เพิ่มพลังอินเทอร์แอคทีฟให้เว็บเพจ ด้วย ASP

ผู้เขียน: กิตติภูมิ วรฉัตร
ISBN: 974-51035-2-7
จำนวนหน้า: xxx หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 195 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 170 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


  • เริ่มต้นเรียนรู้ ASP อย่างถูกวิธี โดยไม่ต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมมาก่อน
  • นำมาประยุกต์ใช้ทดแทน CGI ได้เต็ม 100%
  • ใช้ร่วมกับระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่ได้ โดยใช้เพียงภาษา SQL ระดับพื้นฐานเท่านั้น
  • ทำงานได้กับ Windows 95, 98, NT ทั้งรุ่น Server และ Workstation
  • อัดแน่นด้วยตัวอย่างโปรแกรม ซึ่งผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้วว่าใช้งานได้จริง ทั้ง counter, guestbook, webboard, search engine และอื่นๆ


บทที่ 1 ปรากฏการณ์แห่ง ASP

บ่อยครั้งที่เราเรียกดูเอกสารหรือเว็บเพจตามเว็บไซต์ต่างๆ แล้วพบว่า นอกจากเว็บเพจที่มีชื่อลงท้ายด้วย .hmtl หรือ .htm แล้ว ยังมีเว็บเพจที่ลงท้ายด้วย .asp ซึ่งเราก็สามารถเรียกดูได้เช่นกัน หลายคนคงสงสัยว่า เว็บเพจดังกล่าวคืออะไร? และแตกต่างกับเว็บเพจ .html หรือ .htm ปกติอย่างไร? คำตอบอยู่ในบทนี้

  • เข้าใจขบวนการทำงานของ ASP กันก่อน
  • ทดลองสร้างเอกสาร ASP อย่างง่ายๆ

บทที่ 2 ติดตั้ง Active Server Pages

ในการเขียนเอกสาร ASP เพื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต นอกจากต้องใช้โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์แล้ว เว็บเซิร์ฟเวอร์จะต้องสามารถติดต่อหรือเรียกใช้งานโปรแกรมที่ทำหน้าที่ตีความเอกสาร ASP ได้ด้วย โปรแกรมดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า โปรแกรม ASP หรือ Active Server Pages ซึ่งเราจะต้องติดตั้งลงไปกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ของเรา

  • ไดเรกทอรีที่สำคัญ
  • กำหนดสิทธิการใช้งาน
  • ชื่อจริงและชื่อสมมุติ
  • ทดสอบความพร้อม

บทที่ 3 เรื่องน่ารู้ของ VBScript

การเขียนเอกสาร ASP ก็เหมือนกับการเขียนเรียงความ คือ ต้องเขียนเรียงไปตามลำดับเนื้อความของเอกสาร ในลักษณะเดียวกับการเขียนสคริปต์ และเนื่องจากเอกสาร ASP จะต้องถูกตีความก่อนโดยโปรแกรม ASP วิธีการเขียนจึงต้องเป็นไปตามรูปแบบมาตรฐานของเอกสาร ASP ที่กำหนดไว้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักใช้ VBScript เป็นภาษาสคริปต์หลักในการเขียน

  • ชนิดของข้อมูล
  • ตัวแปรและชนิดของตัวแปร
  • ค่าคงที่
  • การควบคุมการทำงานของโปรแกรม
  • ฟังก์ชันและโพรซีเยอร์

บทที่ 4 อ็อบเจ็กต์สื่อสาร

เมื่อมีการติดต่อกันระหว่างเบราเซอร์และเว็บเซิร์ฟเวอร์ ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ขบวนการดังกล่าวเรียกว่า request และ response ส่วนข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันนั้น จำแนกเป็นอ็อบเจ็กต์ลักษณะต่างๆ ซึ่งเราจะมาดูรายละเอียดกันว่ามีอะไรบ้าง

  • อ็อบเจ็กต์ ServerVariables
  • อ็อบเจ็กต์ ClientCertificate
  • อ็อบเจ็กต์ Cookies
  • อ็อบเจ็กต์ Form และ QueryString

บทที่ 5 ลองเล่นกับไฟล์ข้อความ

โปรแกรม ASP มีความสามารถที่จะทำงานกับไฟล์ข้อความได้เป็นอย่างดี เพราะมีอ็อบเจ็กต์ FileSystem ช่วยจัดการไฟล์ข้อความ ผู้อ่านจะได้ทดลองเล่นกับไฟล์ชนิดนี้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างกระดานข่าวในภายหลัง

