เนรมิตภาพเคลื่อนไหวให้โดนใจชาวเว็บ ด้วย Flash MX
ผู้เขียน: เชฏฐพงษ์ วิสูจน์สวัสดิ์
ISBN: 974-90649-6-8
จำนวนหน้า: xxx หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 ซม.
รูปแบบหนังสือ:
หนังสือขาวดำ
ราคาปก: 225 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 200 บาท
- เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ ใน Flash MX สำหรับการสร้างสรรค์ผลงาน
- สร้างแอนิเมชันให้หลากหลายด้วยเทคนิค Tween, Guide และ Mask
- แนะนำเทคนิคการวาดการ์ตูนประกอบเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
- แถมท้ายวิธีการสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
บทที่ 1 เริ่มต้นกับ Flash
ณ วันนี้คงไม่มีไครที่ไม่รู้จัก Flash สุดยอดกราฟิกด้านแอนิเมชัน ที่ช่วยให้เว็บเพจดูมีชีวิตชีวาน่าสนใจ อีกทั้งการสร้างภาพเคลื่อนไหว ด้วยโปรแกรม Macromedia Falsh นั้นง่ายดาย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรมทั่วไป ช่วยให้เราสามารถสร้างผลงานได้ในเวลาไม่นานนัก
- เรื่องราวของ Flash
- โปรแกรมสำหรับการสร้าง Falsh
- ต่อเนื่องไม่ขาดตอนกับ Falsh MX
- หัดกำหนดคุณสมบัติของชิ้นงาน
- กำหนดคีย์ลัดเพื่อการทำงานที่เร็วกว่า
บทที่ 2 สร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย Tweening Shape
ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฎอยู่ตามเว็บเพจบางแห่งนั้น คุณอาจจะเคยสงสัยว่าทำได้อย่างไร และมีวิธีการสร้างอย่างไร ในบทนี้จะไขข้อข้องใจคุณ ด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อไหว พร้อมเรียนรู้เทคนิคการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยในการสร้างภาพเคลื่อนไหวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วจะรู้ว่า "คุณก็ทำได้"
- ทำงานกับส่วนแสดงเฟรม
- ทำงานกับรูปภาพ
- ระวังการซ้อนทับกันของวัตถุ
- เริ่มต้นสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย Tweening Shape
- เดี๋ยวเล็ก เดี๋ยวใหญ่... ทำได้ด้วย Tweening Shape
- เคลื่อนที่ไป เปลี่ยนสีไป... อีกหนึ่งความสามารถของ Tweening Shape
- สร้างภาพจางหายในลักษณะ Fade In/Out
- ใช้ Tweening Shape เปลี่ยนรูปร่างของวัตถุ
- ควบคุมการเปลี่ยนรูปร่างวัตถุด้วย Shape Hint
บทที่ 3 สร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย Tweening Motion
Tweening Motion เป็นเทคนิคที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับเทคนิค Tweenning Shape ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนสีวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ หรือแม้แต่การ Fade แต่สิ่งที่ทำให้ Tweening Motion มีความแตกต่างจาก Tweening Shape ก็คือ สามารถกำหนดเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ด้วย
- จับวัตถุมารวมกลุ่ม เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
- รวมกลุ่มแล้ว ก็ยังแก้ไขได้
- ยกเลิกการรวมกลุ่มวัตถุ
- ล็อกกลุ่มวัตถุ ไม่ให้ขยับไปไหน
- เข้าใจลำดับของกลุ่มวัตถุ
- นำวัตถุไปเก็บไว้ในไลบรารี
- ถึงเวลานำวัตถุไปเก็บเป็น Symbol ในไลบรารีแล้ว
- แก้ไข Symbol
- Symbol ตัวไหนไม่ใช้ ให้ลบทิ้งไป
- Symbol มากมาย จะจัดกลุ่มอย่างไรดี?
