ใช้ให้เป็น เล่นให้เพลิน Samsung Galaxy S II + android
ผู้เขียน: กิตติ ภูวนิธิธนา
ISBN: 978-616-7119-43-4
จำนวนหน้า: 360 หน้า
ขนาด: 16.5 x 19 x 1.7 ซม.
รูปแบบหนังสือ:
พิมพ์ 4 สี
ราคาปก: 199 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 175 บาท
- แรงสุดๆ ด้วยดูอัลคอร์ 1.2 กิกะเฮิรตซ์ ภายใต้หน้าจอ Super AMOLED Plus และระบบ TOUCHWIZ ที่สมบูรณ์แบบ
- เปิดดูและแก้ไขรูปภาพด้วย Gallery และ Photo editor หรือตัดต่อวิดีโอด้วย Video maker
- อธิบายวิธีใช้ App เด่นๆ ภายใต้ระบบฏิบัติการ Android เช่น Polaris Office, Internet, Email ฯลฯ
- เติมเต็มด้วยวิธีใช้ App ฮอตๆ จาก Android Market อย่าง Facebook, WhatsApp ฯลฯ
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง?
- นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน รวมถึงผู้ที่สนใจศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้แผนที่ความคิด
- ผู้ที่สนใจการสร้างแผนที่ความคิดด้วยคอมพิวเตอร์
ควรรู้อะไรมาบ้างก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้?
- ไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคอะไรเลย แค่มีความสนใจที่จะศึกษาหรือใช้งาน Samsung Galaxy S II, Galaxy R หรือ Galaxy S Plus ให้ได้คุ้มค่าก็พอ ส่วนที่เหลือ...หนังสือเล่มนี้จะช่วยคุณเอง
จะทดลองทำตามขั้นตอนที่อธิบายในหนังสือ ต้องมีอะไรบ้าง?
- มีโทรศัพท์ Saumsung Galaxy S II, Galaxy R หรือ Galaxy S Plus หรือ Galaxy รุ่นอื่นที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 2.3
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็น EDGE, GPRS, Wi-Fi หรือ 3G
ภาคหนึ่ง: การใช้งานเครื่อง Galaxy
บทที่ 1 แนะนำ Galaxy S II, Galaxy R และ Galaxy S Plus
ใครที่ยังไม่รู้จักคุณสมบัติของเครื่องเท่าไร บทแรกนี้จะแนะนำทั้งส่วนประกอบ, คุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเด่นในการใช้งาน Galaxy S II, Galaxy R และ Galaxy S Plus ว่าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อควรพิจารณาอะไรบ้าง หรือถ้าตัดสินใจซื้อแล้ว ต้องตรวจสอบอะไรบ้างก่อนจะรับเครื่อง ไปจนถึงการดูแลรักษา
- รู้จัก Galaxy S II
- คุณสมบัติทั่วไปของ Galaxy S II
- รู้จัก Galaxy R
- คุณสมบัติทั่วไปของ Galaxy R
- รู้จัก Galaxy S Plus
- คุณสมบัติทั่วไปของ Galaxy S Plus
- ไอคอนแสดงสถานะ
- การเลือกซื้อและตรวจสอบเครื่อง
บทที่ 2 รู้จักและเข้าใจการใช้ 3G และ Wi-Fi
แม้ดูเหมือนว่ามีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายแล้ว แต่ถ้าจะบอกว่าระบบ 3G และ Wi-Fi ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ใช้หลายๆ คน ก็คงไม่ผิดนัก เพราะยังมีข้อสงสัยให้ถามและตอบกันอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะเป็น 3G และ Wi-Fi คืออะไร, ความถี่ของสัญญาณเป็นอย่างไร, ผู้ให้บริการแต่ละค่ายมีความแตกต่างกันอย่างไร, จะใช้บริการของค่ายไหนดี เป็นต้น แล้วปิดท้ายบทด้วยวิธีเชื่อมต่อและใช้บริการ Wi-Fi Hotspot ที่ช่วยให้ต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา
