Microsoft Project 2013 บริหารคน บริหารโครงการ ให้อยู่หมัด

ผู้เขียน: สุเทพ โลหณุต
ISBN: 978-616-7119-98-4
จำนวนหน้า: 320 หน้า
ขนาด: 17 x 24 x 1.6 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 225 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 200 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    ครบเครื่องบริหารโครงการ เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการใช้งานจริง อาทิ...
  • วิธีการจัดการโครงการ วางแผนงานอย่างเป็นระบบ
  • วิธีสร้างแบบจำลองสถานการณ์โครงการ เพื่อใช้ตรวจสอบแผนงานก่อนเกิดปัญหาจริง
  • วิธีค้นหาทางรอดของโครงการและแก้ไขความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจาก Critical Path และ Critical Task
  • วิธีรวมหลายๆ โครงการเข้าด้วยกัน และแทรกโครงการเล็กเข้าไปในโครงการใหญ่
  • วิธีทำรายงานให้แสดงบนหน้าจอด้วย Visual Report และปรับแต่งรายงานให้เหมาะกับองค์กร
  • พิเศษสุด... วิธีวิเคราะห์โครงการด้วย S-Curve เพื่อใช้ควบคุมและติดตามโครงการอย่างแม่นยำ พร้อมวิธีประยุกต์ใช้ MS-Excel และ MS-PowerPoint ร่วมกับ MS-Project

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง?

  • ผู้สนใจการใช้โปรแกรม MS-Project และต้องการพัฒนาขีดความสามารถการใช้โปรแกรมในระดับที่สูงขึ้น
  • ผู้ประกอบธุรกิจ SME, ผู้รับเหมา, ผู้บริหารโครงการ และผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการค้นหาเทคนิคการบริหารโครงการแบบใหม่

จะอ่านหนังสือเล่มนี้ ควรมีความรู้อะไรมาก่อนบ้าง?

  • การใช้งานระบบ Windows
  • การใช้งานโปรแกรม MS-Excel เวอร์ชันใดก็ได้
  • การใช้งานโปรแกรม MS-Project เวอร์ชันใดก็ได้

จะทดลองทำตามขั้นตอนที่อธิบายในหนังสือ ต้องมีอะไรบ้าง?

  • ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ขึ้นไป
  • โปรแกรม MS-Project 2013 เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่อิงกับเวอร์ชันนี้


บทที่ 1 ก่อร่างสร้างโครงการ

กว่าจะสร้างโครงการให้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องรู้จักการวางแผนการดำเนินงาน และการควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ บทนี้จะแนะนำว่าเราควรเริ่มต้นสร้างโครงการอย่างไรจึงจะมีโอกาสสำเร็จมากกว่าล้มเหลว

  • กว่าจะมาเป็นโครงการ
    • องค์ประกอบของโครงการ
    • การบริหารและจัดการโครงการ
    • คุณสมบัติที่ดีของโครงการ
    • แนวคิดการเกิดโครงการ
    • ประโยชน์ของการจัดทำโครงการ
  • วงจรชีวิตของโครงการ (Project Life Cycle)
  • ประสบการณ์การจัดทำโครงการ
  • ขั้นตอนการดำเนินแผนงาน
    • กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับ Project
    • การทำงานกับ Task
    • การทำงานกับ Resource
    • บันทึกความก้าวหน้า (Save baseline)
    • การติดตามงาน (Tracking) และแสดงรายงานตามต้องการ

บทที่ 2 แต่งองค์ทรงเครื่อง MS-Project

บทนี้จะแนะนำขีดความสามารถของ MS-Project รุ่นใหม่ รวมไปถึงส่วนประกอบของโปรแกรมและการปรับแต่งเครื่องมือก่อนการใช้งาน ซึ่งจะทำให้คุณเข้าใจรายละเอียดของโครงการมากขึ้นและได้รู้ว่าการบริหารโครงการไม่ใช่เรื่องยาก หากมีเครื่องมือที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่าง MS-Project

