ตัดต่อวิดีโอและเสียง ด้วย Sony Vegas Pro

ผู้เขียน: ธีรกฤษณ์ วิจิตลิมาภรณ์
ISBN: 978-616-7119-75-5
จำนวนหน้า: 286 หน้า
ขนาด: 17 x 22 x 1.3 ซม.
รูปแบบหนังสือ: พิมพ์ 4 สี
แถม DVD

ราคาปก: 229 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 205 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    ตัดต่อวิดีโอด้วย Vegas อย่างเดียวก็ได้ หรือจะใช้ Sound Forge ตัดต่อเสียงด้วยก็ไม่มีปัญหา
  • แนะนำคุณสมบัติใหม่ของเวอร์ชันล่าสุดที่มีมากกว่าเวอร์ชันเดิม
  • ปูพื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้นแบบง่ายๆ จนถึงการปรับแต่งให้ตรงตามความต้องการ
  • ใช้เครื่องมือทุกอย่างได้ไม่ยาก เช่น ใส่ข้อความ, ซ้อนภาพวิดีโอ ฯลฯ
  • สร้างเอฟเฟกต์พิเศษด้วย HitFilm 2 Ultimate
  • ตัดต่อเสียงขั้นเทพกับ Sony Sound Forge Pro
  • ทำเมนู DVD แบบไม่เหมือนใคร พร้อมเขียนลงแผ่นด้วย Sony DVD Architect Pro

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้สนใจเรียนรู้การตัดต่อวิดีโอและปรับแต่งเอฟเฟกต์เสียงด้วยตนเอง
  • ผู้ที่ต้องการศึกษาทำงานของโปรแกรม Sony Vegas Pro และโปรแกรมประกอบอื่นๆ อย่าง HitFilm 2 Ultimate, Sony Sound Forge Pro และ Sony DVD Architect Pro

ควรรู้อะไรมาก่อนบ้าง ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้

  • ใช้คอมพิวเตอร์เป็น
  • มีความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานทั่วไปบ้างก็พอ

ต้องมีอะไรบ้าง เพื่อทดลองใช้งานตามที่อธิบายในหนังสือเล่มนี้

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบปฏิบัติการ Windows
  • โปรแกรมหลัก 4 โปรแกรมซึ่งมีอยู่ในแผ่นดีวีดีที่มาพร้อมหนังสือ ซึ่งได้แก่ Sony Vegas Pro 12, HitFilm 2 Ultimate, Sony Sound Forge Pro 10 และ Sony DVD Architect Pro 6
  • ระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (กรณีต้องการดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ มาใช้งานเอง, การแชร์วิดีโอไปยังบริการ ACIDplanet.com หรือเว็บไซต์ YouTube)


บทนำ มีอะไรในแผ่นดีวีดีที่มาพร้อมกับหนังสือ

Part 1: ฮัลโหล Sony Vegas Pro

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นในการตัดต่อวิดีโอ

ก่อนจะเริ่มลงมือตัดต่อวิดีโอ ขอเริ่มที่พื้นฐานคร่าวๆ ของการตัดต่อวิดีโอกันก่อน ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการวางแผนในการถ่ายทำวิดีโอ การเตรียมอุปกรณ์ สถานที่ เครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกภาพวิดีโอ มีเดียต่างๆ ที่ใช้บันทึกไฟล์วิดีโอที่ได้จากการถ่ายทำวิดีโอ แล้วไปรู้จักเครื่องมือที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอว่ามีให้เลือกใช้งานกันอยู่กี่โปรแกรม พร้อมโปรแกรมเสริมอื่นๆ ที่น่าสนใจ

  • ประโยชน์ของการถ่ายวิดีโอ
  • ขั้นตอนการสร้างวิดีโอ
    • เขียน Storyboard
    • จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ
    • การตัดต่อวิดีโอ
    • ใส่เอฟเฟกต์, ใส่ข้อความ และตัดต่อเสียง
    • แปลงไฟล์วิดีโอและเขียนลงแผ่น
  • อุปกรณ์ที่จำเป็นในการตัดต่อ
    • เครื่องคอมพิวเตอร์
    • กล้องวิดีโอ
    • การ์ดตัดต่อ
    • สายเคเบิล
    • โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ
    • สื่อในการบันทึกภาพ
  • โปรแกรมตัดต่อวิดีโออื่นๆ
  • กล้องวิดีโอบันทึกภาพในแบบต่างๆ

