สารพัดวิธีต่อ LAN ทั่วบ้านและโฮมออฟฟิศ

ผู้เขียน: คมชาติ สู้ณรงค์
ISBN: 978-616-7119-91-5
จำนวนหน้า: 368 หน้า
ขนาด: 17 x 22 x 1.85 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 225 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 200 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    รองรับการทำงานตั้งแต่ Windows รุ่นก่อนๆ จนถึง Windows 8
  • ต่อ LAN แบบใช้สาย, แบบไร้สาย (Wi-Fi), แบบผ่านสายไฟฟ้า (HomePlug), ต่อไฮสปีดอินเทอร์เน็ต 3G
  • แชร์ไฟล์งาน/หนัง/เพลง/เกม ทั้ง Windows, Linux, Mac OS, Android, iOS, Windows Phone, Media Player, PS3, XBOX ฯลฯ
  • เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์, สมาร์ตโฟน, แท็บเล็ต, เครื่องเล่นเพื่อความบันเทิง และอุปกรณ์ทุกชนิด ทุกแพลตฟอร์ม

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อเครือข่าย เพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในบ้านหรือสำนักงานได้อย่างสะดวกคล่องตัว
  • ผู้ที่ต้องทำงานกับระบบปฏิบัติการหลายรูปแบบร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น Windows, Linux, Mac OS เป็นต้น
  • ผู้ที่ต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ตพีซี, สมาร์ตโฟน, พรินเตอร์, สแกนเนอร์ ฯลฯ ผ่านระบบเครือข่ายและ Wi-Fi เพื่อให้เชื่อมโยงถึงกันได้สะดวก

ควรรู้อะไรมาบ้าง ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้

  • ใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้
  • มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

จะทดลองทำตามขั้นตอนในหนังสือเล่มนี้ต้องมีอะไรบ้าง

  • คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
  • มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Hi Speed Internet (ADSL) และ Wi-Fi
  • มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป สำหรับการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงอุปกรณ์สำนักงานอื่นๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่าย


บทที่ 1 ระบบเครือข่ายเบื้องต้น

ระบบเครือข่ายเกิดจากการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยมีซอฟต์แวร์ควบคุมระบบการทำงานให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลหากันได้ การทำความเข้าใจกับระบบการทำงานพื้นฐานของเครือข่ายจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น นำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ได้ดีขึ้น และยังเป็นพื้นฐานในการศึกษาระบบเครือข่ายขั้นสูงขึ้นได้อีกด้วย เอาล่ะ เรามาทำความรู้จักกับหลักการเบื้องต้นของระบบเครือข่ายกันก่อน เพื่อจะได้มีความเข้าใจในระบบและเป็นพื้นฐานในการทำงานตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

  • ระบบเครือข่ายคืออะไร?
  • รูปแบบของระบบเครือข่าย
  • ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย หรือไวร์เลส (Wireless Network System)
  • TCP/IP โพรโตคอลสำหรับระบบเครือข่าย
  • บริดจ์ เราเตอร์ และโมเด็ม (Bridge, Router and Modem)
    • บริดจ์ (Bridge)
    • เราเตอร์ (Router)
    • โมเด็ม (Modem)
  • Wi-Fi และเครือข่าย

บทที่ 2 เลือกอุปกรณ์และวางระบบเครือข่าย

บทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานในระบบเครือข่าย เพื่อที่เราจะสามารถเลือกซื้อมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการที่จะวางระบบเครือข่ายเพื่อใช้งานได้ตามความต้องการ ในเบื้องต้นต้องสำรวจอุปกรณ์ที่เรามีอยู่เสียก่อน เพื่อให้ทราบว่าจะต้องใช้อุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง เมื่อเราเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมจะทำให้สามารถทำงานได้สะดวก ตรงตามความต้องการ ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถวางระบบและดูแลรักษาได้ง่าย รวมไปถึงการวางแผนเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ด้วย

  • คอมพิวเตอร์สำหรับระบบเครือข่าย
  • แลนการ์ด (Lan Card)
    • แลนการ์ดแบบใช้สาย
    • การ์ดแลนไร้สาย
  • สายแลน
  • ฮับ (HUB) และสวิตช์ (Switch)
  • เราเตอร์ (Router) และโมเด็ม (Modem)
  • เลือกซื้อเราเตอร์
  • คุณสมบัติพื้นฐานเราเตอร์
  • แอร์การ์ด (Aircard)
  • เครือข่าย 3G
  • วางแผนสร้างระบบเครือข่าย
    • เราเตอร์
    • สายแลน
    • เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

