เพิ่มพลังอินเทอร์แอคทีฟ x 2 ให้เว็บเพจด้วย ASP

ผู้เขียน: สุรัตน์ บัณฑิตลักษณะ
ISBN: 974-85986-0-8
จำนวนหน้า: xxx หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 195 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 170 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


  • รวบรวมเทคนิคการเขียนสคริปต์ ASP โดยใช้ประโยชน์ตัวแปร จากไฟล์ global.asa และ Cookie อย่างฉลาด จนทำให้ผู้เยี่ยมชมเว็บเพจต้องรู้สึกทึ่ง!! พร้อมตัวอย่างประยุกต์ใช้งานหลากหลายแนว อาทิ…
    • ระบบรหัสผ่าน ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงระบบที่มีความปลอดภัยสูงสุด และบอกวิธีตั้งรหัสผ่านฐานข้อมูลของโปรแกรม Microsoft Access
    • ระบบส่งอีเมลอัตโนมัติ โดยใช้คอมโพเนนต์ ActiveX รวมถึงการส่งอีเมลในเว็บไซต์บริการ
      โฮมเพจฟรี ASP ชื่อดังอย่าง webhostme.com
    • ระบบ shopping cart และการจัดระบบข้อมูลสินค้าที่ช่วยเนรมิตธุรกิจ e-commerce ขั้นต้นได้ดังใจ
    • ระบบ e-card แบบแอนิเมชันอันน่าตื่นตา โดยอาศัยโปรแกรม Macromedia Flash ร่วมกับ ASP


บทที่ 1 ทบทวนพื้นฐานที่ไม่ใช่แค่พื้นฐาน

"พื้นฐาน" เป็นสิ่งที่ลืม หรือละเลยไม่ได้ในการเขียนโปรแกรม ไม่ว่าท่านเคยอ่าน หรือไม่เคยอ่านหนังสือ ASP มาบ้างก็ตาม ก็ควรทบทวนความเข้าใจพื้นฐาน อย่างเช่น การส่งข้อมูลระหว่างฟอร์มกับสคริปต์ ASP หรือการเก็บข้อมูลลงในไฟล์ หรือฐานข้อมูล เมื่อความเข้าใจเหล่านั้นรื้อฟื้นคืนมาแล้ว ไม่ว่าโปรแกรมซับซ้อนขนาดไหน ท่านย่อมเขียนได้ด้วยความสนุกสนาน!!

  • การส่งข้อมูลระหว่างฟอร์มกับไฟล์สคริปต์ ASP
  • การเก็บข้อมูลและเรียกใช้ข้อมูลจาก text file
  • การเก็บข้อมูลและเรียกใช้ข้อมูลจากไฟล์โปรแกรม Microsoft Access
  • อาร์เรย์นั้นสำคัญฉะนี้
  • โปรแกรมย่อยและฟังก์ชัน ความเหมือนที่แตกต่าง

บทที่ 2 เริ่มต้นง่ายๆ กับ bar chart

เว็บไซต์หลายๆ แห่ง มักมีการสอบถามความเห็นของผู้เข้ามาเยี่ยมชม อย่างเช่น เว็บไซต์นี้สวยแค่ไหน หรือสอบถามความคิดเห็นทั่วไป โดยมีการสรุปข้อมูลความคิดเห็นออกมาในรูปตัวเลข และยิ่งไปกว่านั้นบางเว็บไซต์มีการแสดงผลของข้อมูลออกมาในรูปกราฟ หรือแผนภูมิแท่ง ที่เราเรียกกันว่า bar chart เขาทำกันได้อย่างไร

  • แนวความคิดของการให้คะแนน
  • สร้างฟอร์มสำหรับรับค่าการโหวต
  • คำนวณค่าอย่างไร
  • แผนภูมิแท่งดูดีกว่า

บทที่ 3 global.asa และ include

ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านที่เพิ่งเริ่มใช้งาน ASP หรือแม้จะใช้งาน ASP มานานแล้วก็ตาม อาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่อของเจ้าไฟล์ global.asa นี้เลย และถึงแม้จะเคยได้ยินมาบ้าง ก็คงจะไม่เคยใช้งานมันเท่าใดนัก ทั้งๆ ที่เป็นไฟล์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงทีเดียว และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมให้เนื้อที่บทนี้ทั้งบทแก่ global.asa