บทที่ 2 มารู้จักกับ Sony Vegas Pro

โปรแกรมตัดต่อวิดีโอที่เหล่ามือโปรและมืออาชีพนิยมใช้งานกันมาก ซึ่งก่อนจะไปใช้งานโปรแกรม มารู้จักกับโปรแกรมว่ามีให้เลือกใช้งานกี่รุ่น ตลอดจนความสามารถว่ามีอะไรเด็ดขนาดไหน ถึงทำให้มืออาชีพเลือกใช้กัน พร้อมกับติดตั้งเครื่องมือเสริมในการตัดต่อวิดีโอที่จำเป็น

  • แนะนำ Sony Vegas Pro
  • โปรแกรม Sony Vegas Pro มีกี่รุ่น
  • ความสามารถของโปรแกรม
    • การแก้ไขวิดีโอ
    • ความสามารถทางด้าน Workflow
    • เอฟเฟกต์และการซ้อนวิดีโอ
    • การสร้าง 3D โปรเจ็กต์ที่ง่ายกว่า 2D
    • เครื่องมือเกี่ยวกับเสียง
    • การ Export, Import และจัดการกับไฟล์มีเดีย
    • เครื่องมือในการสร้างแผ่นดีวีดีและ Blu-ray
  • สเป็กเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
  • ดาวน์โหลดโปรแกรม
  • ติดตั้งโปรแกรม Sony Vegas Pro
  • การเรียกใช้งานและลงทะเบียนใช้งาน

บทที่ 3 เครื่องมืออะไรอยู่ตรงไหน

ก่อนจะไปหยิบจับเครื่องมืออะไร เพราะเครื่องมือเต็มหน้าจอไปหมด อย่าเพิ่งงงไปซะก่อน ในบทนี้จะแนะนำหน้าต่างและเครื่องมือที่จำเป็นในการใช้งานต่างๆ ของ Sony Vegas เพื่อการใช้งานที่คล่องแคล่วและรวดเร็วในอนาคต...ที่กำลังจะมาถึง

  • รู้จักกับหน้าต่างหลัก
  • แถบเครื่องมือ
  • Track List : แสดงรายการ Track
  • Scrubbing : เครื่องมือเร่งความเร็ววิดีโอ
  • Timeline : ควบคุมการตัดต่อคลิป
  • Transport Toolbar : เครื่องมือควบคุมวิดีโอ
  • Time Display : ส่วนแสดงเวลา
  • Status Bar : แสดงสถานะ
  • Marker Bar : ระบุตำแหน่งบนวิดีโอ
  • Docking Area : หน้าต่างสำหรับงานตัดต่อ
    • หน้าต่าง Explorer
    • หน้าต่าง Trimmer
    • หน้าต่าง Master Bus
    • หน้าต่าง Video Preview
    • หน้าต่าง Project Media
    • หน้าต่าง Transitions
    • หน้าต่าง Video FX
    • หน้าต่าง Media Generators
    • หน้าต่าง Mixing Console
  • การปรับแต่งหน้าต่างโปรแกรม
    • การปิดหน้าต่างที่ไม่ได้ใช้งาน
    • การเปิดหน้าต่างที่ต้องการใช้งาน

Part 2: ได้เวลาลองของจริง

บทที่ 4 ลงมือสร้างผลงาน

ในบทนี้จะเริ่มต้นที่การสร้างโปรเจ็กต์ พร้อมกำหนดรายละเอียดของโปรเจ็กต์วิดีโอ, การบันทึกโปรเจ็กต์เก็บไว้, การนำเอาชิ้นงานก่อนหน้านี้ขึ้นมาแก้ไข, การปิดหน้าต่างโปรเจ็กต์ และปิดโปรแกรมเพื่อใช้งานในวันต่อไป

  • สร้างไฟล์ชิ้นงานใหม่ขึ้นมา
  • กำหนดค่าให้กับชิ้นงาน
  • บันทึกโปรเจ็กต์ชิ้นงาน
  • ตั้งค่าการบันทึกอัตโนมัติ
  • เปิดชิ้นงานก่อนหน้านี้
  • การเปิดชิ้นงาน
  • การปิดโปรแกรม