บทที่ 3 ติดตั้งระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต

การติดตั้งระบบเครือข่ายและเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตนั้น เมื่อเราติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับคอมพิวเตอร์แล้ว จะต้องตั้งค่าเราเตอร์เพื่อเป็นแกนหลักในการควบคุมระบบเครือข่ายภายในทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อผ่านสายและไร้สาย พร้อมทั้งเป็นตัวกลางเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ เช่น ADSL หรือ 3G เป็นต้น

  • วางตำแหน่งที่ตั้งเราเตอร์
  • ติดตั้งแลนการ์ด
  • ตั้งค่าเราเตอร์
  • ตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL
  • เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย 3G/GPRS/CDMA
  • ตั้งค่าไอพีแอดเดรสของเราเตอร์
  • เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตด้วยการใช้การเชื่อมต่อ ADSL สองสาย
  • HomePlug - Powerline อนาคตของระบบเครือข่ายในบ้าน
    • รูปแบบการทำงานของ HomePlug กับระบบเครือข่าย
    • อุปกรณ์ที่ทำงานตามมาตรฐาน HomePlug
  • จุดเด่นของการเชื่อมต่อผ่านสายไฟฟ้าของ HomePlug
  • จุดด้อยของการเชื่อมต่อแบบ HomePlug

บทที่ 4 เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายและ Wi-Fi

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายผ่านทางเราเตอร์จะมีการทำงานโดยใช้ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address) เป็นหลัก สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายระดับ มีหลักการทำงานและตั้งค่าเหมือนกันทั้งระบบการเชื่อมต่อแบบใช้สายและไร้สายซึ่งสามารถทำงานร่วมกันได้ เพียงแต่มีโปรแกรมควบคุมการเชื่อมต่อแตกต่างกันนิดหน่อยเท่านั้น

  • เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายใน Windows XP/2000
  • ตั้งค่าไอพีแอดเดรสให้เครื่องเองก็ได้
  • เชื่อมต่อแลนการ์ดไร้สาย (Wireless/Wi-Fi) ใน Windows XP/2000
  • เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายใน Windows Vista/7/8
  • เชื่อมต่อด้วยแลนการ์ดไร้สายหรือ Wi-Fi
  • เรียกใช้ Control Panel ใน Windows 8
  • บทที่ 5 แชร์ไฟล์ในระบบเครือข่าย

    การแชร์ข้อมูลในระบบเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันสามารถเข้ามาใช้ข้อมูลในเครื่องของเราได้ ทำได้โดยกำหนดค่าการแชร์ให้กับโฟลเดอร์ที่เก็บข้อมูล และยังสามารถตั้งค่าให้ใช้งานข้อมูลได้หลายรูปแบบ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมไปถึงการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการที่นอกเหนือจาก Windows และอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านทางเครือข่ายได้ด้วย

    • ตั้งค่า Workgroup
      • ตั้งค่า Workgroup ใน Windows XP/2000
      • ตั้งค่า Workgroup ใน Windows Vista/7/8
    • ข้อควรจำเบื้องต้นสำหรับการแชร์ไฟล์ในระบบเครือข่าย
    • ข้อระวังในการแชร์ข้อมูล
    • แชร์ไฟล์ใน Windows XP/2000
    • แชร์ไฟล์ใน Windows Vista/7/8
    • เรียกใช้ไฟล์ในระบบเครือข่าย
    • Map Network Drive เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
      • Windows XP/2000
      • Windows Vista/7
    • ยกเลิกการใช้งาน Map ไดรฟ์
    • Map Network Drive ใน Windows 8

    บทที่ 6 แชร์พรินเตอร์ และสแกนเนอร์ในระบบเครือข่าย

    ไม่ว่าคุณจะใช้ Windows รุ่นไหน คุณก็สามารถใช้งานพรินเตอร์และเครื่องสแกนเนอร์ร่วมกันผ่านทางระบบเครือข่ายได้ โดยไม่ต้องถอดสายไปต่อเข้ากับเครื่องอื่นให้ยุ่งยากเหมือนที่เคยทำมา เพียงแค่ทำความเข้าใจกับระบบการทำงานผ่านระบบเครือข่ายและตั้งค่าการทำงานให้ถูกต้องเท่านั้นเอง