  • แยกส่วน global.asa
  • แล้วควรจะใช้อะไรดีระหว่าง Application และ Session
  • ระบบประมูลสินค้า
  • กฎการใช้ global.asa
  • include file คืออะไร

บทที่ 4 รหัสผ่านป้องกันเว็บเพจ

"รหัสผ่าน" เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพราะมักถูกใช้สำหรับการป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับ ในทำนองเดียวกันเว็บเพจก็เป็นข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจจะต้องมีการปกป้องข้อมูลจากบุคคลใดก็ตาม ที่ผู้สร้างเว็บเพจไม่ต้องการให้เห็นข้อมูลนั้นๆ

  • รหัสผ่านง่ายๆ ไร้ฐานข้อมูล
  • สร้างรหัสผ่านให้สมาชิก
  • เตรียมฐานข้อมูลกันก่อน
  • อธิบายโครงสร้าง
  • สร้างฟอร์มรับข้อมูลแล้วเก็บบันทึก
  • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
  • สร้างรหัสผ่านโดยผู้ดูแลระบบ
  • ไฟล์ทั้งหมดและความสัมพันธ์ระหว่างไฟล์
  • server variable อีกทางเลือกของรหัสผ่าน

บทที่ 5 ของฝาก cookie ที่ไม่ควรมองข้าม

ผู้อ่านหลายท่าน คงคุ้นหูกันดีกับคำว่า "คุกกี้" ทั้งในความหมายที่เป็นขนม และเป็นของฝากจากอินเทอร์เน็ต นักท่องเว็บทั่วไปมักจะสัมผัสกับคุกกี้โดยไม่รู้ตัว เพราะเป็นลูกเล่นที่ผู้สร้างเว็บเพจนำมาใช้เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้เยี่ยมชมเว็บเพจเแต่ละคนเอาไว้ อย่างเช่น ชื่อ, อีเมลแอดเดรส หรือหัวข้อที่ผู้ เยี่ยมชมเว็บเพจชอบ ฯลฯ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ฟังดูน่าสนใจที่จะรู้จักคุกกี้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไหมครับ

  • เก็บข้อมูลเอาไว้ในคุกกี้
  • คุกกี้ก็เหมือนขนมจริงที่มีวันหมดอายุ
  • เรียนรู้พฤติกรรมผู้ชมเว็บเพจด้วยคุกกี้
  • ลิ้มรสคุกกี้แล้วทำให้คิดถึงตัวแปรชนิด Session

บทที่ 6 chat room ห้องสนทนาภาษา ASP

ห้องสนทนาเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่เว็บไซต์หลายแห่งนิยมมีไว้ให้บริการผู้เข้ามาเยี่ยมชม ยิ่งไปกว่านั้นเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะสร้างห้องสนทนาด้วยภาษา ASP เพราะสามารถเขียนได้ง่าย และมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งาน

  • โครงสร้างสคริปต์ของ chat room
  • รื้อฟื้นวิชา global.asa
  • แต่งเติมเพิ่มรูปแทนตัวผู้สนทนา

บทที่ 7 e-commerce มาแรง

มีคนคิดกันว่า เมื่ออินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกครัวเรือน คนเราจะสามารถทำอะไรก็ได้ผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งหมด อย่างเช่น ติดต่อกับเพื่อน, ประชุมกับที่ทำงาน, ดูหนังฟังเพลง ฯลฯ และ อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้คนจับตามองกันมากที่สุด ก็คือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บางทีคุณอาจเป็นคนหนึ่งที่พบกับคำว่า รวยไม่รู้เรื่อง เช่นเดียวกับ เจฟฟ์ เบซอส เจ้าของเว็บไซต์ amazon.com ก็เป็นได้

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับ e-commerce
  • อีเมลคือหัวใจสำคัญ
  • บริการรับจ้างส่งเมลทั่วไป
  • แจ้งรหัสผ่านไปให้สมาชิกทางอีเมล