- 3G คืออะไร
- ตรวจสอบอุปกรณ์ว่ารองรับ 3G หรือไม่
- สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ 3G
- รู้จักผู้ให้บริการ 3G ในเมืองไทย
- เลือกแพ็กเกจ 3G ให้เหมาะกับตัวเอง
- ตั้งค่าอุปกรณ์ให้เชื่อมต่อ 3G
- Wi-Fi คืออะไร
- การเชื่อมต่อ Wi-Fi ในบ้าน
- ใช้บริการ Wi-Fi นอกบ้านกับ Hotspot
บทที่ 3 พื้นฐานการใช้งาน
ก่อนที่จะใช้งานจริง ขอแนะนำให้ทำความเข้าใจวิธีการใช้งานพื้นฐานของเครื่องก่อน เช่น การเพิ่ม-ลดจำนวนหน้า Home เพื่อใช้ในการวางไอคอนของแอปต่างๆ, การสร้างชอร์ตคัตคำสั่ง, การสร้างโฟลเดอร์จัดเก็บไอคอนให้เป็นหมวดหมู่, การจัดการวิดเจ็ต, การใช้งานคีย์บอร์ด ฯลฯ เพราะจะช่วยให้การใช้งานส่วนอื่นๆ ลื่นไหลและคล่องตัวมากขึ้น
- การแสดงผลที่หน้า Home
- ส่วนประกอบบนหน้า Home
- สถานะเกี่ยวกับการเตือน
- เพิ่ม-ลดหน้า Home
- การลบหน้า Home
- สลับหน้า Home
- เปลี่ยนวอลล์เปเปอร์
- เพิ่มวิดเจ็ตบนหน้า Home
- เพิ่มชอร์ตคัตบนหน้า Home
- สร้างโฟลเดอร์จัดเก็บไอคอนและชอร์ตคัต
- ย้ายตำแหน่งไอคอนบนหน้า Home
- ลบไอคอน, วิดเจ็ต, ชอร์ตคัต และโฟลเดอร์
- จัดการไอคอนแอปพลิเคชันในเมนู
- เปลี่ยนการแสดงผล
- ย้ายตำแหน่งไอคอน
- สร้างโฟลเดอร์
- เพิ่มจำนวนหน้าในการวางไอคอน
- ลบแอปพลิเคชัน
- นำไอคอนไปไว้ที่หน้า Home
- มุมมองการใช้งาน
- การสัมผัสเพื่อควบคุมหน้าจอ
- การควบคุมตามปกติทั่วไป
- การควบคุมแบบ Motion
- การล็อกและปลดล็อกหน้าจอ
- การปลดล็อกพื้นฐาน
- ตั้งค่าการปลดล็อก
- การปรับระดับเสียง
- การใช้งานคีย์บอร์ด
- เลือกรูปแบบการพิมพ์
- การพิมพ์แบบ Swype
- ปุ่มกดของ Samsung
- เลือก, ตัด, คัดลอก และวางข้อความ
บทที่ 4 ใช้งานเกี่ยวกับการโทร
เนื้อหาบทนี้จะแนะนำวิธีการโทรทั้งหมด ตลอดจนวิธีควบคุมการใช้งานต่างๆ ระหว่างที่รับสาย เช่น การเพิ่ม-ลดระดับเสียงลำโพง, การเปิดแป้นตัวเลข, การพักสาย, การรับสายเรียกซ้อน ไปจนถึงการคุยหลายสายพร้อมกันเป็นวงสนทนา รวมทั้งการยกเลิกสายออกจากวงสนทนา ฯลฯ
- การโทรออก
- โทรออกโดยกดเบอร์ด้วยตัวเอง
- โทรจากประวัติการโทร
- การเลือกดูประวัติการโทรตามเงื่อนไข
- โทรจากรายชื่อที่ชอบ
- เพิ่มผู้ติดต่อใน Favourites
- โทรออกจากรายชื่อ
- โทรออกโดยการโทรด่วน
- กำหนดปุ่มโทรด่วน
- การย้ายหรือลบปุ่มโทรด่วน
- โทรโดยใช้คำสั่งเสียง
- สนทนาแบบเห็นหน้าด้วย Video Call
- การรับสาย
- ปรับระดับเสียงขณะสนทนา
- เปิดใช้งานลำโพงขณะสนทนา
- เปิดแป้นตัวเลขระหว่างรับสาย
- ปิดเสียงระหว่างสนทนา
- การพักสาย
- ค้นหารายชื่อ-เรียกใช้สมุดบันทึกขณะรับสาย
- การรับสายเรียกซ้อน
- สนทนาหลายสายพร้อมกัน
- กรณีที่เรารับสายที่สามเพิ่ม
- กรณีที่เราโทรออกไปหาบุคคลที่สาม
- ยกเลิกสายสนทนาออกจากการคุยหลายสาย
- การโอนสาย
บทที่ 5 สร้างรายชื่อผู้ติดต่อใน Contacts