- สร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย Tweening Motion
- ทำให้รถวิ่งไป ตีลังการไป
- ย่อ-ขยายวัตถุด้วย Tweening Motion
- สร้างภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้วัตถุเปลี่ยนสี
- ทำให้วัตถุจางหายด้วย Tweening Motion
- กำหนดเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
บทที่ 4 กลวิธีทำภาพให้เคลื่อใหวสมจริง
เมื่อคุณท่องอินเทอร์เน็ตไปยังเว็บไซต์ต่างๆ คุณอาจจะเคยเห็นภาพเคลื่อนไหวที่ใช้ Flash อยู่บ้าง บางครั้งก้เคลื่อนไหวได้สมจริงมาก จนเรานึกว่าไปถ่ายวิดีโอมาจากของจริงรึเปล่า แต่บางครั้งนั้นก็เคลื่อนไหวดูไม่ราบรื่นเลย ทั้งๆ ที่ก็ใช้โปรแกรมเดียวกัน เวอร์ชันเดียวกัน เครื่องมือเหมือนๆ กัน ในบทนี้จะแนะนำถึงเทคนิคที่จะช่วยให้ภาพเคลื่อนไหวดูสมจริง... พลาดไม่ได้เชียว
- ปรับเทคนิค Tween เพื่อให้ภาพเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ
- ใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม
- ผู้ช่วยสำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม
- เพิ่มประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิคแบบผสม
- ความลับอยู่ที่ Frame Rate
บทที่ 5 แยกภาพเคลื่อนไหวเก็บไว้ใน Symbol
ใครที่เคยทำงานกับภาพเคลื่อนไหวจำนวนมากๆ ก็คงจะรู้ดีว่าการแก้ไข หรือจัดวางภาพเคลื่อนไหวใหม่นั้น ยุ่งยากเพียงใด เพราะเราแทบจะต้องแก้ไขกันทั้งหมดเลยทีเดียว เช่น ปรับตำแหน่งเฟรมของภาพเคลื่อนไหวแต่ละชุดให้ถูกต้อง หลังจากลบภาพเคลื่อนไหวชุดใดชุดหนึ่งแล้ว เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อนำภาพเคลื่อนไหวไปเก็บไว้ใน Symbol
- ภาพเคลื่อนไหวใน Symbol ชนิด Graphic
- ควบคุมภาพเคลื่อนไหวใน Symbol Graphic
- รู้จักกับ Symbol Button
- Movie Clip Symbol สำหรับเก็บภาพเคลื่อนไหวโดยเฉพาะ
- วิธีเปลี่ยนชนิด Symbol กลางอากาศ
- ยุทธวิธีแชร์ Symbol ฟอนต์เพื่อใช้ร่วมกัน
- สร้างไฟล์ต้นฉบับเพื่อแชร์ Symbol ฟอนต์ให้ชิ้นงานอื่นได้ใช้
- สร้างไฟล์ชิ้นงานที่จะไปขอแชร์ฟอนต์มาใช้งาน
บทที่ 6 ภาพและเสียง... ใครว่าไม่สำคัญ
หากทั้งชิ้นงาน Flash ของเรามีแต่รูปแบบเว็กเตอร์ก็คงดูน่าเบื่อไม่น้อย ในบทนี้เรามาลองเพิ่มสีสันให้กับภาพเคลื่อนไหวกัน ด้วยภาพบิตแมปสุดสวยที่คัดเลือกมาเป็นอย่างดี และเสียงเพลงอันเร้าใจ หรือหากยังไม่สะใจ คุณจะใส่เอฟเฟ็กต์ให้เสียงไล่จากลำโพงซ้ายไปลำโพงขวา หรือเอฟเฟ็กต์อื่นๆ ตามที่คุณปราถนาก็ย่อมได้ รับรองว่าใครที่เห็นผลงานของคุณแล้วจะต้องทึ่งแน่นอน!
