ใช้ให้เป็น เล่นให้เพลิน Samsung Galaxy S III + android

ผู้เขียน: กิตติ ภูวนิธิธนา
ISBN: 978-616-7119-62-5
จำนวนหน้า: 400 หน้า
ขนาด: 16.5 x 19 x 2.1 ซม.
รูปแบบหนังสือ: พิมพ์ 4 สี

ราคาปก: 199 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 175 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


    เพราะมีอะไรบ้าง Galaxy S III จึงเป็นสมาร์ตโฟนที่สมาร์ตจริง
  • ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็เรียกใช้ไฟล์ในคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้ เพราะมี AllShare Play
  • ฉายหนัง/เล่นเกม จากเครื่อง Galaxy S III ไปออกจอทีวีได้เลย เพราะมี AllShare Cast
  • แค่แนบหูก็โทรออกอัตโนมัติ ไม่ต้องกดเบอร์ เพราะมี Direct Call
  • หน้าจอไม่มีทางดับ ถ้ายังจ้องดูหน้าจอ เพราะมี Smart Stay
  • ส่งไฟล์ขนาดอภิมหึมา ผ่าน NFC และ Wi-Fi Direct ได้เร็วกว่า Bluetooth ถึง 3 เท่า เพราะมี S Beam
  • ใครส่ง SMS หรือโทรมา เรารู้ได้ทันทีที่หยิบเครื่องโดยไม่ต้องดูหน้าจอ เพราะมี Smart Alert
  • ใช้เสียงสั่งเปิดแอปและเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆ ได้ เช่น เปิดกล้องถ่ายรูป, เปิดเครื่องเล่นเพลง, ตั้งนาฬิกาปลุก ฯลฯ เพราะมี S Voice
  • ถ่ายรูปแล้วส่งถึงเพื่อนได้ทันที ผ่านหน้าจอที่แสดงรูปเพื่อนคนนั้น เพราะมี Buddy Photo Share
  • พร้อมใช้แอปฮิตผ่าน android 4 ได้ไม่จำกัด ทั้ง Instagram, LINE, Facebook ฯลฯ

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ใครก็ตามที่สนใจหรือกำลังหาคู่มือ Samsung Galaxy S III
  • ใครก็ตามที่สนใจหรือมองหาคู่มือการใช้งานระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชัน 4

ควรรู้อะไรมาบ้าง ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้

  • ไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก่อน เพราะหนังสือเรื่องนี้จะแนะนำตั้งแต่การใช้งานเบื้องต้น จนคุณสามารถใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ได้อย่างสนุกและเต็มประสิทธิภาพ+ความสามารถของ Galaxy S III

ต้องมีอะไรบ้าง เพื่อทดลองใช้งานตามที่อธิบายในหนังสือเล่มนี้

  • มีเครื่อง Samsung Galaxy S III
  • มีระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi, EDGE หรือ 3G


บทที่ 1 รู้จัก Samsung Galaxy S III

S III เป็น generation ล่าสุดของ Galaxy S ที่มีประสิทธิภาพและคุณสมบัติที่น่าสนใจมากมาย ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชัน 4 ซึ่งผมจะสรุปให้ครบทุกอย่างในบทแรกนี้ ก่อนที่จะไปสัมผัสกันเต็มๆ ในบทต่อๆ ไป ทั้งความสามารถใหม่ระดับอัจฉริยะ ได้แก่ Direct call, Smart stay, Smart alert, Social tag, S Voice และความสามารถในการแชร์ไฟล์ อย่าง AllShare Play, AllShare Cast, Buddy photo share, S Beam

  • การเดินทางของ Android
  • รู้จัก Samsung Galaxy S รุ่นต่างๆ ก่อน
  • แกะกล่อง Galaxy S III
  • ส่วนประกอบต่างๆ
  • ปุ่มควบคุม
  • คุณสมบัติทั่วไป
  • คุณสมบัติเด่น
    • ออกแบบโดนใจผู้ใช้
    • ความสามารถใหม่ระดับอัจฉริยะ
    • แชร์ได้ไม่จำกัด
  • อุปกรณ์เสริม

บทที่ 2 การใช้งานเบื้องต้นเมื่อเปิดเครื่องครั้งแรก

หลังจากที่ซื้อเครื่องจากร้าน โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสมาร์ตโฟนระบบ Android หรือไม่เคยใช้ Galaxy S มาก่อน การใช้งานช่วงแรกอาจรู้สึกติดขัดบ้าง เนื้อหาบทนี้จะเป็นเหมือนการนำทางให้คุณได้ทำความคุ้นเคยกับ S III ก่อนที่จะใช้งานให้เป็นและเล่นให้เพลินต่อไป

