ผมรวยด้วยการเขียนโปรแกรมขายได้ยังไง
ผู้เขียน: ยุทธนา ท้าวนอก
ISBN: 978-616-7119-67-0
จำนวนหน้า: 400 หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 x 2.0 ซม.
รูปแบบหนังสือ:
หนังสือขาวดำ
ราคาปก: 295 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 260 บาท
- ถ้าคุณเขียนโปรแกรมได้ หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณขายโปรแกรมเป็น (ด้วยตัวคนเดียว!)
- เรียนลัด จากประสบการณ์นับสิบปีของโปรแกรมเมอร์ชาวไทยเจ้าของรางวัลมากมายที่ประสบความสำเร็จได้ด้วยความตั้งใจ
- รู้จัก หลากหลายเทคนิคที่น่าสนใจ ทั้งการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้โดนใจลูกค้า, การตลาดที่ไม่ต้องลงทุน, การสร้างเว็บไซต์สำหรับขายซอฟต์แวร์ ฯลฯ
- เปลี่ยน ตัวเองจากโปรแกรมเมอร์ธรรมดาๆ ให้กลายเป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์
- ขาย ซอฟต์แวร์ให้แก่ลูกค้าต่างประเทศได้แบบไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
- หนังสือเรื่องนี้...
- สร้าง => แนวความคิดให้หลุดพ้นกรอบเดิมๆ ที่ว่า โปรแกรมเมอร์เป็นเพียงผู้เขียนโปรแกรมเท่านั้น คือ ให้ผู้อ่านรู้ว่าโปรแกรมเมอร์สามารถขายโปรแกรมเองและเป็นเจ้าของธุรกิจซอฟต์แวร์เอง โดยผู้เขียนเล่าประสบการณ์และแนวทางการทำธุรกิจของตนเอง ซึ่งทำด้วยตัวคนเดียวแต่สามารถขายโปรแกรมได้ทั่วโลก
- สอน => เทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์และส่วนเพิ่มเติมต่างๆ ที่ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ควรมี, การสร้างจุดขายให้แก่ซอฟต์แวร์, ส่งเสริมการขายและการตลาดแบบต่างๆ โดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุด, หลักการสร้างเว็บไซต์สำหรับขายซอฟต์แวร์แบบ 2 ภาษา เพื่อใช้โปรโมตในประเทศและต่างประเทศ ฯลฯ
- แนะนำ => หลักการเบื้องต้นในการควบคุมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เพื่อป้องกันการนำโปรแกรมของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้อ่านจะได้นำหลักการไปต่อยอดพัฒนาระบบควบคุมลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมา หรือสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อระบบควบคุมลิขสิทธิ์ที่มีจำหน่ายในวงการซอฟต์แวร์อย่างเหมาะสม
บทที่ 1 แค่เปลี่ยนแนวคิด ทั้งชีวิตคุณก็จะเปลี่ยน
จากคนที่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมอันน้อยนิดจนกลายมาเป็นเจ้าของกิจการซอฟต์แวร์ที่สามารถขายผลงานได้ทั่วโลก มีรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ 2 รางวัลเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพ กว่าที่ผมจะมาถึงจุดนี้ได้มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ผลักดันให้ประสบความสำเร็จ แต่จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ การเปลี่ยนตัวเองจากโปรแกรมเมอร์มาเป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์
- รู้จักกันก่อน
- มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์กันอีกนิด
- จากโปรแกรมเมอร์มาเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์และกลายมาเป็นนักธุรกิจ
- ไม่ต้องเขียนโปรแกรมเก่งมาก...แต่ต้องรู้จักคำว่า “จุดขาย”
- กว่าจะเป็น Dreamsofts
- เรียนตอนไหนก็ได้ จบมาก็ต้องหางานทำอยู่ดี
- กลับมาเรียนดีกว่า พอแล้วงานมันหนัก
- ขายได้ตั้งสามพันห้า
- ได้หน้าแต่ไม่ได้เงิน
- วันนี้ที่รอคอย
- ลูกค้าของ Dreamsofts
- ผลงานของ Dreamsofts
- โปรแกรมคำนวณการจัดเรียงสินค้าใส่คอนเทนเนอร์
- โปรแกรมคำนวณการตัดชิ้นงาน 1 และ 2 มิติ
- โปรแกรมออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบ 3 มิติ
- โปรแกรมสร้างภาพโมเสค
- เกมหวย [หนทางรวยหรือจน]
- มาตกลงกันก่อนไปต่อ
บทที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมให้มีคุณภาพ
ผมจะมาเล่าประสบการณ์ในการพัฒนาโปรแกรมให้มีคุณภาพจนสามารถขายได้ทั่วโลก ว่ามีกระบวนการอย่างไร โดยเริ่มคัดเลือกโปรแกรมที่มีจุดขายจนถึงขั้นตอนในการพัฒนา ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ทำให้ผมสามารถทำเงินได้แม้ในยามหลับ คุณจะเห็นว่าทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไปได้ เพียงเพราะผมมีการเริ่มต้นที่ดี
- พัฒนาโปรแกรมอะไร ?
