ใช้ให้เป็น เล่นให้เพลิน ANDROID + 100 แอปพลิเคชัน
ผู้เขียน: กิตติ ภูวนิธิธนา
ISBN: 978-616-7119-32-8
จำนวนหน้า: 280 หน้า
ขนาด: 16.5 x 19 x 1.5 ซม.
รูปแบบหนังสือ:
พิมพ์ 4 สี
ราคาปก: 169 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 155 บาท
- จะเข้าสังคมออนไลน์ไหนๆ Facebook, Foursquare, Twitter ฯลฯ เข้าได้หมดไม่มีตกเทรนด์
- รับ-ส่งอีเมลรวดเร็วทันใจ สมัครและเพิ่มบัญชีได้ง่ายๆ ในไม่กี่ขั้นตอนกับ Gmail
- สร้างการนัดหมายพร้อมซิงค์ข้อมูลระหว่างปฏิทินใน Google ได้ทันที
- ไลฟ์สไตล์ของการทำงานยุคใหม่ จัดการงานเอกสารได้ด้วย ThinkFree Office
- อยากรู้ว่ารอบตัวมีสถานที่อะไรอยู่ตรงไหน ต้องใช้ Laryar
- แอปพลิเคชันและเกมโดนๆ นับแสน ที่สำคัญ...ดาวน์โหลดได้ฟรี! ใน Market พร้อมแนะนำ 100 แอปพลิเคชันโดนใจในเล่ม
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง?
- ผู้ที่กำลังมองหาหรือสนใจศึกษาการทำงานของโทรศัพท์ประเภทสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตพีซีที่เป็นระบบปฏิบัติการ Android
- ผู้ที่ต้องการคู่มือแนะนำวิธีการใช้งานสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตพีซีที่เป็นระบบปฏิบัติการ Android
ควรรู้อะไรมาบ้าง ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้?
- ไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก แค่มีความสนใจอยากใช้สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตพีซี Android ให้คุ้มค่าก็พอ ที่เหลือหนังสือเล่มนี้ช่วยคุณเอง
ต้องมีอะไรบ้าง เพื่อทดลองใช้งานตามตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้?
- มีสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตพีซี ยี่ห้อไหน รุ่นใดก็ได้ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android
- มีระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สะดวกไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi หรือ GPRS, EDGE หรือ 3G
บทที่ 1 ทำความรู้จัก Android
เป็นระบบปฏิบัติการในสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตพีซีน้องใหม่ที่มาแรงมากทีเดียว เพียงระยะเวลาไม่นานก็สามารถมายืนอยู่แถวหน้าและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็มีผู้ผลิตหลายค่ายหันมาใช้ Android เป็นระบบปฏิบัติการในโทรศัพท์และแท็บเล็ตของตน มาดูกันว่ามียี่ห้อและรุ่นใดบ้าง พร้อมกับวิธีการใช้งานพื้นฐานของ Android ว่ามีลักษณะและลูกเล่นอะไรที่น่าสนใจบ้าง
- รู้จักระบบปฏิบัติการ Android
- เลือกโทรศัพท์ที่เหมาะกับเรา
- ส่วนประกอบบนหน้า Home
- สถานะเกี่ยวกับการเตือน
- เพิ่ม-ลดจำนวนหน้า Home
- จัดการไอคอนบนหน้า Home
- นำไอคอนมาวางที่หน้า Home
- ย้ายตำแหน่งไอคอนที่หน้า Home
- ปรับแต่งหน้า Home
- เลือกสวยด้วย Wallpapers
- เพิ่มลูกเล่นให้หน้า Home ด้วย Widgets
- เข้าถึงเร็วกว่าด้วย Shortcuts
- จัดระเบียบหน้า Home ด้วย Folders
- เรียกดูแอปพลิเคชันที่ผ่านมา
บทที่ 2 จัดเก็บรายชื่อผู้ติดต่อใน Contacts
สมุดรายชื่อหรือ Contacts เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการใช้งานโทรศัพท์ ไม่เพียงแค่การใช้เพื่อจัดเก็บเบอร์โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลอื่นๆ อย่างเช่น อีเมล, เว็บไซต์ หรือที่อยู่อีกด้วย ซึ่ง Android สามารถตอบสนองการใช้งานส่วนนี้ได้ค่อนข้างดีทีเดียว อีกทั้งยังซิงค์ข้อมูลเหล่านี้กับ Gmail ได้ทันทีโดยอัตโนมัติ จึงช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลสะดวกยิ่งขึ้น