  • ใส่ Micro SIM, Micro SD card และแบตเตอรี่
  • เปิดเครื่องใช้งานครั้งแรก
  • สำรวจหน้าจอโฮม (Home Screen)
    • ส่วนประกอบบนหน้าจอโฮม
    • เพิ่ม-ลดหน้าจอโฮม
    • ลบหน้าจอโฮม
    • สลับตำแหน่งหน้าจอโฮม
    • กำหนดหน้าจอโฮมหลัก
    • ย้ายชอร์ตคัตที่ Icon Dock
  • แถบสถานะการเตือน (Notifications Bar)
  • เปิดเมนูแอปพลิเคชัน
    • เปลี่ยนมุมมองเมนูแอปพลิเคชัน
    • ย้ายตำแหน่งไอคอนของแอปพลิเคชัน
    • เพิ่มหรือลดหน้าจอวางไอคอนในเมนูแอปพลิเคชัน
    • ดูข้อมูลของแอปพลิเคชัน
    • ซ่อน-แสดงไอคอน
  • สร้างชอร์ตคัตหรือวิดเจ็ตบนหน้าจอโฮม
    • ปรับขนาดวิดเจ็ต
    • ลบชอร์ตคัตหรือวิดเจ็ตจากหน้าจอโฮม
  • สร้างโฟลเดอร์เก็บแอปบนหน้าจอโฮม
    • ย้ายชอร์ตคัตเข้าหรือออกจากโฟลเดอร์
    • เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์
    • ลบโฟลเดอร์
  • เปลี่ยนวอลล์เปเปอร์
  • ค้นหาอะไรก็เจอด้วย Google Search
  • กำหนดขอบเขตการค้นหา
  • ตั้งค่าเสียงเตือนต่างๆ
  • ตั้งค่าการแสดงผลบนหน้าจอ
  • ตั้งวันที่และเวลา
  • สแกนใบหน้าเพื่อปลดล็อกหน้าจอ
  • ตรวจและอัปเดตเวอร์ชัน Android

บทที่ 3 การใช้งานคีย์บอร์ด

ผมแยกเนื้อหาแนะนำการใช้งานคีย์บอร์ดออกมาเป็นบทหนึ่งต่างหาก แทนที่จะรวมไว้ในบทที่แล้ว เพราะต้องการให้คุณเข้าใจรูปแบบและวิธีการใช้งานคีย์บอร์ดอย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถป้อนข้อความและใช้งานแอปต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและคล่องมือ

  • คีย์บอร์ดบน Galaxy S III
    • เลือกวิธีป้อนข้อความ
    • เปลี่ยนรูปแบบของคีย์บอร์ด
  • ใช้งานคีย์บอร์ด Samsung Keyboard
  • ใช้งานคีย์บอร์ดแบบ Swype
  • สลับแป้นพิมพ์ระหว่างตัวอักษรกับตัวเลขด้วยการ Swipe
  • ใช้งานคีย์บอร์ด 3x4
  • เพิ่มภาษาให้คีย์บอร์ด Samsung
  • ใช้งานการเดาคำศัพท์
  • ใช้งาน Google voice typing
  • การเขียนด้วยลายมือ
  • เปิดใช้งานคีย์บอร์ดที่ดาวน์โหลดมาเพิ่ม
  • การเลือก, คัดลอก, วาง หรือตัดข้อความ

บทที่ 4 การสัมผัสหน้าจอและการใช้งาน Motion

Galaxy S III มีการทำงานของ Motion ที่ถือว่าสมบูรณ์แบบ เราสามารถควบคุมการใช้งานเครื่องหรือเข้าถึงแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วด้วยการถือเครื่องในลักษณะต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้คุณไม่พลาดความสามารถดีๆ อย่างนี้ ผมจึงรวบรวมการควบคุมเครื่องด้วยวิธี Motion ทั้งหมดที่ S III สามารถทำได้ เอาไว้ในบทนี้แล้ว

  • การแตะ 1 ครั้ง
  • การแตะ 2 ครั้ง
  • การแตะค้า
  • การแตะลากแล้วปล่อย
  • การแตะค้างแล้วปล่อย
  • การแตะค้างแล้วลากเพื่อเลื่อนหน้าจอ
  • การสไลด์หรือตวัดนิ้ว
  • การหุบและกางนิ้
  • การใช้งาน Motion
    • Direct call แค่ยกเครื่องแนบหูก็โทรออกอัตโนมัติ
    • Smart alert เตือนการติดต่อที่พลาดเมื่อหยิบเครื่อง
    • Tap to top กลับสู่หน้าจอบนสุดได้ง่ายๆ
    • Tilt to zoom ย่อ-ขยายหน้าจอด้วยการเอียงเครื่อง
    • Pan to move icon ย้ายไอคอนด้วยการขยับเครื่อง
    • Pan to browse images เลื่อนดูภาพแบบ Motion
    • Shake to update เขย่าเครื่องเพื่ออัปเดตสถานะ
    • Turn over to mute/pause คว่ำเครื่องเพื่อปิดเสียง
    • Palm swipe to capture จับภาพหน้าจอโทรศัพท์
    • Palm touch to mute/pause วางฝ่ามือบนหน้าจอเพื่อปิดเสียง
  • หมุนหน้าล็อกสกรีนเพื่อเปิดกล้อง
  • ปลดล็อกหน้าจอด้วย Motion