  • มีอะไรใหม่ใน MS-Project
    • รู้จัก MS-Project
    • ขีดความสามารถใหม่ใน MS-Project
  • แนะนำส่วนประกอบของ MS-Project
  • ชุดแท็บเมนูคำสั่งที่จำเป็นของ MS-Project
  • ชุดเครื่องมือลัด Quick Access Toolbar
    • เพิ่มการติดตั้งชุดคำสั่งใน Quick Access Toolbar
    • ถอนการติดตั้งชุดคำสั่งใน Quick Access Toolbar

บทที่ 3 เริ่มต้นโครงการด้วย MS-Project

การสร้างโครงการไม่ใช่เรื่องยาก เพียงรู้จักวิธีใช้เครื่องมือ MS-Project ให้เป็น ตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดโครงการ การสร้างโครงการจากแม่แบบ ตลอดจนการบันทึกไฟล์โครงการในรูปแบบ MS-Project (2007, 2010-2013) และจัดเก็บโครงการบนสกายไดรฟ์ (SkyDrive) เป็นต้น โครงการของคุณก็เกิดขึ้นได้แล้ว

  • ขั้นตอนการเปิดโครงการ
    • เงื่อนไขของแผนงาน
    • รายละเอียดการดำเนินแผนงาน
  • สร้างโครงการใหม่
    • สร้างโครงการใหม่ (Blank Project)
    • ปรับตั้งค่าเครื่องมือในโครงการ
    • บันทึกไฟล์โครงการ
  • สร้างโครงการด้วยแม่แบบออนไลน์ (Online Templates)
    • แม่แบบออนไลน์ การวางแผนพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ (New Business Plan)
    • แม่แบบออนไลน์ การจัดทำงบประมาณโครงการ (Create a budget)
    • แม่แบบออนไลน์ การจัดทำ Six Sigma DMAIC (Six Sigma DMAIC Cycle)
    • แม่แบบออนไลน์ การจัดทำงานก่อสร้าง (Commercial Construction)
  • เลือกใช้มุมมอง View Bar ให้เหมาะสมกับงานนำเสนอโครงการ
    • มุมมอง Calendar
    • มุมมอง Gantt Chart
    • มุมมอง Network Diagram
    • มุมมอง Task Usage
    • มุมมอง Tracking Gantt
    • มุมมอง Resource Graph
    • มุมมอง Resource Sheet
    • มุมมอง Resource Usage
  • ปรับแต่งรูปแบบการนำเสนอโครงการ
    • ติดตั้งชุดเครื่องมือ Gantt Chart Wizard ลงในแท็บเมนู
    • ปรับแต่งรูปแบบ Gantt Chart ด้วย Gantt Chart Wizard
    • ปรับแต่งรูปแบบแกนเวลา (Timescale) ของ Gantt Chart
  • บันทึกแฟ้มข้อมูลโครงการและจัดเก็บบนสกายไดรฟ์ (SkyDrive)

บทที่ 4 การสร้างและการจัดการโครงการขั้นพื้นฐาน

เรียนรู้การปรับแต่งโครงการให้เหมาะกับงานสำหรับองค์กร เช่น การสร้างปฏิทินให้เหมาะกับองค์กร, การแบ่งปันปฏิทินใช้ในโครงการอื่นๆ, การสร้างโครงการแบบกำหนดวันเริ่มต้น (Project Start Date), การสร้างโครงการแบบกำหนดวันสิ้นสุด (Project Finish Date), การกำหนดรูปแบบระยะเวลา และการใช้คำสั่งพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการจัดการโครงการ เป็นต้น