- เลือกโปรแกรมที่เราเข้าใจระบบและสามารถพัฒนาได้
- เลือกเป้าหมายของโปรแกรมในเชิงธุรกิจ
- จุดขายของโปรแกรม
- โปรแกรมที่มีกลุ่มเป้าหมายใหญ่ที่สุด
- ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
- 1. ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโปรแกรม
- 2. วิเคราะห์ระบบเพื่อกำหนดความสามารถของผลิตภัณฑ์
- 3. ออกแบบระบบเพื่อใช้ในการพัฒนา
- 4. พัฒนาโปรแกรม
- 5. ทดสอบและประเมินผล
- 6. ทำการผลิต
- 7. แจกจ่ายและสนับสนุน
บทที่ 3 ส่วนประกอบเพิ่มเติมที่ควรมี
ถ้าคุณคิดว่า การทำธุรกิจซอฟต์แวร์มีเพียงการพัฒนาให้โปรแกรมทำงานได้เท่านั้นแล้วล่ะก็ คุณคิดผิดแล้วล่ะครับ เพราะยังมีส่วนประกอบเพิ่มเติมอื่นๆ ที่จะทำให้ซอฟต์แวร์ของเราดูมีคุณภาพและขายได้ ผมจะพาคุณมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
- ตัวโปรแกรม
- ข้อมูลโปรแกรม
- มาตรฐานที่โปรแกรมควรมี
- รุ่นของโปรแกรม
- การป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์
- ดีคอมไพล์ (Decompile)
- ดีบั๊ก (Debug)
- ผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์
- ส่วนเสริมโปรแกรม
- เนื้อหาที่ควรมีในส่วนเสริมโปรแกรม
- ไฟล์ช่วยเหลือ
- คู่มือการใช้
- วิดีโอสอนการใช้งาน
- ไฟล์ติดตั้ง (Installation File)
- สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับไฟล์ติดตั้ง
- โปรแกรมที่ใช้สร้างไฟล์ติดตั้ง
- บรรจุภัณฑ์
- สื่อจัดเก็บไฟล์ทั้งหมด
- กล่องใส่แผ่นโปรแกรม
- เอกสารแนะนำการติดตั้ง
- กล่องใส่สินค้า
บทที่ 4 การตั้งราคาขาย
โปรแกรมที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์อาจไม่ใช่เหตุผลหลักที่ทำให้ขายได้ เพราะยังมีอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้ซื้อนำมาพิจารณาร่วมด้วย นั่นคือ “ราคา” ซึ่งในบทนี้เราจะมาศึกษาถึงการตั้งราคาที่จะทำให้โปรแกรมขายได้ง่ายและมีกำไร
- ตั้งราคาขายยังไงไม่ให้ขาดทุน
- ต้นทุนสินค้า
- วิธีตั้งราคาขาย
- แยกย่อยรุ่นสินค้า
- ค่าใช้จ่ายเสริม
- ภาษี
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- วิธีการชำระเงิน
- การตั้งราคาสำหรับต่างประเทศ
บทที่ 5 เว็บไซต์สำหรับขายซอฟต์แวร์
เว็บไซต์เป็นหน้าร้านและเครื่องมือชั้นยอดที่ช่วยให้ผมดำเนินธุรกิจซอฟต์แวร์ได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนเรื่องสถานที่ หรือแข่งขันจับจองทำเลทองที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ทั้งยังช่วยผมประหยัดค่าจ้างพนักงานขายหรือดูแลร้านอีกด้วย พูดได้ว่าผมทำคนเดียว ขายคนเดียว และรับเงินอยู่คนเดียว ผมทำได้อย่างไร