  • เมธอด CreateTextFile
  • เมธอด OpenTextFile
  • โครงงานจัดทำกระดานแจ้งข่าว (webboard)

บทที่ 6 SQL และฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

ในชีวิตประจำวัน ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่เราต้องข้องเกี่ยวเสมอ ไม่มากก็น้อย อย่างเช่นในการทำงาน เราต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ แล้วเรียกค้นออกมาใช้งาน หรือนำมาแก้ไขปรับปรุง ซึ่งขั้นตอนเหล่านั้นล้วนเกี่ยวข้องกับ "ฐานข้อมูล" ทั้งสิ้น การประยุกต์ใช้ ASP ให้เกิดประโยชน์ ก็ต้องอาศัยระบบฐานข้อมูลเป็นสำคัญ โดยมี SQL เป็นเครื่องมือหลักในการจัดการข้อมูล

  • ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หรือ Relational Database
  • ลองสัมผัส SQL ท Select query
    • Update query
    • Insert query
    • Delete query
  • ASP และระบบฐานข้อมูล

บทที่ 7 ODBC และ DSN

ASP จะติดต่อฐานข้อมูลผ่านทาง ODBC และ DSN จึงต้องมีการติดตั้งโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น ODBC driver ก่อน แต่โดยปกติเมื่อเราติดตั้งแอปพลิเคชันจำพวกระบบฐานข้อมูล (เช่น Microsoft Access) โปรแกรม ODBC driver ก็จะถูกติดตั้งลงไปในตัวแล้ว หลังจากนั้นจึงต้องสร้าง DSN ขึ้นมาเพื่อใช้งานต่อไป

  • รู้จัก ODBC
  • ODBC และการสร้าง DSN
  • สร้าง DSN ใหม่ขึ้นใช้งาน
  • สร้างเอกสาร ASP สำหรับดูฐานข้อมูลอะไรก็ได้
  • เขียนได้ไม่ยากอย่างที่คิด

บทที่ 8 สมุดลงนามการเยี่ยมเยียน

สาระสำคัญในบทนี้ เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล มาเขียนเป็นเอกสาร ASP สำหรับบันทึกข้อมูลที่ต้องการเก็บเอาไว้ใช้งานต่อไปภายหลัง โดยจะแสดงตัวอย่างการสร้าง "สมุดเยี่ยม" เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ได้มาเยี่ยมชมเว็บเพจของเรา

  • แนวคิดการสร้างสมุดเยี่ยม
  • เตรียมเว็บเพจและแบบฟอร์ม
  • เตรียมฐานข้อมูล
  • สร้างเอกสารติดต่อฐานข้อมูล
  • แสดงข้อมูลในสมุดเยี่ยม

บทที่ 9 ห้องสมุด 24 ชั่วโมง

งานห้องสมุดเป็นงานบริการด้านการศึกษา และเป็นงานลักษณะหนึ่งที่ไม่สามารถให้บริการตลอดเวลาได้ แต่การประยุกต์ใช้ ASP จะช่วยลดข้อจำกัดดังกล่าว ทำให้เราสามารถเปิดบริการค้นหาข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของห้องสมุดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด!

  • ห้องสมุดเสมือน หรือ virtual library - องค์ประกอบสำคัญ - ลักษณะการทำงานของเอกสาร ASP

บทที่ 10 ตัวนับจำนวนการเยี่ยมชม

ในบทนี้เราจะหันมาประยุกต์ใช้ ASP ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยนำไฟล์ข้อความมาเก็บตัวเลขนับจำนวนครั้งที่เว็บเพจถูกเรียกดูผ่านเบราเซอร์ หรือเป็นการสร้างตัวนับ (counter) ขึ้นมานั่นเอง

  • ตัวนับแบบข้อความ
  • นับได้อย่างไร ?
  • ฟังก์ชันสำหรับการนับ
  • เพิ่มเติมลูกเล่น
  • อ้าง Server.MapPath แทน directory path จริง
  • ใช้ include file

บทที่ 11 ป้ายโฆษณาอัตโนมัติ

การนำป้ายโฆษณา หรือที่เรียกกันว่า แบนเนอร์ (banner) มาแสดงไว้ในเว็บเพจ เป็นสิ่งที่นิยมกันอย่างมากในปัจจุบัน รูปแบบของป้ายโฆษณาอาจอยู่ในลักษณะของข้อความ หรือรูปภาพกราฟิกชนิดต่างๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้สร้างเว็บเพจ และอีกเช่นเคย…เราสามารถประยุกต์ใช้ ASP กับการแสดงป้ายโฆษณาได้ไม่ยาก!