    • ตั้งค่าแชร์พรินเตอร์
      • แชร์พรินเตอร์ ใน Windows XP/2000
      • แชร์พรินเตอร์ใน Windows Vista/7/8
    • ติดตั้งพรินเตอร์ในระบบเครือข่าย
    • ตรวจสอบการแชร์พรินเตอร์
    • แชร์เครื่องสแกนเนอร์
    • ลงโปรแกรม BlindScanner ในโหมด Client
    • ทดสอบการใช้งานโปรแกรมสแกนภาพ
    • สแกนงานใน Photoshop

    บทที่ 7 แชร์ไฟล์บน Linux และ Unix

    ระบบปฏิบัติการ Linux และ Unix สามารถแชร์ข้อมูลใช้งานร่วมกับ Windows ได้โดยผ่าน Samba ซึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ให้บริการในการแชร์ข้อมูลในระบบเครือข่ายร่วมกับ Windows ในการตั้งค่าแชร์ข้อมูลนั้นมีโปรแกรมสำหรับใช้งานหลายรูปแบบ ยิ่งถ้าเรามีความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Shell ก็จะทำให้มีความเข้าใจระบบและทำงานได้ง่ายขึ้น

    • รู้จักระบบปฏิบัติการ
    • รู้จักยูนิกซ์ (Unix)
    • ลีนุกซ์ (Linux)
    • ลีนุกซ์เชลล์ (Linux Shell)
      • เรียกใช้งานเชลล์ในลีนุกซ์
      • คำสั่ง cd
      • คำสั่ง man
      • คำสั่ง su
    • ตรวจสอบค่าไอพีแอดเดรส
    • ปิดการทำงานของการ์ดแลน
    • เปิดใช้งานการ์ดแลน
    • ตั้งค่าไอพีแอดเดรส
    • ตั้งค่าไอพีแอดเดรสโดยใช้โปรแกรมใน X Windows
    • ตั้งค่าไอพีแอดเดรสให้กับการ์ดแลนไร้สาย (Wi-Fi)
    • แชร์ข้อมูลในลีนุกซ์
      • การติดตั้ง Samba
      • ตั้งค่า Samba ผ่านเชลล์
      • ตั้งค่าแชร์ข้อมูล
      • ตั้งค่า Samba ด้วย Samba Web Administrator Tools
      • ตั้งค่าแชร์ข้อมูลด้วย Nautilus Share
    • เรียกใช้ข้อมูลจาก Windows ในลีนุกซ์
    • เรียกใช้ข้อมูลจากลีนุกซ์ใน Windows

    บทที่ 8 แชร์พรินเตอร์ บน Linux และ Unix

    Linux และ Unix สามารถแชร์พรินเตอร์เพื่อใช้งานร่วมกับ Windows ได้โดยผ่าน CUPS และ Samba ซึ่งมีพื้นฐานการใช้งานอย่างเดียวกัน เราสามารถเลือกใช้โปรแกรมตั้งค่าการแชร์ให้สะดวกในการทำงานได้หลายรูปแบบทำนองเดียวกับการแชร์ข้อมูล เอาล่ะ อย่ารอช้าไปดูวิธีการกันเลยดีกว่า

    • แชร์พรินเตอร์ในลีนุกซ์
    • เรียกใช้พรินเตอร์ที่แชร์จาก Windows ในลีนุกซ์
    • เรียกใช้พรินเตอร์ที่แชร์จากลีนุกซ์ใน Windows

    บทที่ 9 แชร์ไฟล์และพรินเตอร์บน Mac OS X

    เครื่อง Macintosh ของบริษัท Apple Inc. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มีระบบปฏิบัติการเป็นของตนเอง นั่นก็คือ Mac OS ซึ่งเป็นระบบปฎิบัติการสายพันธุ์ Unix ชนิดหนึ่ง การใช้งานในระบบเครือข่ายจึงมีความคล้ายคลึงกับระบบ Unix แต่ก็ได้มีการพัฒนาให้มีรูปแบบการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ในบทนี้ เราจะมาดูกันว่าจะตั้งค่า Mac OS ให้ใช้งานกับระบบเครือข่ายได้อย่างไร