เราสามารถจัดเก็บข้อมูลของเพื่อนหรือผู้ที่เราต้องการติดต่ออย่างครบถ้วน เพราะมีช่องกรอกข้อมูลตั้งแต่เบอร์มือถือ, เบอร์บ้าน, ที่อยู่, อีเมล, เว็บไซต์ ฯลฯ และยังสามารถซิงค์ (sync) ไปจัดเก็บไว้ใน Gmail Contacts ได้ทันที ถ้าต้องการตั้งเสียงเรียกเข้าเฉพาะบุคคล, ใส่ภาพผู้ติดต่อ, สร้างกลุ่มจัดเก็บรายชื่อ รวมทั้งการจัดการอื่นๆ ก็สามารถทำได้อย่างสะดวก
- นำเข้า-ส่งออกรายชื่อผู้ติดต่อ
- คัดลอกข้อมูลจากซิมการ์ด
- คัดลอกข้อมูลไปยังซิมการ์ด
- จัดการรายชื่อผู้ติดต่อใน Contacts
- เพิ่มรายชื่อใหม่
- แก้ไขข้อมูลผู้ติดต่อ
- ลบรายชื่อผู้ติดต่อจาก Contacts
- จัดกลุ่มรายชื่อผู้ติดต่อ
- เพิ่มรายชื่อเข้ากลุ่ม
- แก้ไขข้อมูลของกลุ่ม
- ลบรายชื่อออกจากกลุ่ม
- สร้างกลุ่มใหม่ด้วยตัวเอง
- ลบกลุ่มที่สร้างขึ้น
- สร้างรายชื่อโทรด่วน
- กำหนดรายชื่อโทรด่วน
- เพิ่มหรือลบผู้ติดต่อกับปุ่มโทรด่วน
บทที่ 6 ส่งข้อความ SMS และ MMS
ไม่ว่ารับหรือส่งข้อความ SMS และ MMS ล้วนทำได้ง่ายๆ หน้าจอ Galaxy S II, Galaxy R และ Galaxy S Plus มีขนาดใหญ่ทำให้อ่านข้อความได้ชัดเจนสบายตา การพิมพ์ข้อความทำได้คล่องผ่านคีย์บอร์ดซึ่งเลือกปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามความถนัด การแนบไฟล์, การเรียกใช้คำสั่ง ตลอดจนการเลือกไฟล์ที่ต้องการ ก็ทำได้อย่างคล่องมือ
- เปิดอ่านข้อความ SMS
- เปิดดูข้อความ MMS
- จัดการข้อความ MMS
- ตอบกลับข้อความ
- ส่งต่อข้อความ
- คัดลอกข้อความ
- ล็อกข้อความป้องกันการลบ
- ค้นหา SMS และ MMS
- เขียนข้อความส่ง SMS
- ลบข้อความที่ไม่ต้องการ
บทที่ 7 เครื่องเล่นเพลงใน Galaxy
คนที่ชอบฟังเพลงและจัดการกับเพลงที่ชอบ คงถูกใจกับเครื่องเล่นเพลงที่มีให้ใช้ เพราะสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนและง่ายมาก คือ เลือกดูข้อมูลเพลงตามเงื่อนไขได้, เวลาฟังสามารถปรับโทนเสียงได้, แชร์เพลงให้เพื่อนได้, ตั้งเพลงเป็นเสียงรอสายได้ หรือจะแบ่งเพลงเป็นหมวดๆ ก็สามารถทำได้เหมือนกัน
- ส่วนต่างๆ ของเครื่องเล่นเพลง
- ฟังเพลงที่ต้องการ
- การค้นหาและเล่นเพลงที่ต้องการฟัง
- หน้าจอการเล่นเพลง
- ปุ่มควบคุมการฟังเพลง
- ควบคุมการฟังเพลงจากหน้าจอหลัก
- เพิ่มเพลงไปยัง Quick List
- ตั้งเพลงเป็นเสียงเรียกเข้า
- แชร์เพลงผ่านบลูทูธ
- เพิ่มเพลงเข้าหมวดหมู่
- แชร์เพลงผ่านช่องทางต่างๆ
- ดูรายละเอียดของเพลงและตั้งค่าการฟังเพลง
- ลบเพลงที่ไม่ต้องการ
- ตั้งค่าการทำงานของเครื่องเล่นเพลง
- ตั้งค่าอีควอไลเซอร์
- ตั้งค่าเอ็ฟเฟ็กต์เสียง
- กำหนดการแสดงเมนูเครื่องเล่นเพลง
- สร้างหมวดหมู่เพลง
- สร้างหมวดหมู่เพลงขึ้นใหม่
- แก้ไขชื่อหมวดหมู่เพลง
- เพิ่มเพลงเข้าหมวดหมู่
- ย้ายตำแหน่งเพลงในหมวดหมู่
- ลบหมวดเพลงออกจากหมวดหมู่
- ลบหมวดหมู่ที่สร้างขึ้น
บทที่ 8 ดูวิดีโอบน YouTube และไฟล์วิดีโอ Full HD
ด้วยคุณสมบัติที่สามารถเล่นไฟล์ที่มีความละเอียดสูงระดับ Full HD ได้ การชมภาพยนตร์ผ่านเครื่องเล่นวิดีโอ หรือการดูคลิปวิดีโอผ่าน YouTube จึงได้รับอรรถรสที่เต็มอิ่ม ด้วยวิธีใช้งานที่ง่ายมากๆ เพราะออกแบบมาค่อนข้างดี ทั้งการเปิดดูคลิป, คอมเมนต์, แสดงความถูกใจ, แชร์คลิปให้เพื่อน และอื่นๆ
- ดูความบันเทิงบน YouTube
- ค้นหาคลิปวิดีโอ
- การเปิดดูคลิปวิดีโอ