  • Ad Rotator Component
  • เจาะลึก rotator schedule file
  • เอกสาร ASP เพื่อ Redirection
  • ลงมือสร้าง

บทที่ 12 แบ่งข้อมูลแสดงทีละหน้า

ข้อมูลที่เราเรียกค้นจากฐานข้อมูล บางครั้งอาจมีจำนวนมาก ฉะนั้นหากนำมาแสดงบนหน้าจอทั้งหมดในคราวเดียวกัน ก็อาจเสียเวลามากเกินไป จึงควรแบ่งข้อมูลเป็นหลายๆ หน้า เพื่อช่วยให้แสดงข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น และสามารถ "พลิก" ดูข้อมูลแต่ละหน้าได้สะดวก

  • ต้องมีตัวแปรเพื่อเก็บค่าอะไรบ้าง
  • อย่าลืมสร้างปุ่มสำหรับเลื่อนหน้า
  • แก้ไขโปรแกรมเดิมให้สมบูรณ์
  • ทดลองใช้บริการค้นข้อมูล

บทที่ 13 แบบสำรวจประชามติ

ยุคสมัยนี้ข่าวสารเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจ เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้น ก็นิยมนำมาใช้เป็นหัวข้อสำรวจความคิดเห็นจากคนทั่วไป ดังที่เราคุ้นเคยกันในลักษณะของ "การสำรวจประชามติ" หรือ "การทำโพล" (poll) นั่นเอง ฉะนั้นเราลองมาดูกันบ้างว่า จะใช้ ASP ในการสำรวจประชามติได้อย่างไร

  • ทำอะไรให้ง่ายเข้าไว้
  • อาจารย์จำเป็น
  • สร้างฐานข้อมูล
  • สร้างเอกสาร ASP ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 14 กระดานข่าวถาม-ตอบ

กระดานข่าว (webboard) เป็นเว็บเพจลักษณะหนึ่ง ซึ่งสามารถสร้างขึ้นมาด้วย ASP เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้, ความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสาร ของสมาชิก โดยแต่ละคนอาจแวะเวียนมาตั้งคำถาม, ให้คำตอบ หรือเพียงแต่อ่านคำถาม-คำตอบของผู้อื่นที่ปรากฏในกระดานข่าว ได้ตามอัธยาศัย

  • ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
  • เริ่มสร้างกระดานข่าว
  • เพิ่มหัวข้อคำถาม
  • แสดงรายการคำถาม
  • รวบรวมคำตอบ

บทที่ 15 ปฏิบัติการ ActiveX

โดยปกติ ASP จะมีคอมโพเนนต์สำเร็จรูปให้เราเรียกใช้ได้มากมาย แต่หากว่าเว็บเพจที่เราสร้างไม่สามารถนำคอมโพเนนต์เหล่านั้นมาใช้งานได้ตรงใจนัก เราก็สามารถเพิ่มเติมคอมโพเนนต์อื่นๆ เข้าไป เพื่อให้ทำงานตามที่ต้องการ โดยอาศัยคอมโพเนนต์ที่เรียกว่า ActiveX

  • ของฟรีก็มีให้ใช้
  • ระบบตอบกลับอีเมลอัตโนมัติ
  • สร้างคอมโพเนนต์ชนิด ActiveX

บทที่ 16 คำแนะนำประจำวัน

ในโปรแกรมใช้งานทั่วๆ ไป เรามักจะพบข้อความอธิบายวิธีการใช้โปรแกรม หรือคำแนะนำที่เป็นเกร็ดน่ารู้ต่างๆ ที่เรียกว่า today tip เราสามารถสร้างข้อความลักษณะนี้เพื่อแสดงประกอบในเอกสาร ASP ได้เช่นกัน ถือเป็นลูกเล่นเสริมที่ช่วยให้เอกสาร ASP ของเราดูมีคุณประโยชน์เพิ่มขึ้น

  • สร้างไฟล์ข้อความ
  • นำข้อความขึ้นแสดง