บทที่ 5 คุณสมบัติเด่นของ Galaxy S III มีอะไรบ้าง ใช้งานอย่างไร

คุณสมบัติเด่นของ Galaxy S III มีหลายอย่างด้วยกัน จะเรียกว่าเป็นลูกเล่นก็คงไม่ผิด เพราะไม่เพียงทำให้การใช้ Galaxy S III สะดวกสบายขึ้น ยังช่วยให้ใช้งานได้อย่างสนุกอีกด้วย ซึ่งผมรวบรวมลูกเล่นทั้งหมดพร้อมทั้งวิธีใช้งาน มาแนะนำไว้แล้วในบทนี้ ขอให้สนุกกับ Galaxy S III ของคุณนะครับ

  • AllShare Play แชร์ไฟล์ระหว่างอุปกรณ์
    • ล็อกอินเข้าใช้งาน
    • ติดตั้ง AllShare Play และการใช้งานบนคอมพิวเตอร์
    • ส่ง, แชร์ หรือเล่นไฟล์ผ่าน AllShare Play
    • แชร์ไฟล์ให้ดูกันถ้วนหน้าด้วย Group Cast
    • แชร์ไฟล์ภาพ, เพลง หรือวิดีโอ ไปยังอุปกรณ์อื่น
    • ใช้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลออนไลน์
  • AllShare Cast แสดงหน้าจอไปยังทีวี
  • Best photo เลือกภาพที่ดีที่สุดจาก 8 ช็อต
  • Buddy photo share/Social tag แชร์ภาพกับเพื่อน
    • การแท็กชื่อกับภาพของเพื่อน
    • ส่งภาพให้เพื่อนด้วยคุณสมบัติ Buddy photo share
    • ดูความเคลื่อนไหวของเพื่อนด้วย Social tag
    • ซิงค์ Facebook เพื่อใช้งาน Social tag
  • Direct call แค่ยกเครื่องแนบหูก็โทรออก
  • Pop up play ดูวิดีโอพร้อมกับใช้งานอื่นๆ
  • S Beam หันหลังชนกันแล้วแชร์ไฟล์
  • S Voice ใช้เสียงสั่งงาน
    • วิธีสั่งเปิดหรือเข้าถึงการใช้งานต่างๆ
    • ตั้งค่า 8 คำสั่งเสียงของเราเอง
  • Smart alert สายเรียกเข้าและข้อความที่พลาด
  • Smart stay ยังไงหน้าจอก็ไม่ดับถ้ายังจ้องอยู่

บทที่ 6 รู้จักและเข้าใจ 3G, Wi-Fi จนถึง 4G

แม้ว่าการใช้งาน 3G ในบ้านเรายังอยู่ในขั้นเตาะแตะ แต่ก็มีข่าวคราวการพัฒนาของเทคโนโลยี 4G อยู่เหมือนกัน ในฐานะที่คุณกำลังสนใจหรือมีสมาร์ตโฟนที่รองรับ 4G ได้ อย่าง Galaxy S III ก็ต้องคุยถึงเรื่องนี้กันสักเล็กน้อย นอกจากนี้ผมยังแนะนำการเลือกใช้แพ็กเกจ 3G ของผู้ให้บริการมือถือเอาไว้ด้วย

  • เทคโนโลยี 4G คืออะไร
  • มี 4G แล้วดีอย่างไร
  • ทิศทาง 4G เมืองไทย
  • โทรศัพท์รองรับ 3G ความถี่ไหน
  • ตรวจสอบพื้นที่การให้บริการ
  • เลือกแพ็กเกจที่เหมาะสม
  • Wi-Fi คืออะไร
    • เชื่อมต่อ Wi-Fi ในบ้าน
    • เชื่อมต่อ Wi-Fi Hotspot

บทที่ 7 ช่องทางและวิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

พลิกไปที่บทนี้เลยครับ ถ้ากำลังสงสัยและอยากรู้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นวิธีค้นหาและเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi หรือการตั้งค่าให้โทรศัพท์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน EDGE หรือ 3G และถ้าระบบไม่ตั้งค่า APN โดยอัตโนมัติ ก็เข้าไปดูคำแนะนำวิธีการตั้งค่า APN ของแต่ละค่ายที่ผมรวบรวมไว้แล้วได้เช่นกัน

  • เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi
    • ค้นหาและเชื่อมต่อ Wi-Fi
    • เพิ่มเครือข่ายด้วยตัวเอง
    • ดูข้อมูลหรือลบเครือข่าย
    • ตั้งค่าการใช้งาน Wi-Fi
  • เชื่อมต่อผ่าน EDGE หรือ 3G
    • เปิด-ปิดการใช้งานเครือข่าย
    • ตั้งค่าการใช้งานสัญญาณ EDGE หรือ 3G
    • ตั้งค่า APN เครือข่าย AIS
    • ตั้งค่า APN เครือข่าย DTAC
    • ตั้งค่า APN เครือข่าย TrueMove H
    • กำหนดโหมดการใช้งานเป็น 3G
  • แชร์อินเทอร์เน็ตให้อุปกรณ์อื่น