- คอมเมนต์คลิปวิดีโอ
- แสดงความชอบหรือถูกใจคลิปวิดีโอ
- จัดเก็บเป็นคลิปที่ชื่นชอบ
- แชร์คลิปวิดีโอให้เพื่อน
- ติดตามผลงานของคนปล่อยคลิปที่ชอบ
- อัปโหลดคลิปโชว์ของดีกับเขาบ้าง
- ชมวิดีโอความละเอียดสูงบน Galaxy
- ปุ่มควบคุมการเล่นวิดีโอ
- ดูข้อมูลของไฟล์วิดีโอ
บทที่ 9 กล้องถ่ายภาพและวิดีโอ
ด้วยคุณสมบัติที่จัดหนักมาให้ บทนี้มาตรวจสอบฟังก์ชันการใช้งานของกล้องกันสักหน่อย ว่าเราสามารถตั้งค่าอะไรได้บ้าง ค่าแต่ละอย่างตั้งไปเพื่ออะไรและตั้งอย่างไร เราจะได้ใช้กล้องถ่ายรูปได้อย่างเต็มศักยภาพความละเอียดระดับ 8 ล้านพิกเซล ซึ่งไม่น้อยหน้ากล้องถ่ายภาพดิจิตอลระดับโปรเลยทีเดียว
- การใช้งานกล้องถ่ายภาพ
- ปุ่มควบคุมต่างๆ บนหน้าจอ
- การถ่ายภาพนิ่ง
- ซูมเพื่อจับภาพระยะใกล้-ไกล
- ปรับตำแหน่งโฟกัส
- การปรับตั้งค่าต่างๆ
- จัดการรูปที่ถ่าย
- สร้างชอร์ตคัตคำสั่งบนหน้าจอกล้องถ่ายภาพ
- กล้องถ่ายวิดีโอ
- ปุ่มควบคุมต่างๆ บนหน้าจอ
- การถ่ายวิดีโอ
- การปรับตั้งค่าต่างๆ
- แชร์-เล่น-ลบรูปภาพหรือคลิปวิดีโอ
- สร้างชอร์ตคัตคำสั่งบนหน้าจอวิดีโอ
บทที่ 10 การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
เราสามารถเชื่อมต่อ Galaxy กับคอมพิวเตอร์เพื่อโอนย้ายไฟล์ต่างๆ เช่น ไฟล์เพลง, ไฟล์หนัง, ไฟล์ภาพ ผ่านทางพอร์ต USB โดยจะเชื่อมต่อธรรมดาๆ แบบแฟลชไดรฟ์ หรือเชื่อมต่อผ่านโปรแกรม Samsung Kies ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซิงค์ข้อมูลผู้ติดต่อหรืออัปเดต firmware ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีเชื่อมต่อผ่าน Kies air ซึ่งเราจะทำความเข้าใจกันในบทนี้ครับ
- เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แบบแฟลชไดรฟ์
- เชื่อมต่อผ่าน Samsung Kies
- เชื่อมต่อ Kies ผ่านสาย USB
- เชื่อมต่อผ่าน Kies air
- โอนไฟล์ไปยังคอมพิวเตอร์ผ่าน Samsung Kies
- ดาวน์โหลดและติดตั้ง Samsung Kies
ภาคสอง: การใช้งาน Android
บทที่ 11 สร้างกิจกรรมและการนัดหมาย
หากใครยังไม่เคยใช้แอป Calendar เลย ผมขอแนะนำให้ลองใช้ดูครับ โดยเฉพาะผู้ที่ีวิถีชีวิตในแต่ละวันมีสิ่งที่ต้องทำค่อนข้างมาก แรกๆ อาจจะรู้สึกยุ่งยากและใช้ไม่ค่อยถนัดนัก แต่เมื่อคุ้นเคยแล้วจะช่วยให้การจัดตารางเวลาในการทำกิจกรรมหรือกำหนดนัดหมายในแต่ละวัน ลงตัวมากขึ้น ทั้งยังช่วยเตือนไม่ให้พลาดนัดสำคัญทุกนัดอีกด้วย
- สร้างตารางนัดหมายใน Calendar
- ไปยังวันที่ปัจจุบัน
- ไปยังวันที่ต้องการ
- ค้นหาการนัดหมายที่สร้างไว้
- สร้างตารางนัดหมาย
- แก้ไขการนัดหมายที่สร้างขึ้น
- ส่งตารางนัดหมาย
- ลบการนัดหมาย
- ตั้งค่าการใช้งานปฏิทิน
- บันทึกสิ่งที่ต้องทำด้วย Task
- สร้างบันทึกช่วยจำในสิ่งที่ต้องทำ
- ทำเครื่องหมายกำกับงานที่ทำไปแล้ว
- ลบสิ่งที่ต้องทำออกจากการบันทึก
- สร้างบันทึกช่วยจำด้วย Memo
- สร้างบันทึกช่วยจำ
- เปลี่ยนมุมมองการแสดงผลของบันทึก
- ล็อกบันทึกป้องกันผู้อื่นเปิดอ่าน
- เปลี่ยนสีของ Memo
- ซิงค์บันทึกไปยัง Google docs
- ค้นหาบันทึกที่จัดเก็บไว้
- แชร์บันทึกให้เพื่อน
