สร้าง firewall ในวินโดวส์ ด้วย ZoneAlarm
ผู้เขียน: ภานุมาศ สุวรรณ์
ISBN: 974-93284-3-4
จำนวนหน้า: 288 หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 ซม.
รูปแบบหนังสือ:
หนังสือขาวดำ
แถม CD
ราคาปก: 155 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 140 บาท
- ไฟร์วอลล์คืออะไร สำคัญอย่างไร
- แนะกลเม็ดการท่องเน็ตแบบสบายใจไร้กังวล
- เปิดเผยเคล็ดลับการปรับแต่งไฟร์วอลล์เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
สุดยอดโปรแกรมไฟร์วอลล์ ที่ต้องมีไว้ประจำเครื่อง
ป้องกันไวรัส/ป้องกันโทรจัน/ป้องกันสปายแวร์/ป้องกันการแฮก
- ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคน และผู้ที่ทำงานในระบบเครือข่ายแลน
- ผู้ที่ต้องการศึกษาและทำความเข้าใจกับเรื่องความปลอดภัยในการใช้ระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายแลน เป็นต้น
- ผู้ที่ต้องการหาโปรแกรมไฟร์วอลล์ไว้สำหรับปกป้องข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอณ์ และในเครือข่าย
- ความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องโครงสร้างของระบบเครือข่าย
- วิธีการใช้โปรแกรม Internet Explorer
- คอมพิวเตอร์พีซี ที่มีระบบปฏิบัติการ Windows 98SE/ME/XP/2000 และเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
- ชุดโปรแกรม ZoneAlarm (โปรแกรมชุดทดลองใช้มีแถมมากับหนังสือด้วย)
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง?
จะอ่านหนังสือเล่มนี้ควรรู้อะไรมาก่อนบ้าง?
จะทดลองปฏิบัติตามตัวอย่างในหนังสือต้องมีอะไรบ้าง?
บทที่ 1 ความรู้เรื่องเน็ตเวิร์กเบื้องต้น
บทนี้กล่าวถึงเรื่องพื้นฐาน (แต่สำคัญ) ของระบบอินเทอร์เน็ต อาทิ โพรโตคอล (Protocol) คืออะไร, IP Address มีความสำคัญแค่ไหน, เทคนิคการปลอมแปลงหมายเลข IP สารพัดรูปแบบ เพื่อปกปิดร่องรอยของคุณในโลกอินเทอร์เน็ต, ทำความเข้าใจกับความสำคัญของพอร์ต (port) รวมทั้งกล่าวถึงที่มาและการตรวจเช็กด้วยวิธีง่ายๆ เพื่อนำไปสู่การป้องกันตัวเองอย่างรวบรัดแต่ชัดเจน
- โพรโตคอล (Protocol) : ภาษาของคอมพิวเตอร์
- IP Address : คุณคือใคร
- ตรวจสอบหมายเลข IP โดยใช้คำสั่ง ipconfig
- ตรวจสอบหมายเลข IP จากไอคอน Connect
- รู้หมายเลข IP แล้วรู้อะไรบ้าง
- การปลอมหมายเลข IP
- ปลอมหมายเลข IP โดยใช้ anonymous web proxy
- ปลอมหมายเลข IP โดยการใช้ anonymous proxy
- ทดสอบการเปลี่ยนหมายเลข IP โดยการโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ด
- ประโยชน์ของพร็อกซี่
- พอร์ต (port): ประตูต้อนรับแขก
- พอร์ตที่ใช้งานทั่วไป
- พอร์ตอันตราย
- เครื่องคุณเปิดพอร์ตอะไรไว้บ้าง