บทที่ 8 บันทึกและสำรองข้อมูลผู้ติดต่อ

ถ้าคุณมีข้อมูลผู้ติดต่ออยู่ใน SIM card หรือใน Google Contacts ก็สามารถดึงข้อมูลมาแสดงในเครื่องได้ทันที หรือในทางกลับกัน ถ้ามีการเพิ่มข้อมูลผู้ติดต่อใหม่ ก็สามารถซิงค์กับ Google Contacts เพื่อสำรองข้อมูลไว้ได้เลย พูดได้ว่าการบันทึกและสำรองข้อมูลผู้ติดต่อ เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ

  • อิมพอร์ต-เอ็กซ์พอร์ตผู้ติดต่อ
    • อิมพอร์ตข้อมูลผู้ติดต่อ
    • สำรองข้อมูลผู้ติดต่อ
  • สร้างผู้ติดต่อใหม่
  • เลือกว่าจะแสดงรายชื่อผู้ติดต่อที่บันทึกอยู่ที่ไหน
  • แก้ไขและจัดการข้อมูลผู้ติดต่อ
    • แก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลทั่วไปของผู้ติดต่อ
    • กำหนดเป็นรายชื่อโปรด
    • ปฏิเสธสายผู้ติดต่อรายนี้
  • ลบผู้ติดต่อออกจาก Contacts
  • สร้างกลุ่มผู้ติดต่อ
    • เปลี่ยนลำดับการแสดงกลุ่ม
    • สร้างกลุ่มใหม่
    • แก้ไขชื่อและข้อมูลของกลุ่ม
    • ลบรายชื่อผู้ติดต่อออกจากกลุ่ม
    • ลบกลุ่มที่สร้างขึ้น
  • สร้างปุ่มโทรด่วน
    • กำหนดปุ่มโทรด่วนสำหรับผู้ที่เราติดต่อบ่อยๆ
    • สลับปุ่มโทรด่วน
    • ลบผู้ติดต่อจากปุ่มโทรด่วน

บทที่ 9 ใช้งานเกี่ยวกับการโทรและ SMS/MMS

การโทรออก เป็นฟังก์ชันพื้นฐานที่สามารถทำได้หลายวิธีจากหลายช่องทาง เช่น โทรจาก Contacts, โทรจากประวัติการโทร หรือโทรด้วย S Voice ก็ได้ เพราะแอป Phone และแอปต่างๆ ในเครื่องต่างก็เชื่อมโยงถึงกันอยู่แล้ว เมื่อเราเจอเบอร์โทรที่ต้องการ ก็สามารถสั่งโทรออกได้ทันที นอกจากนี้ผมยังแนะนำการส่ง SMS/MMS ไว้ตอนท้ายแบบไม่ตกหล่น

  • กดเบอร์โทรออกเอง
  • โทรจากประวัติการโทร
    • ลือกดูประวัติการโทรตามเงื่อนไข
    • ลบประวัติการโทร
  • โทรจากรายชื่อโปรด
    • เปลี่ยนมุมมองของรายชื่อโปรด
    • เพิ่มรายชื่อโปรด
    • ลบรายชื่อโปรด
  • โทรออกจาก Contacts
  • โทรจากปุ่มโทรด่วน
  • โทรออกด้วยคำสั่งเสียงผ่าน S Voice
  • การรับและปฏิเสธสายเรียกเข้า
  • การรับสายเรียกซ้อน
  • สนทนาหลายสายพร้อมกัน
    • กรณีที่เรารับสายที่สามเพิ่ม
    • กรณีที่เราโทรออกไปหาบุคคลที่สาม
    • ยกเลิกสายออกจากการสนทนา
  • ปรับระดับเสียงขณะสนทนา
  • ปุ่มต่างๆ บนหน้าจอสนทนา
  • ใช้งานหูฟังกับการโทร
  • ใช้งานแอปอื่นขณะรับสาย
  • ปฏิเสธสายเรียกเข้า
    • เพิ่มเบอร์ที่จะปฏิเสธการรับสาย
    • ยกเลิกเบอร์จากการปฏิเสธสาย
  • กำหนดข้อความปฏิเสธการรับสาย
  • ตั้งค่าการรับและวางสาย
  • ตั้งค่าการโอนสาย
  • รับ-ส่ง SMS และ MMS

บทที่ 10 ดูหนัง, ฟังเพลง, ฟังวิทยุ และดูทีวีออนไลน์

หน้าจอขนาด 4.8 นิ้วจะว่าใหญ่ก็ไม่เชิง แต่ผมค่อนข้างพอใจเวลาเปิดดูทีวีหรือดูหนัง เพราะให้มุมมองกำลังดี ส่วนเครื่องเล่นเพลงมีฟังก์ชันหนึ่งที่ผมอยากให้ลองใช้ดู คือ Music square ซึ่งเป็นการเล่นเพลงโดยสุ่มตามอารมณ์หรือปีของเพลง เพราะช่วยให้เราได้อรรถรสการฟังอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะถูกใจคุณ

  • ใช้งานแอป Video player
    • เลือกวิดีโอที่อยากดู
    • หน้าจอการเล่นวิดีโอ
    • ดูวิดีโอแบบ pop up
    • ดูตัวอย่างวิดีโอแต่ละช่วง
    • ตั้งเวลาหยุดเล่นวิดีโออัตโนมัติ
    • ดูข้อมูลวิดีโอ
    • ตั้งค่าการดูวิดีโอ
  • ตัดต่อวิดีโอ
  • ฟังเพลงบน Music player
    • เลือกเพลงที่อยากฟัง
    • หน้าจอการเล่นเพลง
    • ดูข้อมูลของเพลงที่กำลังฟัง
    • เลือกเพลงอื่นขณะที่กำลังฟังเพลง
  • ฟังเพลงเพลินใจด้วย Music square
    • อัปเดตไลบรารี
    • เปลี่ยนรูปแบบการสุ่มเพลง
  • ฟังเพลงพร้อมกับใช้งานอื่นบนเครื่อง
  • ปรับแต่งโทนเสียงของการฟังเพลง
  • จัดหมวดหมู่เพลงของเราเอง
    • สร้างเพลย์ลิสต์
    • เพิ่มเพลงไปยังเพลย์ลิสต์
    • ลบเพลงออกจากเพลย์ลิสต์
    • แก้ไขชื่อเพลย์ลิสต์
    • ลบเพลย์ลิสต์
  • แชร์เพลงให้เพื่อน
  • ตั้งเพลงเป็นเสียงเตือน
  • ตั้งค่าการฟังเพลง
  • เปิด Radio ฟังสถานีโปรด
    • ค้นหาสถานี
    • สถานีเพลงโปรด
    • บันทึกรายการเก็บไว้ฟัง
  • ดูทีวีออนไลน์บน Galaxy S II

บทที่ 11 ถ่ายภาพและวิดีโอ

กล้องถ่ายภาพของ Galaxy S III มีความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มีฟังก์ชันการถ่ายภาพให้เลือกใช้พอสมควร และฟังก์ชันเจ๋งๆ ก็มีอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Best photo, Burst shot, HDR, Share shot หรือ Buddy photo share ถ้าอยากรู้ว่าฟังก์ชันเหล่านี้คืออะไร น่าสนใจขนาดไหน และใช้งานยังไง ก็ชัวร์ครับว่าต้องพลิกไปอ่านกันดู

  • วิธีเปิดกล้องจากหน้าจอล็อกสกรีน
  • ส่วนประกอบต่างๆ บนหน้าจอกล้องถ่ายภาพ
  • ตั้งค่าทั่วไปของกล้องถ่ายภาพ
  • รูปแบบการถ่ายภาพต่างๆ ใน Shooting mode
  • ถ่ายภาพด้วยโหมด Burst shot/Best shot
  • ถ่ายภาพด้วยโหมด HDR
  • แท็กภาพและแชร์ด้วย Buddy photo share
  • แชร์ภาพด้วย Share shot
  • รูปแบบการถ่ายภาพต่างๆ ใน Scene mode
  • จัดวางชอร์ตคัตบนหน้าจอกล้องถ่ายภาพ
  • ถ่ายวิดีโอด้วย Galaxy S III
  • ถ่ายภาพนิ่งขณะถ่ายวิดีโอ
  • ตั้งค่าทั่วไปของการถ่ายวิดีโอ
  • จัดวางชอร์ตคัตบนหน้าจอกล้องวิดีโอ

บทที่ 12 เชื่อมต่อเพื่อแชร์ไฟล์กับอุปกรณ์อื่น

ในการใช้สมาร์ตโฟนเรามักจะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่มากก็น้อย และความสามารถในการเชื่อมต่อนี้อาจจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสาวก Galaxy บางคนก็ได้ เพราะต้องการแชร์ไฟล์ต่างๆ กับเพื่อน หรือซิงค์ (sync) ข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ่อยๆ การเชื่อมต่อ Galaxy S III กับอุปกรณ์อื่นสามารถทำได้หลายช่องทาง สะดวกทางไหนก็ดูวิธีการของช่องทางนั้นๆ ได้เลย

  • เชื่อมต่อเพื่อแชร์ไฟล์กับคอมพิวเตอร์
  • แชร์ไฟล์ผ่าน Bluetooth
    • ค้นหาและจับคู่อุปกรณ์
    • ยกเลิกการจับคู่กับอุปกรณ์อื่น
    • ส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth
    • รับไฟล์ผ่าน Bluetooth
    • เปลี่ยนชื่ออุปกรณ์และตั้งเวลามองเห็นอุปกรณ์
  • แชร์ไฟล์ผ่าน Wi-Fi Direct
    • การเปิดใช้งานและเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น
    • ส่งไฟล์ผ่าน Wi-Fi Direct
    • รับไฟล์ผ่าน Wi-Fi Direct

บทที่ 13 ท่องเว็บกับ Android Browser

การท่องเว็บด้วย Galaxy S III เป็นเรื่องชิลล์ๆ ที่ทำได้สะดวกไม่แพ้การท่องเว็บผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก Galaxy S III มีหน้าจอขนาดค่อนข้างใหญ่ พร้อมทั้งคุณสมบัติของเบราเซอร์ที่ออกแบบมาให้สามารถเปิดเว็บพร้อมกันได้หลายหน้า มาดูวิธีการใช้เบราเซอร์ท่องเว็บ, สร้างบุ๊กมาร์ก, สร้างชอร์ตคัตของเว็บ และการใช้งานอื่นๆ ได้ในบทนี้ครับ

