เริ่มเขียนสคริปต์ด้วยภาษา Perl

ผู้เขียน: ทรงเกียรติ ภาวดี
ISBN: 974-510-353-5
จำนวนหน้า: xxx หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 125 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 105 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


  • เป็นวิธีลัดที่ช่วยพัฒนาแอปพลิเคชันไว้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต ได้สะดวกและรวดเร็วที่สุด
  • เนื้อหาครอบคลุม JavaScript ทุกรุ่น ใช้ได้กับเบราเซอร์ยอดนิยมทั้ง Netscape และ IE
  • เพิ่มลูกเล่นแบบ dynamic ให้โฮมเพจได้หลากหลาย อาทิ นาฬิกา, เครื่องคิดเลข, ตัวอักษรวิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ
  • มีตัวอย่างโปรแกรมตลอดเล่ม ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้งานได้ไม่ว่าโฮมเพจธุรกิจหรือโฮมเพจส่วนตัว


บทที่ 1 รู้ไว้ก่อนเริ่มใช้ภาษา Perl

Perl ไม่ใช่ภาษาที่ใหม่นัก แต่สาเหตุที่เพิ่งจะเริ่มรู้จักและได้รับความนิยมก็เพราะกระแสของอินเทอร์เน็ต ด้วยความง่ายและเป็นสคริปต์ที่ไม่ต้องมีการคอมไพล์ก่อนการรัน ภาษา Perl จึงนิยมนำมาเขียนเป็น CGI โดยมีพลังความสามารถที่จะนำมาเขียนสคริปต์ใช้งานหลายอย่างได้พอๆ กับภาษา C ทีเดียว บทนี้จะประเดิมด้วยการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ, การเขียน และการรันสคริปต์ Perl

  • Perl ใน UNIX และ DOS
  • โปรแกรมที่เขียนด้วย Perl มีแต่สัญลักษณ์
  • นามสกุลของสคริปต์ Perl
  • Telnet เข้าไปใช้เซิร์ฟเวอร์ UNIX
  • ใช้อะไรเป็นเอดิเตอร์เขียนสคริปต์ดี
  • โปรแกรม FTP ส่งไฟล์เข้าเซิร์ฟเวอร์
  • 2 in 1 (เอดิเตอร์ + โปรแกรม FTP)
  • มี Perl พร้อมหรือยัง
  • หาชุดติดตั้ง Perl ได้จากไหน
  • โครงสร้างพื้นฐานของสคริปต์ Perl
  • วิธีรันสคริปต์ Perl

บทที่ 2 สเกลาร์/ตัวเลข/สตริง ตัวแปรสารพัดใช้งาน

ชนิดของตัวแปรในภาษา Perl มีไม่กี่แบบ แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงมาก สามารถเปลี่ยนข้อมูลกลับไปมาระหว่างกันได้ ตัวแปรแบบสเกลาร์เก็บข้อมูลได้ทั้งตัวเลขและสตริง ปัญหาที่น่าคิดคือ เวลานำไปใช้งานจะไม่สับสนหรือ ? Perl รู้ได้อย่างไรว่าเป็นตัวเลขหรือสตริง ? จะเกิดอะไรขึ้นหากเอาตัวเลขไปบวกกับสตริง ? เราจะได้ศึกษาหาคำตอบดังกล่าวกันในบทนี้

  • ตัวแปรสเกลาร์คืออะไร
  • ตัวแปรสเกลาร์ที่เก็บสตริง
  • ข้อควรระวังในการแทรกค่าตัวแปรลงในสตริง
  • ต้องมี "ตัวกระทำ" ตามธรรมเนียม
  • ฟังก์ชันจัดการกับสตริง
  • $_ ตัวแปรพิเศษของ Perl

บทที่ 3 ลิสต์และอาร์เรย์ คู่เหมือนที่แตกต่าง

ภาษาอื่นอาจใช้ตัวแปรแบบอาร์เรย์ยามจำเป็นเท่านั้น แต่อาร์เรย์คือหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของภาษา Perl ที่นำมาใช้งานเกือบตลอดเวลา เพราะความยืดหยุ่นที่สามารถเพิ่มหรือลดขนาดได้ทันที และแต่ละช่องอาจเก็บข้อมูลต่างชนิดกันก็ได้ ไม่ตายตัวเหมือนอาร์เรย์ในภาษาอื่น นอกจากผู้เขียนจะแนะนำให้รู้จักอาร์เรย์ในบทนี้แล้ว ยังเปิดเผยวิธีการจัดการกับอาร์เรย์ให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย

  • กำหนดค่าให้ลิสต์แบบระบุค่าโดยตรง
  • กำหนดค่าให้ลิสต์แบบเป็นช่วง
  • นำลิสต์มาสร้างอาร์เรย์
  • การเข้าถึงสมาชิกอาร์เรย์แต่ละช่อง
  • เพิ่มสมาชิกของอาร์เรย์ได้ไม่ยาก
  • เข้าถึงอาร์เรย์แบบลิสต์
  • ฟังก์ชันจัดการกับอาร์เรย์
  • อาร์เรย์แบบ Associative
  • วงรอบ foreach สำหรับเข้าถึงข้อมูลในอาร์เรย์
  • foreach กับอาร์เรย์แบบ Associative
  • แยกสตริงให้กลายเป็นลิสต์
  • รวมลิสต์ให้กลายเป็นสตริง