  • เปิดไฟล์โครงการสำหรับแก้ไขงาน
  • สร้างปฏิทินให้เหมาะกับองค์กร
    • กำหนดตารางเวลาทำงาน
    • กำหนดวันหยุดพิเศษ
    • กำหนดรูปแบบเงื่อนไขวันทำงาน (กรณีพิเศษ)
  • แบ่งปันปฏิทินใช้งานร่วมกับไฟล์โครงการอื่น (Organizer)
  • สร้างโครงการแบบกำหนดวันเริ่มต้น (Project Start Date)
  • สร้างโครงการแบบกำหนดวันสิ้นสุด (Project Finish Date)
  • กำหนดโหมดงานแบบ Manual Scheduled และ Auto Scheduled
  • กำหนดระยะเวลา
  • กำหนดจุดความก้าวหน้าของโครงการ (Milestone)
    • วิธีสร้าง Milestone
    • วิธีสร้าง Milestone ที่มีค่ามากกว่าศูนย์
  • เลื่อนงานส่วนที่เหลือ (Split Task)
  • เขียนโน้ตงาน (Notes)
  • ลบโน้ตงาน
  • คัดลอกข้อมูล (Fill Down)
  • คัดลอกงาน (Copy Task)
  • ย้ายงาน (Cut Task)
  • แทรกงานใหม่ (Insert Task)
  • ลบงาน (Delete Task)
  • ยกเลิกงานชั่วคราว (Inactivate)
  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อความ (Text Styles)
  • เพิ่มคอลัมน์ใน Task Sheet
  • ซ่อนคอลัมน์ใน Task Sheet

บทที่ 5 งานหลัก งานย่อย ต้องเด่นชัด

เรียนรู้การจัดรูปแบบการนำเสนองานในโครงการให้เข้าใจง่าย โดยแบ่งงานหลักและงานย่อยออกจากกันให้ชัดเจน เช่น วิธีกำหนดงานที่ต้องทำเป็นประจำ (Recurring Task), การปรับเปลี่ยนสถานะของงานหลักและงานย่อย รวมถึงการแสดงหรือซ่อนงานในรูปแบบ Summary Tasks และ Sub Tasks เป็นต้น

  • กำหนดงานที่ต้องทำประจำ (Recurring Task)
  • กำหนดงานหลัก งานย่อยในโครงการ
  • แสดงหรือซ่อนงานย่อย (Sub Tasks)
  • แทรกงานย่อย
  • ลบงานย่อย
  • แสดงหรือซ่อนงาน (Project Summary Task)
  • กำหนดเลขรายการหลักและรายการย่อย (Outline Numbers)

บทที่ 6 จัดการความสัมพันธ์ของงาน (Link)

โครงการที่ดีต้องมีลำดับการนำเสนองานที่ชัดเจน สิ่งที่จะบอกเราว่าเมื่อจบงานนี้แล้ว เราต้องทำอะไรต่อไป เรียกว่า “ความสัมพันธ์ของงาน” (Link) ดังนั้นงานจะเสร็จเร็วหรือล่าช้าก็ขึ้นอยู่กับการจัดการในส่วนนี้ บทนี้จะกล่าวถึงชนิดความสัมพันธ์ของงาน การกำหนด Lead Time และ Lag Time รวมถึงการประยุกต์ใช้ Roll up View เป็นต้น

  • คำสำคัญที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของงาน
  • กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ของงาน
    • FS (Finish-to-Start)
    • FF (Finish-to-Finish)
    • SS (Start-to-Start)
    • SF (Start-to-Finish)
  • กำหนดวิธีสร้างเส้นความสัมพันธ์
    • สร้างเส้นความสัมพันธ์ทีละรายการผ่าน Predecessors
    • สร้างเส้นความสัมพันธ์ทีละหลายรายการผ่าน Predecessors
    • สร้างเส้นความสัมพันธ์ด้วยวิธีลากเมาส์
    • สร้างเส้นความสัมพันธ์ผ่านหน้าต่าง Task Information
  • งานเสร็จเร็วหรือช้ากำหนดได้ด้วย Lead Time และ Lag Time
    • เลื่อนเวลาเข้า (Lead Time)
    • เลื่อนเวลาออก (Lag Time)
  • รวมงานหลักและงานย่อยด้วย Roll up Gantt bars
  • ยกเลิกการใช้ Roll up Gantt bars
  • สรุปตารางงานที่กำหนดรายละเอียดของแผนงาน

บทที่ 7 เงื่อนไขดีโครงการไปได้สวย

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องจัดทำโครงการ นอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดลำดับงานที่ดีแล้ว การมีเงื่อนไขและข้อต่อรองที่ดีก็จะส่งผลดีกับงานในโครงการของคุณ จนทำให้งานลุล่วงตามวัตถุประสงค์ บทนี้คุณจะได้เรียนรู้การใช้ Task Constraint และการแบ่งกลุ่มงานจากเงื่อนไขเดียวและหลายเงื่อนไข