บทที่ 5 จัดการกับไฟล์มีเดียต่างๆ

แนะนำวิธีจัดการกับไฟล์มีเดียต่างๆ ที่จะนำมาใช้งานร่วมกับชิ้นงานวิดีโอ ทั้งภาพนิ่ง, เสียง และภาพวิดีโอจากอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งปกติเราจะบันทึกภาพเก็บไว้ในกล้องในรูปแบบของตลับเทป, ดีวีดี หรือไฟล์วิดีโอ เพื่อนำไฟล์มาใช้งาน หรือจะ capture ภาพสดๆ จากกล้องวิดีโอเลยก็ได้

  • การใช้งานหน้าต่าง Project Media
  • ใส่ไฟล์มีเดียลงในหน้าต่าง Project Media
    • ใส่ไฟล์วิดีโอ, ไฟล์เสียง หรือรูปภาพ
    • สร้างโฟลเดอร์จัดเก็บไฟล์มีเดีย
  • พรีวิวไฟล์มีเดีย
  • ใส่ไฟล์มีเดียลงไปบนชิ้นงาน
    • ใส่คลิปวิดีโอลงชิ้นงาน
    • ใส่เสียงลงชิ้นงาน
    • ใส่รูปภาพลงชิ้นงาน
  • Import วิดีโอจากกล้อง
    • เชื่อมต่อกล้องวิดีโอแบบฮาร์ดดิสก์
    • การโอนย้ายข้อมูลจากกล้องวิดีโอแบบฮาร์ดดิสก์
    • เชื่อมต่อกล้องวิดีโอแบบเทป Mini-DV
    • capture ภาพด้วยโปรแกรม Sony Vegas
  • ดาวน์โหลดคลิปวิดีโอจาก YouTube

บทที่ 6 แก้ไข Event บน Timeline

แนะนำคอนเซ็ปต์การแก้ไข Event บน Timeline ก่อนจะก้าวสู่การใช้งานระดับมือโปร เพราะเมื่อพื้นฐานแน่นก็จะทำให้ต่อยอดไปถึงการแก้ไขหรือตัดต่อวิดีโอได้ไหลลื่นกว่าใคร ซึ่งในส่วน Timeline นี้เราสามารถแก้ไข, ปรับแต่ง, ย้าย, ก๊อบปี้ หรือวาง Event ได้ตามต้องการ

  • ใส่ Event ว่าง
  • กำหนดเวลาใส่ Event ว่าง
  • การย้าย Event
  • นำวิดีโอกลับมาตำแหน่งเดิม
  • การตัด, ก๊อบปี้ และวาง Event
    • การตัด
    • ก๊อบปี้
    • วาง Event
  • การลบ Event ว่าง
  • การเลือกเฉพาะ Event
  • ลบตาแดงบนรูปภาพ

บทที่ 7 การใช้งาน Marker, Region และแก้ไข Track

คลิปวิดีโอที่ถ่ายมาจากงานแต่งงาน, งานวันเกิด, งานเลี้ยงรุ่น หรือมิวสิควิดีโอ แต่ละคลิปก็มีความสำคัญทุกช่วงเวลา ภายในคลิปวิดีโอก่อนจะลงมือทำอะไรลงไป ถ้าได้ทำเครื่องหมายคำสั่งเพื่อระบุตำแหน่งเอาไว้ ก็จะทำให้การแก้ไขเป็นไปได้อย่างแม่นยำ มากขึ้น พร้อมกับการแก้ไข Track เสียงและวิดีโออีกด้วย