  • ท่องเว็บไซต์ไปกับ Android
    • เปิดเว็บโดยพิมพ์ URL
    • เปิดเว็บจาก Search Engine
    • เปิดเว็บจาก Bookmarks หรือ History
  • เปลี่ยนมุมมองการดูเว็บ
  • ย่อ-ขยายหน้าจอเว็บ
  • ปรับความสว่างหน้าจอ
  • แชร์เว็บให้เพื่อน
  • บันทึกเว็บไว้อ่านแบบออฟไลน์
  • เปิดลิงก์ในหน้าต่างใหม่
  • สร้างชอร์ตคัตของเว็บไว้ที่หน้าจอโฮม
  • ควบคุมการใช้งานเว็บ
  • ค้นหาคำหรือข้อความในเว็บ
  • คัดลอกข้อความในเว็บ
  • บันทึกรูปภาพในเว็บ
  • เปิดเว็บหน้าใหม่
  • สลับเว็บ
  • ลบเว็บ
  • ใช้งานบุ๊กมาร์ก
    • บันทึกเว็บเพจไว้ในบุ๊กมาร์ก
    • เปลี่ยนมุมมองบุ๊กมาร์ก
    • จัดเรียงบุ๊กมาร์ก
    • จัดการเว็บที่บันทึกไว้
    • สร้างโฟลเดอร์ในบุ๊กมาร์ก
    • ย้ายเว็บไปยังโฟลเดอร์
    • แก้ไขชื่อหรือลบโฟลเดอร์
  • ใช้งาน History
  • เปิดเว็บแบบออฟไลน์
  • เปิดเว็บใน Incognito Mode
  • เปลี่ยน Search Engine
  • เปิดเว็บด้วยเบราเซอร์อื่น

บทที่ 14 ใช้งานแอป Gmail

ใครที่ใช้ Gmail ในการติดต่องานอยู่แล้ว ผมรับประกันได้เลยว่าสามารถใช้งานทุกอย่างที่ Gmail ทำได้ผ่านแอป Gmail ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการเช็กเมล, ตอบเมลกลับ, ส่งเมลต่อ, กำหนดอีเมลสำคัญ, เขียนอีเมลพร้อมทั้งแนบไฟล์, ใช้งาน Labels ฯลฯ แถมยังสามารถเพิ่มแอ็กเคาต์เพื่อใช้งานได้มากกว่า 1 แอ็กเคาต์อีกด้วยแฮะ

  • เพิ่มแอ็กเคาต์ Gmail
  • ลบแอ็กเคาต์ Gmail
  • สลับแอ็กเคาต์ Gmail
  • เช็กอีเมลใน Gmail
    • เปิดอ่านอีเมล
    • เปิดอ่านอีเมลแบบ Conversation
    • สถานะของอีเมล
    • กำหนดเป็นอีเมล Starred
    • กำหนดเป็นอีเมล Archive
    • กำหนดเป็นอีเมลสำคัญ
    • กำหนดเป็นอีเมลที่ยังไม่ได้อ่าน
    • ลบอีเมล
    • ยกเลิกการกระทำกับอีเมล
  • ดาวน์โหลดรูปภาพหรือไฟล์แนบ
  • ตอบกลับหรือส่งต่ออีเมลที่ได้รับ
  • เขียนและส่งอีเมลฉบับใหม่
  • ส่งอีเมลฉบับร่าง
  • ย้ายอีเมลไปยัง Label
  • ตั้งค่าการใช้งาน Label
  • ตั้งค่าการใช้งาน
    • ตั้งค่าการใช้งานทั่วไป
    • ตั้งค่าการใช้งานแอ็กเคาต์

บทที่ 15 ใช้อีเมลอื่นๆ ผ่านแอป Email

Email เป็นแอปที่มีไว้รองรับความต้องการใช้งานของคนที่เป็นสมาชิกบริการอีเมลอื่นๆ นอกเหนือจาก Gmail เช่น Hotmail หรือ Yahoo! โดยสามารถเพิ่มแอ็กเคาต์ผ่านทางแอปตัวนี้ได้เลย จะกี่แอ็กเคาต์ก็ได้ ถึงแม้เป็นอีเมลแอ็กเคาต์ต่างค่ายกัน ก็จับมาใช้งานร่วมกันผ่านแอปนี้ได้หมดอย่างไร้ปัญหา

  • เพิ่มแอ็กเคาต์อีเมลแรก
  • เพิ่มแอ็กเคาต์อีเมลอื่น
  • เลือกแอ็กเคาต์ที่จะใช้งาน
  • กำหนดการแสดงผลของอีเมล
    • กำหนดเงื่อนไขการแสดงอีเมลก่อน-หลัง
    • เลือกโหมดการแสดงอีเมล
  • เปิดดูอีเมลตามโฟลเดอร์
  • เปิดอ่านอีเมล
  • ตอบกลับ, ส่งต่อ หรือลบอีเมล
  • เขียนอีเมลใหม่
  • ตั้งค่าการใช้งาน
    • ตั้งค่าการใช้งานทั่วไป
    • ตั้งค่าการใช้งานแอ็กเคาต์