  • ประเภทเงื่อนไขของงาน (Task Constraint)
  • กำหนด Task Constraint ลงในไฟล์โครงการ
  • ยกเลิกการกำหนด Task Constraint ในไฟล์โครงการ
  • กำหนดเงื่อนไขการแบ่งกลุ่มงาน
    • การแบ่งกลุ่มงานแบบเงื่อนไขเดียว
    • การแบ่งกลุ่มงานแบบหลายเงื่อนไข
    • ยกเลิกการแบ่งกลุ่มงานแบบหลายเงื่อนไข
  • รวมมิตรกลุ่มงานที่ควรรู้จัก

บทที่ 8 จัดสรรทรัพยากรและต้นทุน

“งานไม่เดิน เพราะเงินไม่มี” คำกล่าวนี้ดูจะเหมาะสมกับบทนี้อย่างที่สุด เพราะบทนี้จะบอกวิธีควบคุมต้นทุน, ทรัพยากร และค่าใช้จ่าย การจัดสรรทรัพยากรให้กับงาน (Task) ในโครงการ รวมถึงการตรวจสอบการใช้งานทรัพยากร

  • ทรัพยากรและต้นทุนคืออะไร
  • กำหนดรายการทรัพยากรในโครงการ
  • สร้างคลังทรัพยากร (Resource Pool)
  • จัดสรรทรัพยากรให้กับงาน (Task) ในโครงการ
  • ตรวจสอบการใช้งานทรัพยากร
    • เรียกดูปริมาณการใช้ทรัพยากร
    • ตรวจดูรายชื่อทรัพยากรที่ใช้งานเกินขีดจำกัด
    • ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การใช้ทรัพยากรแต่ละชนิด

บทที่ 9 วิธีแก้ไขปัญหาทรัพยากรไม่เพียงพอในโครงการ

หลังจากได้เรียนรู้การจัดสรรทรัพยากรให้กับงานแล้ว นั่นอาจยังไม่เพียงพอต่อการใช้งานในโครงการ บทนี้จึงรวบรวมเทคนิคการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรในโครงการด้วยการใช้เครื่องมือ Resource Usage และ Resource Graph รวมถึงวิธีการปรับเปลี่ยนแผนงานในโครงการ

  • ตรวจชั่วโมงการใช้งานของทรัพยากรด้วย Resource Usage
  • ตรวจการใช้งานทรัพยากรเกินขีดจำกัดด้วย Resource Graph
  • ปรับแต่งหน้าต่างแบบ 2 in 1
  • แก้ไขปัญหาจากวิธีการทำงานและการปรับแผนงาน
    • l ปรับเปลี่ยนวันสิ้นสุดแผนงาน
    • l เพิ่มแรงงานทรัพยากร
    • l ปรับเปลี่ยนชนิดทรัพยากร
    • l ปรับเปลี่ยนจำนวนชั่วโมงทำงานนอกเวลา (Overtime)
    • l แก้ไขปัญหาอย่างผู้เชี่ยวชาญด้วย Inspect
    • l จัดสรรทรัพยากรแบบอัตโนมัติด้วย Level Resource

บทที่ 10 ค้นหาทางรอดให้โครงการ (Critical Path)

งานจะเสร็จเร็วหรือเสร็จช้าล้วนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ระยะเวลา, การเพิ่มแรงงาน, การเพิ่มทรัพยากร เป็นต้น แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดหากงานเสร็จล่าช้าคงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ บทนี้จะบอกวิธีแก้ไขปัญหางานล่าช้าด้วยการแก้ไขเส้นทางวิกฤต (Critical Path) และงานวิกฤต (Critical Tasks) รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