  • ทำเครื่องหมาย Marker
    • การใส่ Marker
    • ตั้งชื่อหรือแก้ไขชื่อ Marker
    • ย้าย Marker
    • ลบ Marker
    • ลบ Marker ทั้งหมดในชิ้นงาน
  • ใส่ตำแหน่ง Region
    • การใส่ Region
    • เปลี่ยนชื่อ Region
    • ย้าย Region
    • ลบ Region
    • ลบ Region ทั้งหมด
  • การแก้ไข Track
  • เพิ่ม Track เสียง
  • เพิ่ม Track วิดีโอ
  • การเลือก Track
    • การเลือก Track เดียว
    • การเลือกหลาย Track
  • จัดลำดับ Track
  • จัดกลุ่ม Track
    • สร้างกลุ่ม Track
    • เพิ่ม Track ใหม่ลงไปในกลุ่ม
    • นำ Track ออกจากกลุ่ม
    • ยกเลิกกลุ่ม Track
  • ก๊อบปี้ Track ซ้ำอีกครั้ง
  • การลบ Track
  • เชื่อมต่อคลิปบน Track
  • ย้ายคลิปบน Track
  • แยกเสียงออกจากคลิปวิดีโอ
  • ปรับแต่ง Track
    • ตั้งชื่อ Track
    • ปุ่มเครื่องมือบน Track Audio
    • ปุ่มเครื่องมือบน Track Video

บทที่ 8 ใช้งานเครื่องมืออัตโนมัติ พร้อมการ pan และ crop วิดีโอ

เมื่อได้ภาพวิดีโอที่ต้องการแล้ว ก็มานั่งปรับแต่ง Track เสียง, Track วิดีโอ หรือใส่เอฟเฟกต์เสียงเล็กน้อย เพื่อให้ผลงานออกมาโดนใจ ต่อด้วยการใช้งานยอดฮิตด้วย ความสามารถของเครื่องมือทั้งการ pan โดยโฟกัสภาพไปยังจุดใดจุดหนึ่ง และการ crop โดยเป็นการตัดบางส่วนบนภาพ

  • การใช้งาน Automation
  • ปรับแต่ง Track เสียงในแบบต่างๆ
    • ควบคุมระดับเสียงหรือ pan อัตโนมัติ
    • ลบตำแหน่งระดับเสียงอัตโนมัติ
  • ปรับแต่ง Fade อัตโนมัติให้กับวิดีโอ
  • เพิ่มเอฟเฟกต์ FX Automation
  • ปรับแต่งเสียงด้วย Envelope
    • กำหนดตำแหน่งในการปรับเสียงเฉพาะบางช่วง
    • ลบตำแหน่งการปรับเสียง
  • การ pan และ crop วิดีโอ
    • การเรียกใช้งานหน้าต่าง Event Pan/Crop
    • การ pan และ crop ภาพ
  • สร้างเอฟเฟกต์ 2D Grow ให้วิดีโอ

บทที่ 9 การแทรกเอฟเฟกต์และข้อความให้กับวิดีโอ

ในบทนี้จะขอเน้นไปที่การใส่เอฟเฟกต์ในรูปแบบต่างๆ ลงไปในชิ้นงานวิดีโอเพื่อเพิ่มความตื่นตาตื่นใจให้กับภาพในวิดีโอ นอกจากนี้ยังไปดูการใส่ข้อความไตเติลลงไปในวิดีโอ เพื่ออธิบายหรือบอกกล่าวว่าเป็นวิดีโอจากงานไหน, ถ่ายจากที่ใด หรือเมื่อไหร่

  • เพิ่มเอฟเฟกต์บน Track เสียง
  • ใส่ปลั๊กอินให้เสียง
    • ปรับแต่งเสียงปลั๊กอิน
    • เพิ่มเติมปลั๊กอิน
    • ลบปลั๊กอิน
  • ใส่เอฟเฟกต์วิดีโอด้วย Video FX
    • ลบเอฟเฟกต์วิดีโอ
    • กำหนดให้ภาพบางส่วนบนวิดีโอเบลอ
    • แสดงภาพหลายคลิปบนหน้าจอ
    • ปรับความส่วางภาพวิดีโอหลายคลิปให้ใกล้เคียงกัน
    • ด้วย Color Match
  • ใส่ Transition ระหว่างการเปลี่ยนฉากวิดีโอ
  • สร้างข้อความไตเติล
    • เลือกรูปแบบข้อความ
    • แก้ไขข้อความไตเติล
    • ใส่ไตเติลหน้าวิดีโอพร้อมแก้ไขสีข้อความ
    • เปลี่ยนสีพื้นหลัง
    • ปรับแต่งเอฟเฟกต์เพิ่มเติม
  • สร้างข้อความแอนิเมชัน
  • สร้างข้อความเครดิต