บทที่ 2 ไฟร์วอลล์เบื้องต้น
เมื่อจะใช้งานเครื่องมือใดๆ เราจำเป็นต้องเข้าใจและเรียนรู้วิธีการทำงานของมันอย่างถ่องแท้เสียก่อน ในบทนี้เราจะเจาะลึกถึงรายละเอียดวิธีการทำงานของไฟร์วอลล์ เพื่อให้รู้ว่า ในความเป็นจริงแล้ว มันทำอะไรได้บ้าง มีความสามารถและมีข้อจำกัดอะไรบ้างที่เราต้องเข้าใจ พร้อมหลักการเตรียมตัวก่อนติดตั้งไฟร์วอลล์ อันจะนำไปสู่การใช้งานเครื่องมือชิ้นนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
- ไฟร์วอลล์ (Firewall) คืออะไร
- ไฟร์วอลล์ (Firewall) มีกี่ชนิด
- หลักการทำงานของไฟร์วอลล์ส่วนบุคคล (Personal firewall)
- ความแตกต่างระหว่างไฟร์วอลล์ส่วนบุคคล และไฟร์วอลล์ทั่วไป
- เตรียมตัวก่อนติดตั้งไฟร์วอลล์
- ไฟร์วอลล์ป้องกันอะไรได้บ้าง
- สิ่งที่ไฟร์วอลล์ป้องกันไม่ได้
- โปรแกรมไฟร์วอลล์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน
บทที่ 3 เริ่มต้นใช้งาน ZoneAlarm
การเริ่มต้นที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง การติดตั้งไฟร์วอลล์ให้สามารถทำได้งานตรงตามความ ต้องการของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละเครื่อง หลักการนี้ เรียบง่ายและชัดเจน หากคุณยอมลำบากสละเวลาเพียงครู่ ศึกษาวิธีการติดตั้งอย่างถูกวิธี และเข้าใจพื้นฐานการทำงานของส่วนต่างๆ ในโปรแกรมที่กล่าวในบทนี้ สิ่งที่ต้องทำต่อใน บทต่อๆ ไป ก็ง่ายเพียงขยับฝ่ามือ (บนเมาส์)
- ติดตั้งและกำหนดการทำงานของ ZoneAlarm ให้เหมาะกับเครื่องของคุณ
- เริ่มต้นการใช้งานโปรแกรม ZoneAlarm
- หน้าตาและความหมายของไอคอนต่างๆ ในหน้าต่างโปรแกรม
- ความหมายของสัญลักษณ์ที่ปรากฏใน System Tray
- หน้าที่ของเมนูบาร์ต่างๆ ในโปรแกรม
- ปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม
- การอัปเดตโปรแกรม
- ตั้งรหัสผ่าน ไม่ให้ใครมาวุ่นวายกับไฟร์วอลล์ของคุณ
- การบันทึกค่าต่างๆ ที่ตั้งไว้ เพื่อนำกลับมาใช้ภายหลัง
- เปลี่ยนสีสันหน้าตาโปรแกรม
- การใช้ชอร์ตคัตคีย์ควบคุมการทำงาน
บทที่ 4 ตั้งค่าการใช้งานไฟร์วอลล์
คุกมีไว้คุมขังอาชญากร มิให้ปะปนกับคนดี เฉกเดียวกันกับการสร้างโซน เพื่อแบ่งแยกระดับความปลอดภัย ปกป้องเครื่องของคุณจากการโจมตีสารพัดรูปแบบที่มาจากโลกภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการบล็อก IP, ปิดเปิดพอร์ตในเครื่อง, รวมถึงการสร้างกฎเหล็กที่ลงลึกในรายละเอียด อย่างการระบุ IP, ระบุโพรโตคอล, ระบุหมายเลขพอร์ต ที่ง่ายเพียงการคลิกไม่กี่ครั้ง แต่ก็ยากที่จะมีผู้ใดฝ่าเข้ามาทำอันตรายกับเครื่องของคุณได้
- เลือกระดับความปลอดภัย
- แถบสไลด์บาร์ Internet Zone Security
- แถบสไลด์บาร์ Trusted Zone Security
- รายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับการเลื่อนแถบสไลด์บาร์ที่ควรรู้
- การตั้งค่าพอร์ตพื้นฐานของโปรแกรม ZoneAlarm
- วิธีเปลี่ยนการตั้งค่าการปิดเปิดพอร์ตต่างๆ
- ปุ่ม Advanced
- จัดโซนเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
- สร้างกฎ (rules) เพื่อกลั่นกรองข้อมูลในระดับสูงสุด
- การจัดการกฎที่ได้สร้างไว้
บทที่ 5 ปฐมบทแห่ง Program Control
ในโลกที่อุดมไปด้วยโปรแกรมอันตรายนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส, โทรจัน, หนอนอินเทอร์เน็ต ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้แอบฝังตัวเข้ามาในเครื่อง โดยที่เราไม่รู้ตัว จะมีใครสำเหนียกรู้ว่า ทุกครั้งที่เราทำการเชื่อมต่ออยู่นั้น มีโปรแกรมอันตรายใดบ้างที่แอบรับส่งข้อมูล ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากเรา ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องเรียนรู้การควบคุมและสั่งการ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใดที่ไม่ได้รับอนุญาต แอบรับส่งข้อมูลจากเครื่องโดยที่คุณไม่ยินยอม
- การตั้งค่าเบื้องต้นของ Program Control
- การตั้งค่าใน Program Control
- การตั้งค่าในส่วนของ AlertAdvisor
- การตั้งค่าในส่วนของ Automatic lock
- การตั้งค่าในส่วนของ advanced
- เคล็ดลับการปรับแต่งให้ความปลอดภัยสูงสุด
- การให้สิทธิรับส่งข้อมูลแก่โปรแกรมต่างๆ ในเครื่องของเรา
- เพิ่ม-ลบโปรแกรม และตั้งค่าอนุญาตให้รับส่งข้อมูล
- ปรับแต่งการตรวจสอบโปรแกรมให้ตรงใจคุณ
- ตั้งค่ากลั่นกรองแพ็คเก็ตข้อมูล
- แก้ปัญหาโปรแกรม IRC ไม่ทำงาน
- กรณีศึกษาการกำหนดรูปแบบการตั้งค่าสำหรับโปรแกรมทั่วๆ ไป
บทที่ 6 ป้องกันไวรัสและปกป้องอีเมลของคุณ
ต้นตอการติดไวรัส มักจะได้มาจากอีเมลจากผู้ไม่ประสงค์ดี ขณะเดียวกันไวรัสหลายๆ ตัวก็อาศัยอีเมลของคุณ ส่งต่อไวรัสไปยังผู้รับคนอื่น ในบทนี้เราจะเรียนรู้วิธีการควบคุมทั้งไวรัสและอีเมล การตรวจหาไวรัสในเครื่องและอีเมลที่ส่งมา วิธีการจัดการกับไวรัสที่ตรวจพบ รวมทั้งสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการรับส่งเมล ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยให้แก่เครื่องของคุณเป็นอย่างมาก
- เริ่มต้นเข้าใจไวรัส
- ลักษณะการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์
- ป้องกันไวรัสด้วย Antivirus จาก ZoneAlarm
- ตั้งค่าการทำงานเบื้องต้น
- ตั้งเปิดและปิดการทำงานของโปรแกรม Antivirus
- ทำการสแกนไวรัสในเครื่อง
- อัปเดตโปรแกรมให้รู้จักไวรัสชนิดใหม่ๆ
- วิธีอ่านค่าสถานะต่างๆ ที่โปรแกรมแจ้งเมื่อตรวจพบไวรัส
- จัดการไฟล์ใน Quarantine