บทที่ 16 ใช้งาน Maps, Street View, Latitude และ Local

Google ได้ปรับปรุงและพัฒนาบริการแผนที่หรือ Maps ของตัวเองอยู่ตลอดเวลา จึงมีอะไรใหม่ๆ ออกมาให้เราใช้อยู่เรื่อยๆ ซึ่งไม่เพียงการใช้งานกับคอมพิวเตอร์อย่างโน้ตบุ๊ก, พีซี และแมคอินทอชเท่านั้น กับสมาร์ตโฟนก็ทำได้ในลักษณะเดียวกัน อย่างเช่น Google Street View ซึ่งรองรับการใช้งานในเมืองไทยแล้ว รวมทั้งบริการใหม่แกะกล่องอย่าง Google Maps Offline ก็น่าสนใจไม่น้อย

  • GPS คืออะไร
  • การแสดงผลของ Maps
    • เรียกดูตำแหน่งปัจจุบัน
    • ดูแผนที่ในมุมมองเข็มทิศ
    • การดูแผนที่แบบ 3 มิติ
    • มุมมองแผนที่แบบต่างๆ
  • ค้นหาสถานที่ด้วย Maps
    • ค้นหาด้วยการเสิร์ช
    • ค้นหาด้วย POI
    • ค้นหาจากสถานที่โปรด
    • ค้นหาจาก Local
    • ค้นหาจากละติจูด
  • ดูข้อมูลสถานที่
    • กำหนดเป็นสถานที่โปรด
    • แสดงความคิดเห็นกับสถานที่นั้น
    • ดูระดับความพึงพอใจและอ่านความคิดเห็น
    • บันทึกสถานที่ใน Contacts
    • อัปโหลดรูปภาพสถานที่
  • ดูสถานที่ด้วย Street View
    • รู้จัก Google Street View
    • วิธีใช้งาน Street View
  • ใช้งานแผนที่แบบออฟไลน์
  • นำทางด้วย Maps
    • เคลียร์เส้นทางบนแผนที่
    • ขอเส้นทางย้อนกลับ
  • แชร์ตำแหน่งกับเพื่อนผ่าน Latitude
    • เปิดใช้งาน Latitude
    • ชวนเพื่อนมาแชร์ตำแหน่ง
    • ตอบรับคำขอแชร์ตำแหน่ง
    • ดูตำแหน่งของเพื่อน
    • ตั้งค่าการแชร์ตำแหน่ง
  • ค้นหาสถานที่ด้วย Local
    • ค้นหาตามประเภทและระดับเรตติ้ง
    • สร้างประเภทการค้นหาใหม่
    • ลบประเภทการค้นหา

บทที่ 17 ดูวัน/เดือน/ปี และสร้างตารางนัดหมาย

ปฏิทินหรือ Calendar เป็นแอปที่สามารถเลือกมุมมองได้หลากหลาย ทั้งแบบรายปี, รายเดือน, รายสัปดาห์, รายวัน รวมทั้งเลือกให้แสดงเฉพาะรายการนัดหมายที่เราบันทึกไว้ก็ได้ และตอนที่จดบันทึกข้อมูลการนัดหมาย เราสามารถระบุรายละเอียดและเงื่อนไขได้อย่างครบถ้วน คือ นอกจากวัน, เวลา และสถานที่แล้ว ยังกำหนดเวลาการแจ้งเตือนและแชร์ข้อมูลการนัดหมายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน

  • มุมมองต่างๆ ของปฏิทิน
    • วิธีเปลี่ยนมุมมองปฏิทิน
    • ไปยังวันที่ปัจจุบัน
    • ไปยังวันที่ไหนๆ ก็ได้
    • ค้นหานัดหมาย
    • เปิดอ่านนัดหมาย
  • สร้างหรือบันทึกนัดหมายใหม่
  • ตอบสนองการแจ้งเตือนนัดหมาย
  • เชื่อมโยง S Memo กับปฏิทิน
  • การซิงค์ปฏิทิน
  • แก้ไขนัดหมายที่สร้างหรือบันทึกไว้
  • แชร์นัดหมายให้ผู้เกี่ยวข้อง
  • ลบนัดหมาย
  • ตั้งค่าปฏิทิน

บทที่ 18 สารพัดแอปพลิเคชันบน Galaxy S III

มีแอปใหญ่แอปน้อยในเครื่องอีกหลายแอปที่อาจจะมีบทบาทน้อยหน่อย แต่จะไม่เขียนถึงเลยก็กระไรอยู่ เพราะแต่ละแอปก็มีประโยชน์ใช้สอยเฉพาะตัว และจะว่าไปแล้วหลายๆ แอปก็น่าสนใจไม่เบา เช่น ChatON แอปสำหรับแชตเหมือนกับ WhatsApp, เว็บรับฝากไฟล์ฟรีอย่าง Dropbox หรือ Polaris Office ที่ใช้สำหรับจัดการงานเอกสาร ฯลฯ