- การอิมพอร์ตภาพบิตแมปและเสียงเข้ามาในชิ้นงาน
- ปรับแต่งคุณภาพของภาพบิตแมปให้เหมาะสมกับชิ้นงาน
- เปลี่ยนภาพบิตแมปให้เป็นภาพเว็กเตอร์
- ผนึกกำลังภาพบิตแมปกับเลเยอร์ Mask เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง
- ในเสียงเพื่อความน่าสนใจ
- การปรับแต่งคุณภาพของเสียง
- ใส่เอฟเฟ็กต์ให้เสียง
- Video อีกหนึ่งตัวเลือกในการเพิ่มความน่าสนใจให้กับ Falsh
บทที่ 7 นำเสนอภาพเคลื่อนไหวสู่สายตาผู้ชม
เอาล่ะ... ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องนำภาพเคลื่อนไหวออกสู่สายตาผู้ชมสักที ภาพเคลื่อนไหวที่เราสร้างขึ้นมานั้นยังไม่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที เราจะต้องทำการ Publish ออกไปให้เป็นไฟล์ HTML และ SWF ก่อนจึงจะสามารถนำภาพเคลื่อนไหวนี้ไปแสดงในเว็บเบราเซอร์ได้
- จำลองการดาวน์โหลดภาพเคลื่อนไหว
- การ Publih ชิ้นงาน
- การเอ็กซ์พอรต์
บทที่ 8 วาดการ์ตูนตกแต่งเว็บ
ในปัจจุบันหลายๆ เว็บไซต์มักจะนำรูปการ์ตูนมาใช้เป็นโลโก้หรือสัญลักษณ์ประจำเว็บ เนื่องจากสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มาก และยังช่วยให้ผู้ชมจำโลโก้ของเว็บนั้นได้อย่างแม่นยำอีกด้วย ถึงแม้ว่าเว็บที่เราสร้างขึ้นจะไม่ใช้เว็บไซต์ที่ใหญ่โตมากมายนัก แต่หากนำตัวการ์ตูนมากตกแต่งเว็บบ้างก็คงจะเพิ่มความน่าสนใจได้ไม่น้อยหน้าไปกว่าเว็บดังๆ เป็นแน่แท้
- เอกลักษณ์ของการ์ตูนที่จะวาด
- โครงร่างของตัวการ์ตูน
- ออกแบบตัวการ์ตูน
- เริ่มวาดหัวตัวการ์ตูน
- เส้นไม่สวย ปรับแต่งได้
- วาดส่วนประกอบใบหน้า
- ประกอบและลงสีตัวการ์ตูน
- ทดลองวาดขวด
บทที่ 9 ใส่ชีวิตให้ตัวการ์ตูน
การ์ตูนที่เราวาดขึ้นมานั้น หากเป็นเพียงแค่ภาพนิ่งธรรมดาก็คงไม่สามารถดึงดูดผู้ชมได้สักเท่าไร ในบทนี้เราจะมาทำให้การ์ตูนของเราสามารถขยับและเคลื่อนไหวได้ โดยใช้เทคนิคการทำภาพเคลื่อนไหวแบบต่างๆ ที่ได้ศึกษาไปแล้ว รับรองว่าเว็บของคุณต้องมีชีวิตชีวามากขึ้นแน่นอน
- การเคลื่อนไหวของการ์ตูน
- วางแผนการเคลื่อนไหว
- ทดลองสร้าง...ภาพเคลื่อนไหวของนักวิ่ง
- ทดลองสร้างภาพเคลื่อนไหวของ "นักมวย"
- ใส่ชีวิตให้นักมวยช่วงฟุตเวิร์ก
- ใส่ชีวิตให้นักมวย... ขณะตั้งท่า
- ใส่ชีวิตให้นักมวย... ช่วงปล่อยหมัดขวา
บทที่ 10 ทิปและเทคนิคสำหรับภาพเคลื่อนไหว
ทิ้งท้ายด้วยเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ภาพเคลื่อนไหวของเรานั้นเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น และดูมีชีวิตชีวามากขึ้น ไม่ใช่ภาพเคลื่อนไหวที่แข็งทื่อเหมือนท่อนไม้อีกต่อไป
- ทำการ์ตูนให้เป็นการ์ตูน... ต้องออกท่าทางสักนิด
- เน้นการเคลื่อนไหวของการ์ตูน
- ฉากหลังใครว่าไม่สำคัญ
- ส่งท้าย