- การพัฒนาเว็บไซต์
- โดเมนเนม
- ประเภทของโดเมนเนม
- การจดโดเมนเนม
- คำแนะนำเกี่ยวกับโดเมนเนม
- โฮสต์ (Host)
- ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโฮสต์
- การเช่าโฮสต์
- เว็บฝากไฟล์
- การส่งเว็บไซต์เข้าสู่โฮสต์
- สิ่งที่ควรมีในเว็บไซต์
- รองรับหลายภาษา (Multi Language)
- ระบบสมาชิก (Member)
- รายละเอียดสินค้า (Product Details)
- ดาวน์โหลด (Download)
- ราคา (Price)
- วิธีการสั่งซื้อ (Payment)
- วิธีการจัดส่ง (Delivery)
- ส่วนส่งเสริมการขาย (Promotion)
- ลูกค้าอ้างอิง (Clients)
- คำรับรองจากผู้ใช้งาน (Testimonial)
- รางวัล (Award)
- ประชาสัมพันธ์ (Press Release)
- คำถามที่ถามบ่อย (FAQ)
- สนับสนุนการใช้งาน (Support)
- ข้อมูลการติดต่อ (Contact)
- ความเชื่อถือ (Credit)
- ส่วนเสริมในเว็บไซต์
บทที่ 6 จำหน่ายซอฟต์แวร์สำหรับต่างประเทศ
ถ้าซอฟต์แวร์ของคุณมีความพร้อมที่จะจำหน่ายออกสู่ต่างประเทศได้ คุณอาจยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ตรงไหนดี ผมมีขั้นตอนและประสบการณ์อันมีค่าเกี่ยวกับการจำหน่ายซอฟต์แวร์ให้กับต่างประเทศ มาเล่าให้คุณผู้อ่านได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้
- วิธีการชำระเงิน
- บัตรเครดิต
- โอนเงินระหว่างประเทศ
- PayPal
- ผู้ให้บริการรับและส่งเงินระหว่างประเทศ
- วิธีการจัดส่ง
- การจัดส่งสินค้าแบบออนไลน์
- การจัดส่งสินค้าแบบออฟไลน์
- บริการตัวกลางในการขายซอฟต์แวร์
- Share-it! เครื่องมือชั้นดีในการขายซอฟต์แวร์
- การสมัครเพื่อใช้บริการของ Share-it!
- การยอมรับข้อตกลงการเป็นผู้ขายของ Share-it!
- การแจ้งข้อมูลบัญชีธนาคารสำหรับรับเงินจาก Share-it!
- การเพิ่มข้อมูลสินค้าเข้าสู่ระบบ
- รายการส่งเสริมการขายโดยใช้ Coupon Code
- เครือข่ายการตลาดของ Share-it!
- ผู้ช่วยขายผ่านระบบ Affiliate ของ Share-it!
บทที่ 7 รู้ไหม... ลูกค้าของเราคือใคร ?
สินค้าดีก็มีแล้ว หน้าร้านก็พร้อมขายแล้ว คงถึงเวลาเรียกลูกค้าเข้าร้านซะที เอ! แต่ลูกค้าของเราคือใครล่ะ ? พวกเค้าอยู่ไหนกันหนอ ? จะหาข้อมูลลูกค้าได้จากไหน ? และถ้าได้มาแล้วมีวิธีติดต่ออย่างไร ? ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ปัญหาสำหรับผมซึ่งไม่ใช่นักขายมืออาชีพเลยครับ อยากรู้คำตอบก็ต้องตั้งใจอ่านบทนี้ให้ดี แล้วจะพบว่าคุณก็สามารถหาลูกค้าเองได้
- สินค้าของเรามีประโยชน์อย่างไร ?