  • รู้จักงานวิกฤต (Critical Tasks) และเส้นทางวิกฤต (Critical Path)
  • เคล็ดไม่ลับการป้องกันงานวิกฤต
  • จัดรูปแบบการแสดงผลของงานวิกฤต
  • รวมวิธีแก้ไขปัญหางานวิกฤต
    • แก้ไขงานวิกฤตด้วยการตั้งค่าระยะเวลาลอยตัวในโครงการ
    • เพิ่มจำนวนคนเพื่อแก้งานวิกฤต
    • เพิ่มระยะเวลาลอยตัว (Slack Time)
    • ปรับงานแบบขั้นบันได (Laddering)
    • เพิ่มจำนวนชั่วโมงทำงานนอกเวลา (Overtime)
    • ตีงานใหญ่แตกงานย่อย (Splitting a task)
  • เคล็ดไม่ลับการจัดการความเสี่ยง
    • ประเมินความเสี่ยง
    • ติดตามความคืบหน้า

บทที่ 11 กำหนดความคืบหน้าของงานและการประเมินผล

เรียนรู้การติดตามความคืบหน้าของงานด้วย Baseline รวมถึงวิธีบันทึกความก้าวหน้าโครงการด้วย % Complete และวิธีการประเมินผลผ่าน Progress Lines, Interim Plan เพื่อให้การจัดทำโครงการของคุณถูกต้องแม่นยำ

  • ประโยชน์ของการติดตามโครงการ
  • ประโยชน์ของการประเมินผล
  • บันทึกและตรวจสอบความคืบหน้าด้วย Baseline
  • กำหนด Status Date
  • กำหนดความคืบหน้าของงาน
  • กำหนดความคืบหน้าของทรัพยากรด้วย Resource Usage
  • ตรวจสอบและกำหนดค่าความคืบหน้าของงานในแต่ละวัน
  • ตรวจสอบและกำหนดค่าความคืบหน้าของโครงการ
  • บันทึกความก้าวหน้าโครงการด้วย % Complete
  • ตรวจสอบความก้าวหน้าหรือล่าช้าของงานด้วยการกำหนด Progress Lines
  • การอ่านเส้น Progress Lines สำหรับวิเคราะห์งาน
  • การลบเส้น Progress Lines
  • เปรียบเทียบแผนงานด้วยการกำหนด Interim Plan
  • แสดงภาพรวมของโครงการด้วย Project Statistic
  • กำหนดการปรับเลื่อนงาน

บทที่ 12 เคล็ดไม่ลับการควบคุมค่าใช้จ่ายในโครงการ

กว่าโครงการหนึ่งจะผลิดอกออกผลแห่งความสำเร็จได้ ค่าใช้จ่ายถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งานนั้นสำเร็จหรือล้มเหลว บทนี้จึงรวบรวมเคล็ดไม่ลับการควบคุมค่าใช้จ่ายในโครงการ เช่น การตรวจสอบตารางค่าใช้จ่ายของงานและทรัพยากร, ค่าใช้จ่ายโดยรวม และเทคนิคการปรับค่าใช้จ่ายให้ตรงกับงานที่ทำจริงในโครงการ เป็นต้น

  • วิธีตรวจสอบค่าใช้จ่ายในโครงการ
    • กำหนดการตรวจสอบค่าใช้จ่ายในโครงการ
    • กำหนดการตรวจสอบค่าใช้จ่ายของทรัพยากรต่องาน
    • ยกเลิกการแสดงผลการจัดกลุ่มทรัพยากร
    • กำหนดการตรวจสอบค่าใช้จ่ายของทรัพยากรด้วยกราฟ
  • วิเคราะห์การเงินจากมูลค่าเงินที่ทำได้จริง (Earned Value)
    • ศัพท์เฉพาะของ Earned Value ที่ไม่รู้ไม่ได้
    • เคล็ดไม่ลับการอ่านค่าวิเคราะห์ Earned Value
  • วิธีตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีและการเงินด้วย Earned Value
  • เคล็ดไม่ลับการปรับค่าใช้จ่ายให้ตรงกับความเป็นจริง
  • จัดทำข้อมูลสำหรับนำเสนอรายงานทางการเงินด้วย MS-Excel
    • สร้างแผนภูมิสำหรับนำเสนอข้อมูลด้วย MS-Excel
    • สร้าง PivotTable สำหรับนำเสนอข้อมูลด้วย MS-Excel