บทที่ 10 ซ้อนภาพวิดีโอ

การซ้อนภาพวิดีโอนับว่าเป็นเทคนิคที่นิยมใช้งานกันมาก ซึ่งในบางส่วนของวิดีโออาจ ต้องมีการทับซ้อนกันระหว่างคลิปวิดีโอ ด้วยการเลือกซ้อนภาพในแบบต่างๆ ที่มีให้เลือกใช้งานกันมากมาย เลือกกันไม่ถูกเลยทีเดียว หรือจะแทรกข้อความในรูปแบบ 3D ลงไปในวิดีโอก็ได้เช่นกัน

  • ซ้อนภาพวิดีโอ
    • ซ้อนภาพกับ Video FX
    • ซ้อนวิดีโอด้วย Marks
    • ปรับแต่โหมดการซ้อนภาพ
    • ปรับภาพในแบบ Color Splash
  • สร้างข้อความด้วยการซ้อนภาพ
  • สร้างข้อความด้วย Titler Pro
    • เลือกรูปแบบไตเติล
    • สร้างข้อความไตเติล
    • สร้างไตเติลแบบแอนิเมชัน

บทที่ 11 ซ้อนภาพระดับฮอลลีวูดด้วยเอฟเฟกต์ HitFilm 2 Ultimate

การซ้อนภาพที่แนะนำไปในบทที่ 9 ไม่ได้มีแค่ในโปรแกรมเท่านั้น เพราะในเวอร์ชัน SUITE ยังมีการซ้อนภาพด้วยเอฟเฟกต์ที่ชื่อว่า HitFilm 2 Ultimate ซึ่งนิยมใช้กับงาน ทางด้านภาพยนตร์ของฮอลลีวูด ทั้งการใส่ข้อความหรือใส่เอฟเฟกต์ในวิดีโอ เมื่อได้ทราบถึงเบื้องหลังการทำแล้ว คุณจะต้องร้อง “อ๋อ! ทำอย่างนี้นี่เอง” ทันที

  • โปรแกรม HitFilm 2 Ultimate และความต้องการของระบบ
  • แก้ไขการเปิดใช้งานไม่ได้
  • เรียกใช้งาน HitFilm 2 Ultimate
  • สร้างข้อความ 3D
  • ใส่เอฟเฟกต์ 3D Extrusion ให้ตัวอักษร
  • ใส่เอฟเฟกต์ Light Flares
  • Export ผลงาน

Part 3: เรื่องราวของเสียง

บทที่ 12 มามิกซ์เสียงกันดีกว่า

หากจะนำเสียงไปใส่ในวิดีโอดื้อๆ ก็อาจจะทำให้วิดีโอดูไม่รู้เรื่องหรือเกิดอาการเสียงตี ระหว่างเสียงจนฟังไม่ออก เพราะฉะนั้นต้องมาผสมเสียง, ปรับระดับเสียง, เลือกช่วงของเสียง, เลือกเฉพาะส่วนที่ใช้งาน และใส่เอฟเฟกต์แจ่มๆ ลงไป

  • การใช้งาน Master Bus
  • เครื่องมือใน Master
  • มิกซ์เสียงด้วย Mixing Console
  • เครื่องมือใน Mixing Console
  • การเพิ่ม Track, Bus, FX
    • การเพิ่ม Audio Track
    • การซ่อน Channel
    • แก้ไขชื่อ Track
    • เปลี่ยนสีให้ Track
    • ก๊อบปี้ Track
    • การลบ Track
  • การแทรก Bus Channel
    • สร้างจุดเพื่อปรับเสียงตามต้องการ
    • ลบจุดและรีเซ็ตค่าใหม่
  • การเปลี่ยนค่า Input และ Output
  • การใช้ FX Send (Assignable Effects)
    • การลบหรือแก้ไข FX Send
    • การนำ FX Send ไปใช้งาน

บทที่ 13 ใส่เสียง Soundtrack ให้กับวิดีโอ

วิดีโอจะหมดสนุกเมื่อขาดเสียง Soundtrack ไป ไม่ว่าจะเป็นเสียงอธิบายในวิดีโอที่มีการบันทึกผ่านทางไมโครโฟน, เสียงเพลงบรรเลงเบาๆ คลอไป, เสียงเพลงตามบรรยากาศที่แสดงในวิดีโอ หรือจะเป็นเสียงเซอร์ราวด์ ซึ่งจะทำให้วิดีโอมีความน่าสนใจขึ้น