- ปรับแต่งการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
- กำหนดวันเวลาที่ต้องการตรวจไวรัส
- กำหนดการอัปเดตอัตโนมัติ
- ตรวจเช็กไวรัสโดยกำหนดตำแหน่งที่ต้องสงสัย
- ตั้งให้โปรแกรมป้องกันภัยตรวจตราอยู่ตลอดเวลา
- ตั้งโปรแกรมให้ตรวจอีเมลที่เข้ามาในเครื่อง
- เลือกวิธีรักษาไฟล์ที่ติดไวรัส
- เลือกวิธีตรวจไวรัส
- ตั้งค่าจัดการสปายแวร์โดยอัตโนมัติ
- เลือกรูปแบบการค้นหาสปายแวร์
- ลบไฟล์สปายแวร์ที่เคยอนุญาตให้ทำงาน
- ปกป้องอีเมลของคุณ
- ทำความเข้าใจความสามารถของ MailSafe
- เปิดปิดความสามารถต่างๆ ของ e-mail protection
- ความสามารถ Inbound MailSafe Protection
- ความสามารถ Outbound MailSafe Protection
- ความสามารถ Junk E-mail Filter
- ตั้งค่ากรองอีเมลที่เข้ามาให้ปลอดจากอีเมลขยะ
- ตั้งให้ Outbound Mailsafe Protection ทำงานกับโปรแกรมรับส่งเมลโปรแกรมอื่นๆ
บทที่ 7 รักษาความเป็นส่วนตัวของคุณ
เมื่อคุณเข้าไปยังเว็บเพจหลายๆ เว็บ คุณอาจจะพบความรำคาญใจกับป้ายโฆษณา การขโมยข้อมูลในเครื่องของคุณโดยไม่รู้ตัว และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ไวรัสที่แฝงติดมากับการเข้าเว็บไซต์ ปัญหาเหล่านี้ยากจะหลีกเลี่ยง แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการจัดการอย่างมีระบบที่ผมจะแนะนำในบทนี้ เพื่อไม่ให้มีเว็บไซต์ใดๆ สร้างความรำคาญใจและความเสียหายแก่คุณอีก
- รักษาความเป็นส่วนตัวด้วย Privacy
- สารพันความรู้ Cookies
- วิธีทำให้ Privacy ที่คุณได้ตั้งไว้ มีผลกับเว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆ นอกเหนือจาก IE
- กำหนดการปิดเปิดหน้าต่างแจ้งเตือน
- ตั้งค่าอย่างละเอียดในส่วนต่างๆ ของ Privacy
- ตั้งค่าในแท็บ cookies
- ตั้งค่าในแท็บ Ad Blocking
- ในส่วนของ Ads to Block
- ในส่วนของ Ad Void Control
- ตั้งค่าในแท็บ mobile code
- ตั้งค่า Privacy โดยระบุเว็บไซต์ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
- ใช้งาน Cache cleaner เพื่อประหยัดพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์
- กำหนดเวลาการทำงาน Cache cleaner
บทที่ 8 ปกป้องข้อมูล ปลอดภัยเมื่อแชต ปิดเว็บไม่พึงประสงค์
ข้อมูลเพียงไม่กี่ตัวอักษร ก็สร้างความเสียหายให้แก่คุณได้ เป็นต้นว่า รหัสผ่านอีเมล หรือหมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลเหล่านี้มักจะถูกจ้องขโมยไปจากเครื่องของคุณมากที่สุด ในบทนี้เราจะศึกษาวิธีการป้องกันไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวรั่วไหลออกจากเครื่อง รวมทั้งวิธีการป้องกันตัวเองจากการใช้งานโปรแกรมแชตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น MSN , ICQ, Yahoo ให้ปลอดภัยจากไวรัส และข้อความที่ไม่พึงประสงค์