บทที่ 13 การปรับแต่งรายงานให้เหมาะกับองค์กร

หลังจากที่ได้ออกแบบโครงการจนมาถึงขั้นตอนติดตามความก้าวหน้าของงานแล้ว ต่อไปจะเข้าสู่เรื่องของการรวบรวมวิธีการสร้างรายงาน ไม่ว่าจะเป็นรายงานที่แสดงผลบนหน้าจออย่าง Visual Reports หรือแสดงรายงานแบบพร้อมพิมพ์ด้วย Report แต่สิ่งสำคัญที่คุณต้องตระหนัก คือ ต้องปรับแต่งรายงานนั้นให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงในองค์กรของคุณด้วย

  • แสดงรายงานแบบพร้อมพิมพ์ด้วย Report
  • การออกแบบและสร้างรายงานใหม่
  • แสดงรายงานบนหน้าจอด้วย Visual Reports
  • แสดงรายละเอียดข้อมูลแบบเจาะลึกด้วย PivotTable

บทที่ 14 การจัดทำโครงการหลายโครงการแบบมืออาชีพ

บทนี้จะบอกวิธีการนำโครงการหลายโครงการมารวมกัน เนื่องจากงานในโครงการเหล่านั้นมีทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันได้ การนำโครงการมารวมกันจะช่วยให้ผู้จัดทำโครงการติดตามเนื้อหาได้สะดวก ทำให้ดูแลโครงการได้ง่ายขึ้นด้วย นอกจากนี้จะบอกวิธีแทรกโครงการเล็กเข้าไปในโครงการใหญ่และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

  • วิธีรวมโครงการเข้าด้วยกัน
  • วิธีแทรกโครงการเล็กเข้าไปในโครงการใหญ่
  • กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างโครงการ
  • การแบ่งปันทรัพยากร
  • ยกเลิกการแบ่งปันทรัพยากร

บทที่ 15 การนำ Microsoft Project มาใช้งานร่วมกับ Office 365

โครงการที่สร้างด้วย MS-Project สามารถนำข้อมูลที่ทำเสร็จแล้วไปใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ เพื่อประกอบการนำเสนองานในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้ร่วมกับ MS-Excel หรือใช้ร่วมกับ MS-PowerPoint ได้ ดังนั้นบทนี้จะนำเสนอวิธีการใช้งาน MS-Project ร่วมกับ MS-Office และการนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับ Office 365

  • Office 365 ของดีที่ต้องลอง
  • วิธีนำข้อมูลจาก MS-Project ไปใช้งานใน MS-Excel
  • วิธีนำข้อมูลจาก MS-Excel ไปใช้งานใน MS-Project
  • วิธีนำสไลด์จาก MS-PowerPoint ไปใช้งานใน MS-Project

บทที่ 16 การวิเคราะห์โครงการแบบมืออาชีพด้วย S-Curve

การเปรียบเทียบผลความสำเร็จของแผนงานด้วย Baseline และการตรวจสอบความล่าช้าของแผนงานด้วย Progress Lines คุณคิดว่าแค่นั้นเพียงพอหรือไม่ แล้วคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการคำนวณนั้นถูกต้องแม่นยำ ไม่คลาดเคลื่อน อีกหนึ่งเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพนามว่า “S-Curve” สามารถแก้ปัญหาและให้คำตอบคุณได้

  • วางแผนงาน กำหนดระยะเวลา และความสัมพันธ์ของงาน
  • วางแผนการใช้ทรัพยากร
  • การมอบหมายทรัพยากรให้กับงาน
  • ติดตามความคืบหน้าของงาน
  • เตรียมพร้อมก่อนการประเมินด้วย Tracking Gantt
  • ทบทวนค่าตัวแปรที่ใช้วิเคราะห์
  • กำหนดสถานะประเมินโครงการ
  • เตรียมข้อมูลก่อนการสร้างเส้น S-Curve
  • การสร้าง S-Curve และการนำเสนอรายงาน
  • บทวิเคราะห์การอ่านกราฟ S-Curve