บทที่ 8 มาเปิดร้านออนไลน์กันเถอะ

เมื่อเราเปิดร้านขายของสักร้านหนึ่งในอินเทอร์เน็ต ก็คงต้องนึกถึงหัวใจสำคัญสองอย่าง คือลูกค้า และสินค้า ซึ่งระบบลูกค้า หรือสมาชิกนั้นเราได้เรียนรู้กันบ้างแล้วในบทที่ผ่านๆ มา สำหรับบทนี้เราจะเรียนรู้ในเรื่องระบบสินค้าบ้างว่า มีรูปแบบการจัดฐานข้อมูลสินค้าอย่างไร และจะเหมือนการวางโชว์ของบนชั้น แบบร้านขายของจริงๆ หรือ เปล่า

  • จัดแบ่ง category นี่แหละทางออก
  • เพิ่มฟอร์มรับคีย์เวิร์ดเพื่อให้ค้นหาง่าย
  • เพิ่มหนังสือเข้าร้าน

บทที่ 9 shopping cart เลือกสินค้าก่อนชำระเงิน

หลังจากพบสินค้าที่ต้องการซื้อแล้ว ลูกค้าจะซื้อสินค้าเหล่านั้นได้อย่างไร แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกค้าต้องการสินค้าชิ้นใด และไม่ต้องการสินค้าชิ้นไหน ร้านค้าควรมีอะไรสักอย่าง ไว้ให้ลูกค้าเก็บสินค้าที่เลือกซื้อ เหมือนกับเวลาเดินช็อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้า เราก็จะถือตะกร้า หรือรถเข็น ที่เรียกว่า shopping cart เอาไว้ใส่ของที่จะซื้อ ซึ่งในร้านออนไลน์ของเรา ก็ต้องมี shopping cart ไว้คอยบริการเช่นกัน

  • หน้าตา "ตะกร้า" เป็นอย่างไร
  • ข้อมูลสินค้าในร้าน
  • เก็บข้อมูลลูกค้าหลังจากช็อปปิ้งเสร็จ
  • บันทึกหลักฐานการสั่งซื้อ
  • สรุปขั้นตอนการซื้ออีกครั้ง

บทที่ 10 ส่งความสุขด้วยการ์ดอิเล็กทรอนิกส์

การ์ดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกหนึ่งบริการที่ผู้สร้างเว็บไซต์นิยมกัน เพราะเป็นเหมือนการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ทางอ้อมที่ได้ผลดีเยี่ยม อีกทั้งยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ในการเป็นส่วนหนึ่งของความปรารถนาดีที่ผู้เยี่ยมชมเว็บเพจแสดงออกต่อกัน

  • รู้จักกับการ์ดอิเล็กทรอนิกส์กันก่อน
  • เตรียมฐานข้อมูลการ์ดอิเล็กทรอนิกส์
  • กลวิธีสร้างรหัสหมายเลขการ์ดอิเล็กทรอนิกส์
  • ลงมือสร้างกันเลย

บทที่ 11 Flash + ASP รวมพลัง animation และ engine

เว็บไซต์ยุคใหม่ มักเต็มไปด้วยแอนิเมชัน ซึ่งนิยมสร้างด้วยโปรแกรม Macro-media Flash เพราะสามารถสร้างแอนิเมชันคุณภาพสูง แต่มีขนาดเล็ก หรือจะเติมลูกเล่นอย่างการโต้ตอบกับเมาส์ หรือแทรกเสียงประกอบก็ได้ แล้วถ้ารวมพลัง ASP กับ Flash ด้วยกัน อะไรจะเกิดขึ้น?

  • สร้างตัวแปรรับข้อความที่จะแสดงในแอนิเมชัน
  • รับข้อความที่จะแสดงแอนิเมชันอย่างไร
  • จาก ASP engine ไปสู่ Flash animation
  • การ์ดมหัศจรรย์ด้วย Flash animation
  • สร้างแอนิเมชันของการ์ด
  • เปลี่ยนจากภาพนิ่งเป็นแอนิเมชัน