- บันทึกความประทับใจด้วย Mini diary
- การสร้าง Mini diary
- แก้ไขสิ่งที่บันทึกไว้
- แชร์ Mini diary ให้เพื่อน
- ลบบันทึกความทรงจำ
- สารพัดการใช้งานเวลากับ Clock
- การใช้งานนาฬิกาปลุก
- เลือกดูเวลาประเทศต่างๆ ทั่วโลก
- ใช้งานนาฬิกาจับเวลา
- การนับเวลาถอยหลัง
- ใช้ Galaxy เป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะ
บทที่ 12 ท่องเว็บไซต์ไปกับ Android
เมื่อก่อนถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ผมก็ไม่ค่อยชอบเล่นเน็ตผ่านมือถือสักเท่าไร เพราะไม่ถูกใจเบราเซอร์ที่ใช้งานแล้วรู้สึกติดๆ ขัดๆ ไม่คล่องตัว แต่กับเบราเซอร์ Android บวกกับหน้าจอของ Galaxy S II, Galaxy R และ Galaxy S Plus ซึ่งมีขนาดใหญ่ ทำให้รู้สึกดีขึ้น ทำอะไรต่อมิอะไรได้ถนัดมือมากขึ้น ทั้งการเปิดหน้าเว็บเพจหลายๆ หน้า, การจัดเก็บเว็บเพจที่ชอบ และอื่นๆ
- เข้าสู่การท่องเว็บไซต์
- วิธีเปิดเว็บเพจที่ต้องการ
- พิมพ์คำค้นหาจากหน้า Google
- ใช้คำสั่งเสียงในการค้นหา
- พิมพ์ URL ที่ช่อง Address Bar
- เปิดจากบุ๊กมาร์ก
- เปิดจากชอร์ตคัตที่หน้าโฮม
- ควบคุมการใช้งานเว็บเพจ
- ปรับความสว่างของหน้าจอ
- ค้นหาคำในเว็บเพจ
- คัดลอกข้อความ
- ค้นหาความหมายหรือแชร์ข้อความ
- การเปิดดูและจัดการภาพในเว็บเพจ
- ตั้งเป็นวอลล์เปเปอร์
- บันทึกภาพ
- เปิดหน้าต่างใหม่เพิ่ม
- เลือกดูเว็บเพจที่เปิดไว้
- แชร์เว็บเพจให้เพื่อน
- ดูข้อมูลของเว็บเพจ
- สร้างชอร์ตคัตที่หน้าโฮม
- การสร้างและจัดการบุ๊กมาร์ก
- จัดเก็บเว็บเพจไว้ในบุ๊กมาร์ก
- แก้ไขชื่อและย้ายเว็บเพจที่จัดเก็บในบุ๊กมาร์ก
- ลบเว็บเพจที่จัดเก็บ
- เปลี่ยนการแสดงผลบุ๊กมาร์ก
- ย้ายตำแหน่งรายการในบุ๊กมาร์ก
- สร้างโฟลเดอร์จัดหมวดหมู่บุ๊กมาร์ก
- ย้ายเว็บเพจไปยังโฟลเดอร์ที่สร้างไว้
- แก้ไขชื่อโฟลเดอร์่ในบุ๊กมาร์ก
- ลบบุ๊กมาร์ก
- จัดการประวัติเว็บเพจที่เคยเปิด
- ตั้งค่าการใช้งานเบราเซอร์
บทที่ 13 ค้นหาสถานที่และนำทางด้วย Maps, Latitude และ Places
ด้วยความที่ Android เป็นระบบปฏิบัติการซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Google ซึ่งมีแอปหลากหลาย ดังนั้นแอปเกี่ยวกับ GPS ทั้งการค้นหาสถานที่, การนำทางจากตำแหน่งที่อยู่ไปยังสถานที่ที่ต้องการ หรือการแชร์ตำแหน่งกับเพื่อน จึงมีให้ใช้อย่างครบถ้วน ประกอบด้วย Google Maps, Google Latitude และ Google Places มาดูรายละเอียดวิธีใช้งานแอปทั้งสามได้ในบทนี้เลยครับ
- สำรวจแผนที่ผ่าน Google Maps
- การย่อ-ขยายแผนที่
- เปลี่ยนมุมมองแผนที่
- เพิ่มสเกลบาร์บนหน้าจอแผนที่
- วัดระยะทางบนแผนที่
- ค้นหาตำแหน่งปัจจุบัน
- ค้นหาสถานที่
- จัดการสถานที่ที่ค้นพบ
- ขอเส้นทางการเดินทาง
- เลือกเส้นทางการเดินทาง
- ขอเส้นทางการเดินทางกลับ
- แบ่งปันตำแหน่งกับ Latitude
- เปลี่ยนภาพประจำตัว
- ตั้งค่าการแบ่งปันตำแหน่ง
- ชวนเพื่อนร่วมแบ่งปันตำแหน่ง
- ตอบรับคำขอการแบ่งปันตำแหน่ง
- ลบเพื่อนออกจากการแบ่งปันตำแหน่ง
- ค้นหาสถานที่ตามประเภทด้วย Places
- ค้นหาสถานที่ที่ต้องการ
- ให้เรตติ้งและแสดงความเห็นกับสถานที่
