หาเพื่อน หางาน ผ่าน LinkedIn
ผู้เขียน: กิตติ ภูวนิธิธนา
ISBN: 978-616-7897-22-6
จำนวนหน้า: 159 หน้า
ขนาด: 16.5 x 19 x 0.8 ซม.
รูปแบบหนังสือ:
หนังสือขาวดำ
ราคาปก: 125 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 110 บาท
- ครบทุกส่วน ตั้งแต่สมัครสมาชิก, เขียนโพรไฟล์, เข้าร่วมกลุ่ม, ตั้งกลุ่มเอง, โพสต์-ไลค์-แชร์, สร้าง Connections ฯลฯ
- ค้นหางานที่ถูกใจและอยากทำ
- ตรวจสอบและติดตามกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับงาน
- ลงประกาศรับสมัครเพื่อคัดเลือกคนที่เหมาะกับงาน
- ตั้งค่าการใช้งานตามใจเรา เช่น จะให้ใครเห็นโพรไฟล์ของเราแบบไหน, ใครเห็น Connections ของเราได้บ้าง, จะรับข้อความประเภทไหนบ้าง ฯลฯ
- ใช้แอป LinkedIn ผ่านสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง?
- ผู้สนใจสังคมออนไลน์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวเพื่อสัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างจากของเดิม
- ผู้ที่ต้องการเปิดโลกทัศน์ของการสื่อสารกับผู้คนจากทั่วโลก
- ผู้ที่มองหาตำแหน่งงานใหม่ๆ กับองค์กรแถวหน้าในแต่ละวงการ
- ผู้ที่ต้องการค้นหาบุคลากรมืออาชีพไปร่วมทีมในการทำงาน
ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้
- ถ้ามีความเข้าใจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ Social Network มาบ้างก็จะดี
- ถ้ามีทักษะเกี่ยวกับภาษาอังกฤษอยู่บ้างก็จะดี
ต้องมีอะไรบ้างเพื่อทดลองทำตามเนื้อหาในหนังสือ
- คอมพิวเตอร์
- อินเทอร์เน็ต
บทที่ 1 LinkedIn คืออะไร
LinkedIn เป็นหนึ่งในสังคมออนไลน์ที่โลดแล่นอยู่ในอินเทอร์เน็ตมาสักพักหนึ่งแล้ว จะว่าไปก็หลายปีแล้วเหมือนกัน เพียงแต่ที่ผ่านมายังไม่ได้รับความนิยมมากนักในเมืองไทย แต่ในต่างประเทศถือได้ว่าเป็นสังคมออนไลน์ตัวหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ สำหรับในเมืองไทยตอนนี้ ชื่อนี้กำลังเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ LinkedIn มีจุดเด่นและน่าสนใจจริงๆ
- สังคมออนไลน์ในเมืองไทย
- LinkedIn เป็นใครมาจากไหน
- LinkedIn อยู่ตรงไหนในสังคมออนไลน์เมืองไทย
- ทำไมต้องใช้ LinkedIn
บทที่ 2 เข้าร่วมกับ LinkedIn
การใช้งานเว็บไซต์หรือสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นแห่งใดก็ตาม เราจำเป็นจะต้องสมัครสมาชิกก่อน เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว รู้จักส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์แล้ว ก็ค่อยเรียนรู้วิธีใช้กันในลำดับต่อไป ถ้าใครสนใจเข้าร่วมกับ LinkedIn แต่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก ก็สามารถดูขั้นตอนการสมัครในบทนี้ได้เลย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเราก็จะมีตัวตนในสังคมออนไลน์แห่งนี้แล้ว
- ขั้นตอนการสมัครสมาชิก
- ขั้นตอนการสร้างโพรไฟล์
- อะไรเป็นอะไรบนหน้าเว็บไซต์
บทที่ 3 สร้างโพรไฟล์ให้โปรเฟสชันนัล
ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการใช้ LinkedIn เลยนะครับสำหรับการกรอกข้อมูลส่วนตัวของเรา เพราะการที่จะใช้ LinkedIn ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและเกิดผลในด้านโอกาสทางการทำงานนั้น คงกรอกข้อมูลเพียงแค่คร่าวๆ ไม่ได้ แต่ว่าควรกรอกข้อมูลที่คิดว่าเป็นผลดีกับตัวเราเองให้มากและชัดเจนที่สุด เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง
- แนวทางการสร้างโพรไฟล์ใน LinkedIn
- เตรียมข้อมูลให้พร้อม
- เริ่มอัปเดตโพรไฟล์กันเลย
- ข้อมูลสำคัญที่ควรอัปเดต
- คุณเป็นใคร แนะนำตัวเองสักหน่อย
- ระบุประสบการณ์การทำงาน
- ระบุข้อมูลการศึกษา
- ระบุความถนัดและความชำนาญ
- เพิ่มข้อมูลให้ดูน่าสนใจและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- ลบข้อมูลออกจากโพรไฟล์
- จัดเรียงลำดับข้อมูล
- ระบุข้อมูลการติดต่อ
- สร้าง URL ที่เป็นชื่อเฉพาะของเราเอง
- สร้าง Badge ไว้ติดบนเว็บไซต์
บทที่ 4 ค้นหาและเพิ่ม Connections ใน LinkedIn
เมื่อจัดการกับโพรไฟล์เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็มาถึงขั้นตอนการเสาะหา Connections หรือเพื่อนๆ ภายในสังคมออนไลน์แห่งนี้กัน ใน LinkedIn จะเรียกการเพิ่มเพื่อนว่า เพิ่ม Connections และแบ่ง Connections หรือเพื่อนในเครือข่ายออกเป็นลำดับชั้น แบ่งอย่างไร และค้นหาเพื่อนได้ด้วยวิธีใดบ้าง ไปดูกันเลยครับ
- ลำดับชั้นของ Connections ใน LinkedIn
- ช่องทางการค้นหา Connections
- Connections ที่ LinkedIn แนะนำ
- ค้นหา Connections จากอีเมล
- ค้นหาสมาชิกร่วมสถาบัน
- ค้นหาจากการเสิร์ช
- ค้นหาจาก Connections ในเครือข่าย
- วิธีเพิ่ม Connections
- เพิ่ม Connections ที่รู้จัก
- เพิ่ม Connections ที่ไม่รู้จัก
- ยอมรับคำขอจากสมาชิกคนอื่น
บทที่ 5 การโพสต์ ไลค์ แชร์ ในโลกของ LinkedIn
มาถึงตรงนี้ โพรไฟล์คุณคงพร้อมแล้วในระดับหนึ่ง รวมถึงคงมี Connections อยู่พอสมควร เพื่อให้เครือข่ายของเราขยายตัวและเป็นที่รู้จักหรือพบเห็นมากขึ้นในสังคมออนไลน์แห่งนี้ จึงจำเป็นต้องอัปเดตสเตตัสเพื่อแชร์ข้อมูลข่าวสารหรือสิ่งที่สนใจกับ ผู้อื่นบ้าง
- การอัปเดตสเตตัสใน LinkedIn
- โพสต์บางสิ่งไปยัง LinkedIn
- แนบไฟล์ไปกับโพสต์
- กำหนดสถานะการแชร์
- เชื่อม Twitter กับ LinkedIn
- ลบสเตตัสที่เพิ่งแชร์
- ลบสเตตัสที่แชร์ไว้นานแล้ว
- ไลค์ คอมเมนต์ แชร์สเตตัสของผู้อื่น
- รับ-ส่งข้อความผ่าน LinkedIn
- อ่านข้อความที่ส่งมาถึง
- ตอบกลับข้อความ
- เขียนและส่งข้อความ
- แชร์เนื้อหา/บทความใน LinkedIn
บทที่ 6 เยี่ยมชมโพรไฟล์ดูข้อมูลของเพื่อนสมาชิก
นอกจากการติดตามความเคลื่อนไหวของสมาชิก LinkedIn ผ่านทางหน้า Home ที่จะคอยอัปเดตสเตตัสหรือความเคลื่อนไหวตลอดเวลาแล้ว เรายังสามารถเข้าไปดูหน้าโพรไฟล์ของสมาชิกที่สนใจโดยตรงได้ด้วย ในทางตรงกันข้าม ก็อาจจะมีผู้เข้ามาดูโพรไฟล์ของเราเหมือนกัน ต้องย้ำกันอีกทีว่าควรให้ความสำคัญกับการระบุข้อมูลในโพรไฟล์ให้มากๆ
- ดูข้อมูลต่างๆ ของเพื่อนร่วม Connections
- รับรองความสามารถของสมาชิก
- ดูกิจกรรมที่ผ่านมาของสมาชิกคนนั้น
- แนะนำสมาชิกให้กับเพื่อนใน Connections
- Export โพรไฟล์เป็น PDF
- Block หรือรายงานสมาชิก