- ใครคือลูกค้าของเรา ?
- เราจะหาข้อมูลลูกค้าจากที่ไหน ?
- เราสามารถติดต่อลูกค้าได้ทางใดบ้าง ?
- การติดต่อทางตรง
- การติดต่อทางอ้อม
บทที่ 8 มาเรียกลูกค้าเข้าเว็บไซต์กันเถอะ
เมื่อเราได้ทราบแหล่งข้อมูลการติดต่อของลูกค้าแล้ว โจทย์ต่อมาก็คือ เราจะมีวิธีเรียกพวกเขาเหล่านั้นให้เข้าเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนร้านค้าของเราได้อย่างไรบ้าง ? หรือพูดง่ายๆ ก็คือ จะทำการตลาดแบบออนไลน์ด้วยวิธีไหน ? มาพบคำตอบในบทนี้กันครับ
- ส่งโปรแกรมเข้าเว็บดาวน์โหลดซอฟต์แวร์
- PAD : สิ่งมหัศจรรย์สำหรับการตลาดซอฟต์แวร์
- PAD คืออะไร ?
- การสร้าง PAD
- เว็บไซต์ที่รองรับ PAD
- การส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์ดาวน์โหลดโปรแกรมด้วย PAD
- ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PAD
- การใช้เสิร์ชเอนจิ้นในการตลาด
- การส่งข้อมูลเว็บไซต์เข้าเสิร์ชเอนจิ้น
- ลงโฆษณากับเสิร์ชเอนจิ้น
- ปรับปรุงเว็บไซต์ด้วย SEO
- ส่งโปรแกรมเข้าเว็บท่าและเว็บขายสินค้าออนไลน์
- การแลกลิงก์
บทที่ 9 ส่งเสริมการขาย
เมื่อเรียกลูกค้าให้เข้ามายังเว็บไซต์ของเราได้แล้ว จะมีวิธีใด ? ที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อโปรแกรมของเราได้เร็วที่สุด การส่งเสริมการขายเป็นคำตอบของคำถามนี้ครับ
- ข้อเสนอพิเศษ
- การลดราคา
- การแลกซื้อ
- การแจกสินค้า
- การแถม
- การขายพ่วง
- ส่วนลดตามจำนวน
- ข้อจำกัดของข้อเสนอพิเศษ
- จำนวนสิทธิ์
- ระยะเวลาในการได้รับสิทธิ์
- ประเภทของลูกค้าที่ได้รับสิทธิ์
- รายการส่งเสริมการขาย
- คำแนะนำเรื่องการส่งเสริมการขาย
บทที่ 10 ความรู้ในการทำระบบควบคุมลิขสิทธิ์เบื้องต้น
คุณอาจจะยินดีมากๆ ที่โปรแกรมของคุณเป็นที่นิยมจนได้รับการกล่าวขานไปทั่ว แต่พอมาดูยอดขายแล้วกลับพบสิ่งที่ตรงกันข้าม เกิดอะไรขึ้น ? มันน่าจะทำเงินให้คุณมากกว่านี้สิ และแล้วคุณก็พบว่าโปรแกรมที่คุณขายไปหนึ่ง แต่กลับมีผู้ร่วมใช้งานเป็นร้อย วิธีป้องกันขั้นพื้นฐานสำหรับปัญหานี้เป็นสิ่งที่คุณควรจะรู้ครับ
- การควบคุมสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์
- หลักการควบคุมลิขสิทธิ์การใช้งานขั้นพื้นฐาน
- รหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ (Machine code)
- ข้อมูลการใช้งาน
- รหัสปลดล็อก (License code)
- การทำงานของระบบควบคุมลิขสิทธิ์
- ระบบการลงทะเบียน
- การบังคับปิด
- การทำให้ระบบควบคุมลิขสิทธิ์ของเราซับซ้อนยิ่งขึ้น
- การบีบอัดข้อมูล
- การเข้ารหัสข้อมูล
- การเพิ่มรหัสตรวจสอบ
- การเขียนและอ่านข้อมูลในสถานที่ปลอดภัย
- ระบบนี้ต่อกรกับใครได้บ้าง ?
- คำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับการควบคุมลิขสิทธิ์
- ข้อจำกัดของรุ่นทดลองใช้
- ทำระบบโอนย้ายสิทธิ์การใช้งานดีไหม ?
- จำนวนครั้งในการขอปลดล็อก
- ทำระบบปลดล็อกบนเว็บไซต์กันไหม ?
- ทำระบบปลดล็อกด้วย Hardlock ใช้เองกันไหม ?
- เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือฟ้าอีกทีคืออะไร ?
บทที่ 11 ความรู้เพิ่มเติมในธุรกิจซอฟต์แวร์
เนื้อหาในบทนี้จะพูดถึงสิ่งที่จะต้องทำเมื่อเป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์ ปัญหาต่างๆ ที่จะพบและวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้น พร้อมคำแนะนำ รวมทั้งเคล็ดลับต่างๆ ที่จะเป็นส่วนเสริมสำคัญให้คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจซอฟต์แวร์
- ขั้นตอนการทำธุรกิจซอฟต์แวร์มีอะไรบ้าง ?
- ขั้นตอนที่ 1 คิดสินค้าที่แปลกใหม่ มีจุดขาย และเราสามารถพัฒนาได้
- ขั้นตอนที่ 2 ตั้งชื่อกิจการและชื่อโดเมน
- ขั้นตอนที่ 3 บัญชีธนาคาร โทรศัพท์ และแฟกซ์
- ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาเว็บไซต์
- ขั้นตอนที่ 5 ทำการตลาดให้กับสินค้าและเว็บไซต์ของเรา
- ขั้นตอนที่ 6 บริหารกิจการของเรา
- เคล็ดลับการประสบความสำเร็จ
- คำแนะนำที่ 1 คุณภาพของสินค้าต้องมาก่อน
- คำแนะนำที่ 2 ส่วนเสริมผลิตภัณฑ์ต้องมีให้ครบถ้วน
- คำแนะนำที่ 3 ราคาสินค้าต้องมีความเหมาะสม
- คำแนะนำที่ 4 การตลาดต้องมีตลอดเวลา
- คำแนะนำที่ 5 การส่งเสริมการขายต้องมีบางโอกาส
- คำแนะนำที่ 6 ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือ
- คำแนะนำที่ 7 อย่าทิ้งลูกค้าเดิม
- คำแนะนำที่ 8 ตอบสนองด้วยความรวดเร็ว
- คำแนะนำที่ 9 ปัญหามีไว้ป้องกัน
- วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
- เกิดมาหน้าตาสดใส
- บาดเจ็บจากการทำงานต้องรักษาเยียวยา
- คุณภาพดีก็มีอายุยืน
- โปรแกรมไม้ใกล้ฝั่ง
- สั่งโปรแกรมให้ตาย
- เกิดใหม่ไฉไลกว่าเดิม
- ตายไปสองแต่เกิดมาใหม่แค่หนึ่ง
- ขายไปด้วยกันดีกว่า
- คำแนะนำเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำธุรกิจซอฟต์แวร์
- วางแผนให้ดีก่อนสร้างเว็บไซต์
- ขจัดปัญหาคนเข้าเว็บมาก แต่ขายไม่ได้
- อะไรที่พิมพ์บ่อยๆ สร้างเทมเพลตไว้เลย
- Mail Signature คือ หน้าตาของผู้ส่ง
- จงสร้างและพัฒนาระบบการทำงานของคุณเอง
- ทำคนเดียวแล้วลูกค้าเชื่อถือเหรอ ?
- มีงานต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน ทำอย่างไรดี ?
- ซอฟต์แวร์กับทรัพย์สินทางปัญญา
- ต้องซื้อเครื่องมือที่มีลิขสิทธิ์มาใช้หรือไม่ ?
- ระบบ OEM สำหรับตัวแทนจำหน่าย
- ทำอย่างไรกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ?
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์
- จงสร้างโอกาสในการประสบความสำเร็จให้กับตัวเอง