- สร้างประเภทของสถานที่เพิ่ม
บทที่ 14 การสื่อสารทางอีเมล
การใช้อีเมลผ่าน Android มี 2 วิธีหลักๆ วิธีแรกคือ ใช้บริการ Gmail ของ Google เอง ซึ่งเป็นข้อบังคับที่ผู้ใช้โทรศัพท์ Android จะต้องมีบัญชี Gmail สำหรับลงทะเบียนเพื่อใช้เครื่องได้ครบทุกฟังก์ชัน ส่วนอีกวิธีคือ อาศัยแอปพลิเคชัน Email ช่วยเพิ่มบัญชีอีเมลอื่นๆ เพื่อใช้งานผ่าน Galaxy S II, Galaxy R และ Galaxy S Plus เช่น Hotmail, Windows Live, Yahoo ฯลฯ
- จัดการบัญชีจาก Gmail
- ลงทะเบียนบัญชี
- เพิ่มบัญชี
- ลบบัญชี
- การใช้งาน Gmail
- เปิดอ่านอีเมลฉบับใหม่
- การเลือกบัญชีและเปิดอ่านอีเมลเก่า
- ลบอีเมลที่ไม่ต้องการ
- เปิดดูและดาวน์โหลดภาพในอีเมล
- เปิดดูเอกสารที่มากับอีเมล
- ตอบกลับ-ส่งต่ออีเมล
- เขียนอีเมลฉบับใหม่
- จัดการอีเมลฉบับร่าง
- ตั้งค่าการใช้งาน Gmail
- การใช้แอปพลิเคชัน Email
- เพิ่มบัญชี Email
- ลบบัญชี Email
- เปิดอ่านอีเมลฉบับใหม่
- การเลือกสลับบัญชีการใช้งาน
- ลบอีเมลที่ไม่ต้องการ
- เปลี่ยนขนาดฟอนต์และสีพื้นหลังหน้าจอ
- เปิดดูและดาวน์โหลดภาพในอีเมล
- เปิดดูเอกสารที่มากับอีเมล
- ตอบกลับ-ส่งต่ออีเมล
- เขียนอีเมลฉบับใหม่
- จัดเก็บอีเมลฉบับร่าง
- ตั้งค่าการใช้งาน Email
บทที่ 15 คลังภาพและเครื่องมือแต่งภาพ
ไม่ว่านำรูปภาพมาจากไหน จะใช้กล้องถ่ายมา, นำไฟล์ภาพมาจากคอมพิวเตอร์ หรือว่าดาวน์โหลดมาจากเว็บ เราสามารถเปิดดูภาพทั้งหมดได้จากแอป Gallery โดยไฟล์ภาพต่างๆ จะถูกจัดระเบียบไว้เป็นหมวดหมู่ นอกจากนั้นยังสามารถลบภาพทิ้งหรือแชร์ภาพให้แก่เพื่อนได้ทันที ตลอดจนตกแต่งภาพผ่านแอป Photo editor ได้ไม่ยาก
- เปิดดูภาพและคลิปวิดีโอใน Gallery
- แบ่งปันภาพและวิดีโอ
- คร็อป หมุน และตั้งภาพเป็นวอลล์เปเปอร์
- ลบภาพและวิดีโอออกจากการจัดเก็บ
- ดูรายละเอียดของอัลบั้มหรือภาพ
- แต่งภาพด้วย Photo editor
- เลือกภาพที่จะนำมาแต่ง
- เครื่องมือต่างๆ ที่มีให้ใช้
- บันทึกการตกแต่งภาพ
บทที่ 16 ดาวน์โหลดแอปและเกมใน Android Market
แอปพลิเคชัน คือเครื่องมือที่เราสามารถดาวน์โหลดจาก Market มาติดตั้งเพิ่มในโทรศัพท์ เพื่อใช้งานเพิ่มเติมได้สารพัดอย่างตามที่เราต้องการ นอกจากแอปเพื่อการใช้งานในลักษณะต่างๆ แล้ว ยังมีเกมอีกเพียบ และที่สำคัญคือ แอปและเกมมีทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงิน ใครใคร่โหลดแบบไหนก็เลือกได้ตามอัธยาศัย
- สำรวจรายการแอป-เกมใน Market
- ค้นหาแอปพลิเคชัน
- ติดตั้งแอปพลิเคชันฟรี
- ติดตั้งแอปพลิเคชันที่เสียเงิน
- ยกเลิกการซื้อแอปพลิเคชันและขอคืนเงิน
- ดูรายการแอปทั้งหมดที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง
- แชร์แอปพลิเคชันให้เพื่อน
- ถอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน
- กำหนดระดับการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
บทที่ 17 ใช้ Polaris Office จัดการเอกสาร
แน่นอนว่าการใช้ Galaxy พิมพ์เอกสาร ย่อมไม่สะดวกเหมือนกับการใช้คอมพิวเตอร์ แต่การเปิดอ่าน, แก้ไข หรือพิมพ์เอกสารเพียงเล็กๆ น้อยๆ หรือสร้างเอกสารในลักษณะเร่งด่วน เราก็สามารถทำได้ผ่านแอป Polaris Office เพราะในแอปนี้มีเครื่องมือให้ใช้ค่อนข้างครบถ้วน ทั้งเอกสารที่เป็น Document, Slide และ Sheet