- ID Lock ผู้พิทักษ์ข้อมูล
- จัดเก็บข้อมูลความลับด้วย myVAULT
- เลือกระดับการรักษาความปลอดภัย
- กำหนดรายชื่อเว็บไซต์ที่สามารถนำข้อมูลออกไปได้
- ติดต่อปลอดภัยใช้ IM Security
- ตั้งค่าการใช้งานเบื้องต้น
- การตั้งค่าเฉพาะโปรแกรม
- กลั่นกรองเว็บไซต์ด้วย Web Filtering
บทที่ 9 เปิดเผยภัยซ่อนเร้น
เมื่อเราเรียนรู้ที่จะป้องกันตนเอง เราก็ต้องรู้ด้วยว่าเราจะป้องกันตัวเองจากอะไร ในบทนี้จะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่โปรแกรม ZoneAlarm ได้จัดเก็บไว้ในระหว่างที่คุณท่องโลกอินเทอร์เน็ต เป็นต้นว่าคุณถูกโจมตีจากใคร เมื่อไหร่ ด้วยวิธีไหน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์และสร้างเกราะป้องกันตัวเอง ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
- เข้าใจปูมบันทึก ALogs
- วิธีตั้งค่าการแจ้งเตือนและบันทึกเหตุการณ์เบื้องต้น
- กำหนดเจาะจงให้บันทึกและแสดงหน้าต่างเตือนตามเหตุการณ์ที่เราต้องการจะรู้
- เปิดสัญญาณเตือนภัยที่ System Tray
- ปรับแต่งการบันทึกข้อมูลความปลอดภัยที่เกิดขึ้นกับเครื่องของเรา
- ดูบันทึกการรักษาความปลอดภัยผ่าน Log Viewer
บทที่ 10 วินโดวส์ไฟร์วอลล์ ICF
ในวินโดวส์ XP มีไฟร์วอลล์ให้ใช้งานด้วยเช่นกัน แม้ว่ามันจะไม่ดีพร้อมสมบูรณ์ แต่มันก็เพียงพอที่จะทำให้คุณปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง ในบทนี้เราจะศึกษาวิธีการตั้งค่าต่างๆ ของไฟร์วอลล์ที่ติดตั้งอยู่ในวินโดวส์ XP รวมถึงการอัปเดตข้อมูลต่างๆ เพื่อปิดช่องโหว่ในตัววินโดวส์ของคุณ จากการโจมตีรูปแบบใหม่ๆ
- ทำความเข้าใจกับวินโดวส์ไฟร์วอลล์
- ICF กับโปรแกรม ZoneAlarm
- วิธีปิดการทำงานของ Security Center
- การอนุญาตให้รับส่งข้อมูลได้เฉพาะโปรแกรมที่เรากำหนด
- ตั้งค่าให้ ICF เพื่ออนุญาตให้ใช้เซอร์วิสบางประเภท
- จัดการกับแพกเก็ตข้อมูลชนิด ICMP
- ตรวจดูบันทึกความปลอดภัยของ ICF
- วิธีอ่านข้อมูลในไฟล์ Log
- การใช้งาน Automatic Updates
บทที่ 11 การกำจัดสปายแวร
บทนี้เราจะทำความรู้จักกับโปรแกรมอันตรายที่ชื่อว่า สปายแวร์ รวมถึงวิธีการตัดรากถอนโคนให้โปรแกรมดังกล่าวหายไปจากเครื่องของคุณอย่างหมดจด นอกจากนั้น ยังเสนอวิธีกู้คืน Registry สำคัญๆ ที่มักถูกตัวโปรแกรมฝังตัวเข้าทำงาน ด้วยวิธีการนี้ แม้จะมีสปายแวร์ชนิดใหม่ๆ เข้ามาติดยังเครื่องคุณ ก็สามารถกำจัดมันได้โดยง่ายดาย
- รู้จักกับสปายแวร์
- เริ่มต้นด้วย Ad-Aware SE Personal
- วิเคราะห์ปัญหาด้วย HijackThis
ภาคผนวก ชุดโปรแกรมในแผ่นซีดี
- AntiSpyware
- Antivirus
- Firewall
- Utilities
- ZoneAlarm