บทที่ 4 ตรวจสอบเงื่อนไข และทำงานเป็นวงรอบ

ทุกภาษาย่อมมีคำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขหรือการทำงานเป็นวงรอบ ภาษา Perl ก็เช่นกัน เพียงแต่มีทางเลือกในการใช้งานที่แตกต่างจากภาษาอื่น อย่างคำสั่ง unless ที่ใช้แทน if หรือวงรอบ until ที่ใช้แทนวงรอบ do-while ในบทนี้เราจะมาดูว่า ทางเลือกเหล่านี้มีอะไรดีกว่า, สื่อความหมายมากกว่า และน่าใช้งานกว่าคำสั่งรูปแบบเดิมๆ อย่างไร ?

  • อะไรเป็นจริง-อะไรเป็นเท็จ
  • ตัวเชื่อมตรรกะ
  • ทางเลือกทางเดียวหรือสองทาง (if-else)
  • ทางเลือกหลายทาง (if-elseif-elseif…..else)
  • วงรอบ while/until
  • วงรอบ do-while/until
  • วงรอบ for
  • หลากหลายวิธีในการเขียนวงรอบ
  • หลากหลายวิธีที่ใช้แทนคำสั่ง if
  • คำสั่งควบคุมการทำงานของวงรอบ
  • จบการทำงานของสคริปต์ด้วย exit

บทที่ 5 ครบสูตรจัดการสตริง ทั้งค้นหาและแทนที่

คงจะไม่ผิดหากบอกว่า พลังสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ Perl คือ การจัดการกับข้อความ การค้นหาและแทนที่ข้อความกลายเป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับภาษา Perl สคริปต์สั้นๆ เพียงบรรทัดเดียวสามารถใช้สำหรับค้นหาและแทนที่ข้อความในไฟล์ได้ทั้งไฟล์ ฉะนั้นหลังจากศึกษาบทนี้แล้ว เราจะรู้วิธีเขียนสคริปต์ Perl เพื่อนำมาจัดการข้อความได้อย่างน่าทึ่ง

  • ตัวอย่างการจัดการกับสตริงของ Perl
  • ค้นหาข้อความด้วย //
  • ค้นหาและแทนที่ข้อความด้วย s///
  • ค้นหาและแทนที่ตัวอักษรด้วย tr///
  • อย่าสับสนเมื่อไม่ระบุชื่อตัวแปร

บทที่ 6 เขียนโปรแกรมย่อย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

การเขียนโปรแกรมย่อย เป็นวิธีการหนึ่งในการเขียนสคริปต์ให้เป็นระบบ และช่วยให้แก้ไขสคริปต์ได้ง่าย เราจะเขียนโปรแกรมย่อยใน Perl ได้อย่างไร ? วิธีการเรียกโปรแกรมย่อยให้ทำงาน รวมทั้งการส่งและรับค่าของโปรแกรมย่อย เป็นอย่างไร ? เราจะได้ศึกษากันในบทนี้

  • โครงสร้างของโปรแกรมย่อย
  • เขียนโปรแกรมย่อยไว้ที่ไหน
  • เรียกโปรแกรมย่อยให้ทำงาน
  • ตัวแปรแบบโกลบัล (global) และโลคัล (local)
  • โปรแกรมย่อยที่มีการรับส่งค่า
  • รวมโปรแกรมย่อยเก็บไว้ในไฟล์ต่างหาก

บทที่ 7 เปิด/ปิดไฟล์ได้ตลอด ไม่ว่าอ่านหรือเขียน

การเขียนสคริปต์เพื่อใช้งานจริง มักจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดไฟล์, การอ่านข้อมูลในไฟล์ การเขียนข้อมูลลงในไฟล์ และการปิดไฟล์ ในบทนี้จะมาดูกันว่า Perl มีความสามารถอะไรบ้างในการจัดการไฟล์ ? ง่ายหรือยากกว่าภาษาอื่นอย่างไร ? พร้อมทั้งศึกษาตัวอย่างสคริปต์ที่ใช้ทำงานกับไฟล์ด้วย

  • เปิดไฟล์ให้ได้เสียก่อน
  • รูปแบบการเปิดไฟล์
  • อ่านข้อมูลจากไฟล์
  • เขียนข้อมูลลงในไฟล์
  • เปิดไฟล์ไม่ได้ก็ die ไปเลย
  • ปิดไฟล์ก่อนจบการทำงาน
  • ตัวตรวจสอบไฟล์และไดเรกทอรี
  • ลบ/เปลี่ยนชื่อไฟล์และไดเรกทอรี
  • ตัวอย่างสคริปต์ทำงานกับไฟล์