    • Mac OS X
    • ตั้งค่าไอพีแอดเดรส
    • ตั้งค่าแชร์ไฟล์
    • ใช้งานไฟล์ในระบบเครือข่าย
    • ตั้งค่าแชร์พรินเตอร์
    • เรียกใช้งานพรินเตอร์บนเครือข่าย

    บทที่ 10 เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ เข้ากับระบบเครือข่าย

    Smart Phone, Tablet PC, Media Player ตลอดถึงเครื่องเล่นเกมอย่าง Xbox และ PlayStation เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเพื่อใช้งานในระบบเครือข่ายได้ แต่อุปกรณ์แต่ละชนิดถูกออกแบบขึ้นมาใช้งานเฉพาะอย่างย่อมมีขีดจำกัดในการใช้งานตามที่ถูกออกแบบพัฒนามา เรามาดูกันว่าจะปรับใช้เครื่องมือแต่ละอย่างกับระบบเครือข่ายได้อย่างไร

    • เชื่อมต่อ Smart Phone และ Tablet PC เข้ากับเครือข่าย
    • Android จาก Google
    • Symbian จาก Nokia
    • iOS จาก Apple.Inc
    • Blackberry จาก RIM
    • Windows Phone 7 จาก Microsoft
    • เชื่อมต่ออุปกรณ์ Media Player เข้ากับเครือข่าย
    • เชื่อมต่อ Xbox 360 เข้ากับเครือข่าย
    • เชื่อมต่อ PS3 เข้ากับเครือข่าย
    • สรุปภาพรวมการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับระบบเครือข่าย

    บทที่ 11 รักษาความปลอดภัยเบื้องต้นบนระบบเครือข่าย

    การรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย ช่วยในการปกป้องระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยจากการโดยโจมตีโดยไวรัสและบุคคลที่ไม่ประสงค์ดี นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสร้างความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วย

    • ตั้งค่าระบบความปลอดภัยโดยการตั้งค่าเราเตอร์
      • เปลี่ยนรหัสผ่านของเราเตอร์
      • เปลี่ยนไอพีแอดเดรสของเราเตอร์และปิดการใช้งาน DHCP
      • เปลี่ยนชื่อ Access Point (SSID)
      • ซ่อน Access Point
      • ตั้งรหัสผ่านให้กับ Access Point
      • ปิด Access Point หรือจะถอดเสาอากาศซะเลยก็ได้
    • ตั้งรหัสผ่านให้คอมพิวเตอร์
    • ตั้งรหัสผ่านให้ข้อมูลที่แชร์ไว้
    • ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
    • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมสแกนไวรัส
    • บล็อกเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์
    • Firewall จำเป็นแค่ไหน?
    • รักษาความปลอดภัยพื้นฐาน สิ่งที่คนส่วนมากมักจะมองข้าม

    บทที่ 12 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย

    สำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานที่เกี่ยวกับความขัดข้องของระบบจะไม่ค่อยสลับซับซ้อนมาก เราเพียงแต่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบตรวจดูการเชื่อมต่ออุปกรณ์และการตั้งค่าต่างๆ ให้ถูกต้องก็จะสามารถแก้ไขได้โดยง่าย ในบทนี้ จะแนะนำแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในการทำงานกับระบบเครือข่ายกันครับ

    • ปัญหาในระบบเครือข่าย
      • ปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์
      • ปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์
    • แก้ไขปัญหาที่พบบ่อยในระบบเครือข่าย
      • เชื่อมต่อเครื่องเข้ากับระบบเครือข่ายไม่ได้
      • เชื่อมต่อเครื่องเข้ากับระบบเครือข่ายได้ แต่เข้าอินเทอร์เน็ตไม่ได้
      • เชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายได้แล้ว แต่มองไม่เห็นเครื่องอื่นในวงแลน
      • แชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ไว้แต่เครื่องอื่นมองไม่เห็น
      • ตั้งค่าเครื่องพิมพ์ได้แล้ว แต่พิมพ์ไม่ได้
      • เปิดข้อมูลในระบบเครือข่ายแล้ว บันทึกหรือแก้ไขไม่ได้