  • การบันทึกเสียงพูด
    • บันทึกเสียงด้วยไมโครโฟน
    • ได้เวลาบันทึกเสียง
  • บันทึกเสียงเพลงจากซีดีเพลง
  • การสร้างเสียงเซอร์ราวด์ซาวด์ 5.1 Channel
    • กำหนดค่าโปรเจ็กต์เป็น 5.1 Channel
    • ปรับแต่ง Channel เสียง

Part 4: ตัดต่อเสียงขั้นเทพ

บทที่ 14 ปรับแต่งเสียงขั้นเทพกับ Sony Sound Forge Pro

โปรแกรมตัดต่อเสียงระดับมือโปร ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้แก้ไขตกแต่งเสียงดิจิตอลโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นการใช้งานที่แสนง่ายและทำงานได้รวดเร็ว จึงทำให้การปรับแต่งเสียงดิจิตอลของคุณไปเป็นในแบบที่ต้องการ ต้องยกให้เป็นสุดยอดโปรแกรมตัดต่อเสียงในสามโลกเลยก็ว่าได้

  • รู้จักกับโปรแกรม Sony Sound Forge Pro
  • สเป็กเครื่องที่ต้องการ
  • การติดตั้งโปรแกรม
  • หน้าต่างการใช้งานของโปรแกรม
  • การสร้างไฟล์เสียงใหม่
  • การบันทึกไฟล์เสียง
  • การบันทึกไฟล์โปรเจ็กต์
  • เปิดไฟล์เสียงหรือโปรเจ็กต์เดิม
  • เปิดเล่นไฟล์วิดีโอ
  • เปิดเล่นไฟล์ในแบบต่างๆ
    • ฟังเสียงในตำแหน่งที่ต้องการ
    • เลือกช่วงตำแหน่งการฟัง
  • บันทึกไฟล์เสียงจากไมโครโฟน
  • ดึงเสียงเพลงจากซีดี
  • แก้ไข ตัดต่อเสียง
    • การก๊อบปี้และวาง
    • การตัด
    • การลบเสียงบางช่วง
    • การ crop คลื่นเสียง
  • แปลง Channel เสียง
  • แปลงฟอร์แมตของไฟล์สียง
  • การใช้งาน Marker
    • กำหนดชื่อให้ Marker
    • ย้ายตำแหน่ง Marker
    • ลบ Marker
  • การใช้งาน Region
    • กำหนดชื่อให้ Region
    • ย้ายตำแหน่ง Region
    • ลบ Region

บทที่ 15 ปรับแต่งเสียงพร้อมนำไปใช้งานกับวิดีโอ

เสียงด้วย EQ, ใส่ฟิลเตอร์, การใช้งานปลั๊กอิน และลูกเล่นที่ให้เลือกจนใช้งานไม่ถูกเลยว่าจะใช้แบบไหนดี เมื่อได้เสียงที่ออกมาสมบูรณ์ตามความต้องการแล้ว ยังสามารถเสริมทัพด้วยการปรับแต่งเสียงทั้งการใส่เอฟเฟกต์, ปรับแต่ก็น่าจะมีรูปแบบที่ถูกใจสำหรับผู้ใช้งานอย่างแน่นอน

  • การใช้งาน Event Tool
    • การสร้าง Event
    • การย้าย Event
    • ปรับแต่ง Crossfade
    • เปลี่ยนรูปแบบ Crossfade
  • การใช้งานเกี่ยวกับโพรเซสออดิโอ
    • การใช้งาน Preset
    • เลือกค่า Preset ด้วยตนเอง
    • ปรับแต่งค่า Preset ด้วยตนเอง
    • เพิ่มตำแหน่งในการปรับ Preset
    • รีเซทค่าทั้งหมดของ Preset
  • Sound Forge โพรเซส
    • ปิดเสียงด้วยคำสั่ง Mute
    • ปรับแต่งเสียงด้วย EQ
  • ใส่เอฟเฟกต์ให้เสียง
    • การใส่เอฟเฟกต์
    • การใช้งาน Plug-In Chainer
    • ลบปลั๊กอินที่ไม่ได้ใช้งาน
  • แทรกเสียงลงไปในวิดีโอ
    • กำหนดคุณสมบัติของไฟล์วิดีโอ
    • บันทึกไฟล์วิดีโอ
  • เขียนไฟล์เพลงลงซีดี