- สร้างและจัดการเอกสารด้วย Polaris
- สร้างเอกสารใหม่
- สร้างเอกสาร Document
- สร้างเอกสาร Sheet
- เครื่องมือที่มีให้ใช้ใน Sheet
- ใส่ข้อมูลใน Sheet
- การใช้สูตรคำนวณ
- สลับการทำงานระหว่างชีต
- สร้างเอกสาร Slide
- เครื่องมือที่มีให้ใช้ใน Slide
- ใส่ข้อมูลนำเสนอ
- สลับตำแหน่งของแผ่นงานสไลด์
- ใส่ข้อความอธิบายข้อมูลในแผ่นงาน
- การบันทึกเอกสาร
- เปิดอ่านหรือแก้ไขเอกสาร
บทที่ 18 จัดการไฟล์ในเครื่องด้วย My files
การจัดการรูปภาพทั้งหมดในโทรศัพท์ สามารถทำได้ผ่าน Gallery ที่เคยพูดถึงไปแล้วในบทก่อนๆ แต่ถ้าจะจัดการไฟล์ทั่วๆ ไปที่มีอยู่ในโทรศัพท์ ก็สามารถทำได้ผ่าน My files ไม่ว่าจะเป็นการลบไฟล์, ย้ายไฟล์จากโฟลเดอร์หนึ่งไปยังอีกโฟลเดอร์หนึ่ง, การแชร์ไฟล์ให้เพื่อน ไปจนถึงการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นใหม่
- กำหนดมุมมองการใช้งานและการเรียงลำดับไฟล์
- สร้างโฟลเดอร์จัดเก็บไฟล์
- ย้ายที่เก็บโฟลเดอร์หรือไฟล์
- คัดลอกโฟลเดอร์หรือไฟล์
- เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์หรือชื่อไฟล์
- แชร์ไฟล์ส่งให้ผู้อื่น
- ลบโฟลเดอร์หรือลบไฟล์
บทที่ 19 ใช้งาน Social Hub และ Talk
บทนี้จะแนะนำการใช้แอปเกี่ยวกับสังคมออนไลน์ที่ผู้ใช้ Galaxy ไม่ควรพลาด แอปหนึ่งคือ Social Hub ซึ่งเป็นศูนย์รวมของการอัปเดตสถานะไปยังเว็บไซต์สังคมออนไลน์, เว็บไซต์ให้บริการอีเมล และโปรแกรมแชตต่างๆ ที่เราเป็นสมาชิก ส่วนอีกแอปหนึ่งคือ Talk ซึ่งเป็นโปรแกรมให้บริการแชตที่น่าสนใจอีกบริการหนึ่งของ Google
- เชื่อมต่อทุกสังคมออนไลน์ผ่าน Social Hub
- เพิ่มแอ็กเคาต์สังคมออนไลน์
- ดูความเคลื่อนไหวและข้อความ
- อัปเดตสถานะไปยังสังคมออนไลน์
- ส่งข้อความหาเพื่อนในสังคมออนไลน์
- กำหนดการซิงค์ข้อมูลเครือข่ายสังคมออนไลน์
- กำหนดช่วงเวลาของการซิงค์ข้อมูล
- ลบเครือข่ายออกจาก Social Hub
- แชตกับเพื่อนผ่าน Talk
- เปลี่ยนภาพประจำตัวและกำหนดสถานะ
- ชวนเพื่อนมาแชตด้วยกัน
- ตอบรับเพื่อนที่ส่งคำขอมาถึงเรา
- พิมพ์ข้อความแชตโต้ตอบกับเพื่อน
- บล็อกหรือลบเพื่อนออกจาก Talk
บทที่ 20 ตั้งค่าการใช้งาน
ระหว่างที่ใช้ Android ใน Galaxy คุณอาจจะพบว่าลักษณะการทำงานบางอย่างหรือหน้าตาของระบบไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการ เช่น หน้าจอวูบดับไปในเวลาไม่กี่วินาทีทั้งๆ ที่เพิ่งเปิดเครื่องขึ้นมา, ชื่อแอปหรือเมนูคำสั่งต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ แต่อยากให้เป็นภาษาไทย ฯลฯ ทั้งหมดนี้ทำได้โดยเข้าไปที่ Settings เพื่อตั้งค่าให้ตรงกับที่ต้องการ
- ตั้งค่าการใช้งาน
- ดูข้อมูลทั่วไปของเครื่อง
- ใช้งานเครื่องแบบไม่เปิดสัญญาณ
- ตั้งค่าการใช้งาน Wi-Fi
- เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นผ่าน Wi-Fi Direct
- แชร์อินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ให้อุปกรณ์อื่น