  • แชตกับใครก็ได้ด้วย ChatON
  • มีเวลาให้ใช้มากมายในแอป Clock
  • ฝากไฟล์กับ Dropbox
  • แชร์ไฟล์จาก Dropbox ให้ผู้อื่น
  • คุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์ด้วย Google Plus
  • แชตกับเพื่อนผ่าน Messenger
  • จัดการไฟล์ในเครื่องด้วย My files
  • จัดการเอกสารด้วย Polaris Office
  • บันทึกเรื่องราวใน S Memo
  • แชตกับเพื่อนผ่าน Talk
  • อัดเสียงด้วย Voice Recorder
  • ดูคลิปวิดีโอใน YouTube

บทที่ 19 ดาวน์โหลดแอปจาก Google Play

Google Play คือแหล่งรวมแอปต่างๆ สำหรับใช้งานในระบบ Android ทั้งแอปฟรีและแอปเสียเงิน ผู้ใช้ Galaxy S III สามารถเข้าไปเลือกดาวน์โหลดแอปต่างๆ ที่ Google Play ได้ผ่านแอปชื่อ Play Store ซึ่งมาพร้อมกับระบบ Android อยู่แล้ว

  • แอปและเกมใน Google Play
  • ค้นหาและดาวน์โหลดแอปลง Galaxy S III ทันที
    • ดาวน์โหลดแอปฟรี
    • ดาวน์โหลดแอปเสียเงิน
  • ขอเงินค่าแอปคืน
  • ค้นหาและดาวน์โหลดแอปผ่านคอมพิวเตอร์
    • ต้องล็อกอินด้วยแอ็กเคาต์ Gmail ก่อน
    • ดาวน์โหลดแอปฟรี
    • ดาวน์โหลดแอปเสียเงิน
  • ติดตั้งแอปจากไฟล์ .apk
  • ดาวน์โหลดแอปด้วยการสแกน QR Code
  • อัปเดตแอปพลิเคชัน
    • อัปเดตเฉพาะแอปที่ต้องการ
    • อัปเดตแอปทั้งหมด
  • ลบแอปพลิเคชัน
    • ลบจาก My Apps
    • ลบจาก Application manager

บทที่ 20 อินเทรนด์กับ Instagram

รูปจะสวยโดดเด่นทุกรูป ถ้าผ่านการตกแต่งและโชว์ใน Instagram ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสังคมออนไลน์ยอดนิยมและเป็นแอปคู่ขวัญของ Facebook ก็คงไม่ผิด เพราะรูปภาพใน Instagram จะอวดโฉมผ่าน Facebook ไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ใน Instagram เองก็สามารถกด Like, แชร์ และเมนต์ได้ด้วยนะ แถมยังเป็นแอปที่ซุป’ตาร์และเซเลบชอบเล่นกันซะด้วย

  • ล็อกอินใช้งาน Instagram
  • มีอะไรบ้างในหน้าจอ Instagram
  • สร้างข้อมูลและใส่ภาพประจำตัวก่อน
  • ค้นหาว่าใครใช้ Instagram บ้าง
  • ถูกใจหรือเมนต์รูปเพื่อน
  • โชว์รูปกับเค้าบ้างสิ
  • กำหนดความเป็นส่วนตัว

บทที่ 21 เล่น Facebook สนุกโพสต์, แชร์ และเมนต์

หลายปีแล้วที่ Facebook เป็นสังคมออนไลน์ยอดนิยมของคนไทย ใครๆ ก็มี Facebook กันถ้วนหน้า สาวก Galaxy อย่างเราๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง และถ้าใครที่พลาดไม่ได้กับการติดตามความเคลื่อนไหวใน Facebook แล้วล่ะก็ สบายใจได้เลย เพราะ Galaxy S III สามารถดาวน์โหลดแอป Facebook for Android จาก Google Play มาใช้ได้ทันใจ

  • ล็อกอินใช้งาน Facebook
  • มีอะไรบ้างในหน้าจอ Facebook for Android
  • ไลค์, คอมเมนต์, แชร์ Status ของเพื่อน
  • แชตกับเพื่อน
  • อัปเดต Status ของเราบ้าง
  • ค้นหาสิ่งที่ต้องการในโลก Facebook
  • ตั้งค่าการแจ้งเตือน

บทที่ 22 เล่น LINE กันเถอะ

ผมคาดไม่ถึงว่า LINE จะกลายเป็นแอปสำหรับแชตที่มีคนดาวน์โหลดมากที่สุด ถึงขนาดฮอตฮิตติดอันดับหนึ่ง แสดงว่าเป็นแอปที่โดนใจผู้ใช้จริงๆ ใครยังไม่ได้เล่น LINE ชั่วโมงนี้ต้องถือว่า out ไปแล้ว แถมยังมีแอปเสริมบารมีอีก 2 แอป ชื่อ LINE camera กับ LINE Card มาช่วยเพิ่มสีสันและความเพลิดเพลินกับการเล่น LINE อีกเพียบ...ขอบอก

  • ลงทะเบียนเล่น LINE
  • ตั้งค่าโพรไฟล์
  • หาเพื่อนเล่น LINE
  • แชต LINE กับเพื่อน
  • สร้างกลุ่มการแชต
  • แชร์ภาพสวยๆ ด้วย LINE camera
  • ส่งการ์ดอารมณ์ดีด้วย LINE Card