Part 5: ได้เวลาส่งงาน

บทที่ 16 เตรียมแจกจ่ายงานวิดีโอ

หลังจากเสร็จสิ้นการตัดต่อ, ใส่เสียง หรือใส่เอฟเฟกต์ให้กับวิดีโอแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการเตรียมแจกจ่ายวิดีโอให้กับเพื่อนๆ ต้องมารู้จักกับรูปแบบวิดีโอและรูปแบบไฟล์เสียง ที่สำคัญจะต้องทดสอบการทำงานของวิดีโอว่าแสดงผลได้ตามแบบที่ต้องการหรือไม่ เพื่อตรวจสอบความพร้อมของชิ้นงาน

  • ความรู้เบื้องต้นในการบีดอัดวิดีโอ
  • Render ชิ้นงานเป็นไฟล์วิดีโอรูปแบบต่างๆ
    • Render บางส่วนของชิ้นงาน
    • แปลงวิดีโอเป็นไฟล์เสียง
  • Export งานเพื่อใช้กับโปรแกรม Adobe Premier
  • หรือ Adobe After Effects
  • Export งานเพื่อใช้กับโปรแกรม Final Cut Pro X

บทที่ 17 การเขียนแผ่นวิดีโอ

ขั้นตอนในการแจกจ่ายผลงานวิดีโอ เพื่อส่งต่อให้ลูกค้าหรือเพื่อนๆ โดยคุณสามารถเลือกเขียนแผ่นในแบบต่างๆ, เขียนเป็นไฟล์วิดีโอในรูปแบบ MPEG, เลือกอัปโหลดไปไว้บนเว็บไซต์ YouTube หรือ ACIDplanet.com ก็ทำได้เช่นกัน

  • สร้างแผ่นวีซีดีหรือดีวีดี
  • สร้างแผ่นซีดีเพลง
  • อัปโหลดวิดีโอขึ้น YouTube
    • แปลงไฟล์เพื่ออัปโหลด
    • อัปโหลดไฟล์ขึ้น YouTube
    • อัปโหลดไฟล์ผ่านเมนูโปรแกรม
  • แชร์ไฟล์ผ่าน ACIDplanet.com
    • การสมัครใช้งาน
    • เริ่มขั้นตอนการแชร์ไฟล์ออนไลน์

บทที่ 18 สร้างเมนูในแผ่นดีวีดีด้วย DVD Architect Pro

เมื่อต้องการจะสร้างเมนูดดีวีดีในแบบที่คุณออกแบบได้เองทุกอย่าง ทั้งรูปแบบหน้าตา (หรือเลือกจาก Themes ก็ได้นะไม่ว่ากัน), ข้อความ, รูปภาพ หรือเสียงเพลง พร้อมทั้งเขียนวิดีโอลงแผ่นดีวีดีหรือ Blue-ray ก็ทำได้ครบวงจรด้วย DVD Architect Pro

  • รู้จักกับโปรแกรม DVD Architect Pro
  • สเป็กเครื่องที่ต้องการ
  • การติดตั้งโปรแกรม
  • หน้าต่างการใช้งานของโปรแกรม
  • เริ่มสร้างหน้าเมนูใหม่
  • ใส่คลิปวิดีโอในหน้าเมนู
    • แก้ไขชื่อคลิปวิดีโอ
    • แก้ไขชื่อเป็นภาษาไทย
    • แก้ไขข้อความเมนู
    • ย้ายตำแหน่งคลิปวิดีโอและข้อความ
  • บันทึกไฟล์ชิ้นงาน
  • สร้างข้อความใหม่
  • ใส่รูปกราฟิก
  • ลบข้อความ, รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ
  • เลือกรูปแบบ Theme
  • ใส่เสียงเพลง
  • สร้างเมนูเพิ่มเติม
  • ทดสอบการทำงาน
  • เขียนวิดีโอลงแผ่น