- การใช้งานบลูทูธ
- ตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
- ตั้งค่าการใช้โทรศัพท์
- ปฏิเสธสายเรียกเข้าอัตโนมัติ
- การใช้ข้อความปฏิเสธสายเรียกเข้า
- เปิด-ปิดเซ็นเซอร์ปิดเสียงเรียกเข้า
- ตั้งค่าการโอนสาย
- ตั้งค่าเสียงเตือนต่างๆ
- ปิดเสียงเตือนต่างๆ ทั้งหมด
- กำหนดเงื่อนไขของการสั่น
- ปรับระดับเสียงเตือนต่างๆ
- เลือกเสียงเรียกเข้า
- เปิด-ปิดเสียงโต้ตอบการกระทำต่างๆ
- ตั้งค่าหน้าจอ
- เปลี่ยนฟอนต์ที่แสดงบนหน้าจอ
- กำหนดตำแหน่งนาฬิกา
- ความสว่างหน้าจอ
- ตั้งค่า Background effect
- เปิด-ปิดการหมุนจออัตโนมัติ
- ตั้งเวลาดับหน้าจอ
- ตั้งเวลาความสว่างปุ่ม “เมนู” และปุ่ม “ย้อนกลับ”
- โหมดประหยัดพลังงาน
- ตำแหน่งและการป้องกัน
- กำหนดการแสดงตำแหน่ง
- กำหนดวิธีการปลดล็อกหน้าจอ
- ตั้งค่าล็อกซิมการ์ด
- จัดการแอปพลิเคชัน
- การตั้งค่า Motion
- รีเซ็ตโทรศัพท์
- ตรวจสอบพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของโทรศัพท์
- ตั้งค่าภาษาและคีย์บอร์ด
- เปลี่ยนภาษาการใช้งานของโทรศัพท์
- เลือกรูปแบบการพิมพ์
- ตั้งค่าแป้นพิมพ์ Swype
- ตั้งค่า Samsung keypad
- ตั้งค่าวันที่และเวลา
- ตั้งวันที่ให้กับโทรศัพท์
- ตั้งค่าเวลาบนโทรศัพท์
บทที่ 21 อัปเดต Facebook ได้ทุกที่
Facebook ไม่ได้เป็นแอปพื้นฐานที่มีมาอยู่แล้วในเครื่อง เราต้องดาวน์โหลดเพิ่มเองจาก Market (ฟรี) แต่ก็เป็นแอปสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ใช้สมาร์ตโฟน ดังนั้นใครที่ต้องการเรียนรู้วิธีเล่น Facebook ผ่าน Galaxy S II, Galaxy R และ Galaxy S Plus เช่น การอัปเดตสถานะ, การโพสต์รูป, คอมเมนต์เพื่อน ฯลฯ ก็พลิกมาอ่านบทนี้ได้เลย
- ล็อกอินเข้าใช้งาน
- ไปหน้าเมนูการใช้งานทั้งหมดของ Facebook
- เข้าไปจัดการโพรไฟล์ตัวเอง
- อัปเดตสถานะ-แชร์รูปถ่าย
- จัดการอัลบั้มรูป
- เข้าไปดูโพรไฟล์เพื่อน
- เขียนข้อความทักทายในโพรไฟล์ของเพื่อน
- ส่งข้อความถึงเพื่อน
- กด Like และคอมเมนต์สถานะเพื่อน
- แชร์สถานะและตำแหน่งกับเพื่อน
- Check in บอกให้เพื่อนรู้เราอยู่ที่ไหน
- เปิดดูตำแหน่งเพื่อน
- การใช้งาน Facebook Group
- แชตกับเพื่อนใน Facebook
บทที่ 22 แชตสนุกทุกระบบกับ WhatsApp
WhatsApp ก็เช่นกันครับ ไม่ได้เป็นแอปพื้นฐานที่มีอยู่แล้วในเครื่อง ต้องดาวน์โหลดเพิ่มเองจาก Market (ฟรีเหมือนกัน) แต่ที่ต้องแนะนำเพราะเป็นแอปสำหรับแชตยอดฮิตที่ใครๆ ต่างก็ใช้กัน เพราะช่วยให้สามารถเม้าท์กับเพื่อนได้อย่างไร้พรมแดน คือไม่ว่าเพื่อนของเราจะใช้ iPhone, BB หรือ Android ก็เม้าท์กันได้อย่างไม่มีปัญหา
- ทำความรู้จัก WhatsApp
- ลงทะเบียนใช้งาน WhatsApp
- บอกให้เพื่อนรู้ว่าเราใช้ WhatsApp (แล้วนะ)
- ตั้งค่าสถานะของตัวเอง
- เพิ่มเพื่อนลงในสมุดรายชื่อ
- แชตกับเพื่อนผ่าน WhatsApp
- ใส่วอลล์เปเปอร์ให้หน้าจอแชต
- ส่งไอคอนแทนความรู้สึก
- ส่งภาพหรือวิดีโอผ่าน WhatsApp
- ส่งไฟล์หรือคลิปเสียง
- โทรหาเพื่อนที่กำลังแชตด้วย
- บล็อกเพื่อนไม่พึงประสงค์
- สร้างชอร์ตคัตเพื่อนขาแชต
- สร้างกลุ่มแชตกันเป็นก๊วน