- ยกเลิก Connections
บทที่ 7 การเข้าร่วมและสร้างกลุ่มใน LinkedIn
ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งใน LinkedIn ที่ให้เราสามารถสร้างสัมพันธ์กับสมาชิกในสังคมออนไลน์แห่งนี้ได้ด้วยการเข้าร่วมกลุ่ม ซึ่งกลุ่มต่างๆ ใน LinkedIn ส่วนใหญ่ ก็จะเป็นการรวมกลุ่มของคนที่สนใจในอาชีพและการทำงานแขนงต่างๆ กลุ่มที่มีให้เลือกก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก หรือคุณจะสร้างกลุ่มขึ้นมาเองก็ได้
- ค้นหาและเข้าร่วมกลุ่มที่สนใจ
- ค้นหากลุ่มที่ LinkedIn แนะนำ
- ค้นหากลุ่มด้วยการเสิร์ช
- ร่วมกลุ่มที่สมาชิกใน Connections เข้าร่วม
- ค้นหาด้วย Find a group
- ยกเลิกการร่วมกลุ่ม
- ส่วนต่างๆ ในหน้ากลุ่ม
- เปิดประเด็นสนทนากับสมาชิกในกลุ่ม
- แสดงความเห็นกับประเด็นของผู้อื่น
- ตั้งค่าการใช้งานกลุ่ม
- สร้างกลุ่มใหม่
- จัดการสิ่งใดๆ เกี่ยวกับกลุ่ม
- ยกเลิกกลุ่ม
บทที่ 8 ค้นหาและประกาศรับสมัครงานผ่าน LinkedIn
มาถึงการใช้งานที่ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักของ LinkedIn กันนั่นคือ การเป็นพื้นที่และช่องทางในการประกาศค้นหาบุคลากรสำหรับบริษัทหรือองค์กรต่างๆ และเป็นช่องทางค้นหาตำแหน่งหรือโอกาสดีๆ ของคนทำงาน โดยไม่ว่าจะหาคนทำงาน หรือตำแหน่งงานดีๆ ก็ตาม LinkedIn ก็สร้างเครื่องมือให้ใช้ตามวัตถุประสงค์นี้เอาไว้แล้ว
- ช่องทางและโอกาสได้งานผ่าน LinkedIn
- ดูข้อมูลงานที่ LinkedIn แนะนำ
- เสิร์ชหางานที่ต้องการ
- ค้นหางานตามเงื่อนไข
- บันทึกการรับสมัครงานที่สนใจ
- สมัครงานในตำแหน่งที่สนใจ
- ติดตามประกาศรับสมัครงานใน Timeline
- ตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับงาน
- ลงประกาศรับสมัครงาน
บทที่ 9 ตั้งค่า LinkedIn
ขณะที่ใช้ LinkedIn คงมีการใช้งานบางอย่างที่คุณรู้สึกว่าไม่เป็นอย่างที่ต้องการ หรือไม่สอดคล้องกับการใช้งาน นอกจากนี้ บางครั้งเราอาจจะต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางอย่าง เช่น อีเมลหรือรหัสผ่าน เราสามารถจัดการสิ่งเหล่านั้นได้ในส่วนของการตั้งค่า
- ไปยังการตั้งค่าของ LinkedIn
- เปลี่ยนอีเมลและรหัสผ่าน
- จะให้ใครเห็นโพรไฟล์เราแบบไหน
- ใครเห็น Connections เราได้บ้าง
- ยกเลิกการบล็อก
- ตั้งค่าการแจ้งเตือน
- จะรับข้อความจากใครและประเภทไหนบ้าง
- เปลี่ยนภาษาการใช้งาน
- ปิดแอ็กเคาต์
บทที่ 10 ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน
เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการใช้งาน LinkedIn จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ทำให้การใช้งานมีความสะดวกพอสมควร ใช้งานได้ง่าย และรองรับการใช้งานต่างๆ ของ LinkedIn อย่างครบถ้วน
- ดาวน์โหลดแอป LinkedIn
- ล็อกอินเข้าใช้งาน
- ดูความเคลื่อนไหวใน LinkedIn
- อัปเดตความเคลื่อนไหว
- ค้นหาสิ่งที่ต้องการ
- แก้ไขโพรไฟล์ของตัวเอง
- ค้นหาและเพิ่ม Connections
- ค้นหาเพื่อนที่อยู่ใน Connections
- ค้นหางานที่ลงประกาศใน LinkedIn
- ค้นหาและเข้าร่วมกลุ่ม
- เขียนและอ่านข้อความ
- ตรวจสอบการแจ้งเตือนความเคลื่อนไหว