Signature
- การกำหนด Triplet Feel
- การเขียนตัวโน้ต
- การใส่เครื่องหมายบอกวิธีการเล่น
- การเขียนโน้ตเครื่องเคาะ (Percussion)
- การเขียนโน้ตแบบ 2 ชั้น
- แบบฝึกหัด 10-1
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 11 การใส่เครื่องหมายทางดนตรีใน Guitar Pro
เรียนรู้การใส่เครื่องหมายทางดนตรีแทรกลงในโน้ตเพลง เพื่อบอกให้ทราบวิธีการเล่น เช่น เครื่องหมายเกี่ยวกับการเล่นย้อน เครื่องหมายเกี่ยวกับการทำเสียงเอฟเฟ็กต์พิเศษ และเครื่องหมายอื่นๆ ที่ให้ข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการเล่น เครื่องหมายทางดนตรีที่เราจะเรียนรู้ในบทนี้มีทั้งที่เป็นมาตรฐานสำหรับดนตรีสากลทั่วไป และสำหรับการเล่นกีตาร์โดยเฉพาะ
- การเขียนเครื่องหมายการเล่นย้อน
- การใส่เครื่องหมาย Musical Directions
- แบบฝึกหัด 11-1
- การใส่เครื่องหมาย Repeat, Alternate Endings
- แบบฝึกหัด 11-2
- การใส่เครื่องหมาย Effect
- Dead Note
- Grace Note
- Ghost Note
- Accentuated Note
- Heavy Accentuated Note
- Let Ring
- Natural Harmonic
- Artifical Harmonic
- Hammer On / Pull Off
- Bend
- Tremolo Bar
- Slide
- Vibrato และ Wide Vibrato
- Trill
- Tremolo Picking
- Palm Mute
- Staccato
- Tapping
- Slapping และ Popping
- Fade In
- Wah-Wah
- การใส่ชื่อคอร์ดและไดอะแกรมคอร์ด
- แบบฝึกหัด 11-3
- การใส่คำร้อง
- แบบฝึกหัด 11-4
- การใส่ข้อความ
- การปรับแต่งพารามิเตอร์เสียง
- รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้
บทที่ 12 ส่วนช่วยการทำงานใน Guitar Pro
เรียนรู้การใช้เครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น อันได้แก่ Marker และ Wizard สำหรับช่วยสร้างหรือแก้ไขงานแบบอัตโนมัติ จากนั้นจะได้เรียนรู้การใช้งานเครื่องมือสำหรับนักกีตาร์ที่ Guitar Pro เตรียมไว้ให้ แต่ยังไม่ได้อธิบายรายละเอียดในบทที่ผ่านมา คือ FredBoard Tool, KeyBoard Tool และ Metronome และสุดท้ายเราจะได้เรียนรู้การควบคุมการเล่นเพลง เพื่อให้ตอบสนองความต้องการในการทำงานได้สูงสุด
- การใช้งาน Marker
- การใส่ Marker
- การจัดการกับ Marker
- การกระโดดไปยัง Marker
- Wizard ผู้ช่วยสร้างและแก้ไขงาน
- หมวด Let Ring/Palm Mute/Dynamic Options
- หมวดการจัดการเกี่ยวกับบาร์
- หมวดการปรับปรุง
- การใช้งานเครื่องมืออื่นๆ
- FretBoard
- KeyBoard
- Metronome
- การควบคุมการเล่นเพลง
- การเล่นเพลง (Play)
- การเล่นวนรอบ (Loop)
- การเล่นแบบ Step by Step
- Mix Table
บทที่ 13 การปรับแต่งภายในโปรแกรม Guitar Pro
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะมีส่วนสำหรับกำหนดค่าบางอย่างให้เป็นค่าพื้นฐานในการใช้โปรแกรมหรือไฟล์งาน ในบทนี้เราจะได้เรียนรู้การปรับแต่งเกี่ยวกับเสียงและการแสดงผลในโปรแกรม Guitar Pro ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากการปรับแต่งที่ถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยให้เราได้งานที่ดีที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ นอกจากนี้ยังช่วยให้การทำงานภายในโปรแกรมสะดวกขึ้นอีกด้วย
- การปรับแต่งเสียง
- ระบบเสียงแบบ RSE
- ระบบเสียงแบบ MIDI
- การปรับแต่งการแสดงผล
- การเลือก Screen Mode
- การแสดงผลแบบหลายแทร็ก
- ปรับการแสดงผลของโน้ตเพลง
- การปรับแต่งสัดส่วนกรอบ
บทที่ 14 การนำเข้าข้อมูลจากภายนอก
โน้ตเพลงและไฟล์เพลงถูกสร้างขึ้นจากหลากหลายโปรแกรม และถูกจัดเก็บไว้ในหลากหลายรูปแบบ หากเราสามารถนำข้อมูลหลายหลากรูปแบบเหล่านั้นมาใช้งานได้ ย่อมทำให้เราสามารถหาแหล่งข้อมูลจากภายนอกได้ง่ายขึ้น Guitar Pro จึงมีความสามารถในการนำเข้าไฟล์ข้อมูลเพลงหรือโน้ตเพลงครอบคลุมทุกรูปแบบอันเป็นที่นิยมกันทั่วไป ทั้ง MIDI, ASCII, MusicXML, PowerTab และ TablEdit
- การนำเข้าไฟล์เสียง MIDI
- การนำเข้าโน้ตแท็บรูปแบบ ASCII
- การนำเข้าโน้ตแท็บรูปแบบ MusicXML
- การนำเข้าไฟล์งานของ PowerTab
- การนำเข้าไฟล์งานของ TablEdit
บทที่ 15 การนำเสนอผลงานที่สร้างจาก Guitar Pro
หลังจากที่เราสร้างสรรค์ผลงานใน Guitar Pro 5 จนเป็นที่พอใจแล้ว ขั้นตอนท้ายสุดก็คือ การส่งออกผลงานหรือนำเสนอผลงาน โดยเราสามารถส่งผลงานออกจากโปรแกรม Guitar Pro ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ASCII, MIDI, MusicXML, Wave, Bitmap, PDF ซึ่งการเลือกว่าจะนำเสนอผลงานในรูปแบบใด ก็ขึ้นอยู่กับผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมายของผลงาน
- การพิมพ์โน้ตเพลง
- การตั้งค่าหน้ากระดาษ
- การควบคุมการตัดขึ้นบรรทัดใหม่
- การจัดพิมพ์
- การส่งออกเป็นไฟล์เสียง MIDI
- การส่งออกเป็นไฟล์เสียง WAVE
- การส่งออกเป็นไฟล์เอกสาร ASCII
- การส่งออกเป็นไฟล์เอกสาร MusicXML
- การส่งออกเป็นไฟล์ภาพ BMP
- การส่งออกเป็นไฟล์ PDF
- การส่งออกเป็นไฟล์งาน Guitar Pro 4