- ส่วนประกอบภายใน Contacts
- คัดลอกข้อมูลผู้ติดต่อ
- สร้างข้อมูลผู้ติดต่อ
- สร้างกลุ่มผู้ติดต่อใน Contacts
- กำหนดการแสดงผลของรายชื่อ
บทที่ 3 เครื่องมือจัดการกิจกรรมประจำวัน
ไม่ว่าโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตพีซียี่ห้อใดก็ตามที่ใช้ Android ล้วนติดตั้งแอปพลิเคชันต่างๆ มาให้อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา, สมุดโน้ต หรือปฏิทิน ที่สามารถสร้างการนัดหมายและซิงค์ข้อมูลกับปฏิทินใน Google ได้ทันที ในทางกลับกันหากสร้างข้อมูลใดจากปฏิทินใน Google ก็สามารถซิงค์มายังปฏิทินใน Android ได้เช่นกัน นับว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความพร้อมและช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
- สร้างการนัดหมายด้วยปฏิทิน
- สร้างการนัดหมายในปฏิทิน
- แก้ไขข้อมูลการนัดหมาย
- ส่งการนัดหมายให้เพื่อน
- ลบการนัดหมายที่เสร็จสิ้นไปแล้ว
- ตั้งค่าการใช้งานปฏิทิน
- Clock นาฬิกาอเนกประสงค์
- ตั้งการเตือนปลุก
- เลือกดูเวลาประเทศต่างๆ ทั่วโลก
- ใช้งานนาฬิกาจับเวลา
- การนับเวลาถอยหลัง
- รายงานสภาพอากาศ ข่าว หุ้น
- My File จัดการข้อมูลในหน่วยความจำ
- มุมมองในการแสดงข้อมูล
- สร้างโฟลเดอร์ใหม่
- แก้ไขชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์
- ย้ายหรือคัดลอกไฟล์และโฟลเดอร์
- ส่งไฟล์ให้ผู้อื่น
- บันทึกเรื่องราวและภาพความประทับใจ
- ย้ายหรือคัดลอกไฟล์และโฟลเดอร์
- จัดการสิ่งที่บันทึกไว้
- Memo สมุดโน้ตช่วยจำ
บทที่ 4 เครื่องมือสำหรับจัดการงานเอกสาร
อะไรๆ ก็สามารถทำผ่านโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตได้ แล้วทำไมเรื่องของงานเอกสารจะทำไม่ได้ ซึ่งคุณสมบัติทางด้านนี้ Android ก็มีดีไม่แพ้ใคร เราสามารถเปิดอ่าน แก้ไข และสร้างเอกสารได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและเวลาใด ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร, ไฟล์สเปรดชีต หรือไฟล์งานพรีเซนเทชัน รวมไปถึงไฟล์ PDF ล้วนจัดการได้ทั้งนั้น
- จัดการเอกสารกับ ThinkFree Office
- การเปิดดูหรือสร้างเอกสารใหม่
- การสร้างเอกสาร Document
- การสร้างเอกสาร Spreadsheet
- การใส่ข้อมูลในเอกสาร
- การใช้สูตรคำนวณ
- สลับการทำงานระหว่างชีต
- การสร้างเอกสาร Presentation
- ใส่ข้อมูลในเอกสารนำเสนอ
- พรีวิวดูหน้าเอกสารทั้งหมด
- บันทึกหรือแก้ไขไฟล์
บทที่ 5 ท่องเว็บไซต์ไปกับ Android
Android เป็นระบบปฏิบัติการของ Google ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Search Engine รายใหญ่ ดังนั้นการท่องเว็บ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการค้นหาข้อมูลใดๆ ผ่านเบราเซอร์ จึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ส่วนในด้านอื่นๆ เช่น การบันทึกเว็บเพจ, การบันทึกภาพในเพจที่ต้องการ หรือจัดการเกี่ยวกับการท่องเว็บไซต์ต่างๆ ก็ใช้งานได้ง่ายและสะดวกไม่แพ้กัน
- เปิดเว็บเพจที่ต้องการ
- เปิดหน้าเว็บเพจใหม่
- สลับการเปิดหน้าเว็บเพจ
- ควบคุมการท่องเว็บเพจ
- ดูเว็บเพจในมุมมอง Widescreen
- การย่อ-ขยายหน้าจอ
- การเปิดเว็บเพจย้อนกลับ
- การรีเฟรชหรือหยุดการโหลด
- บันทึกเว็บเพจไว้ในบุ๊กมาร์ก
- ดูประวัติการเปิดเว็บเพจ
- ลบเว็บเพจออกจากบุ๊กมาร์ก
- ค้นหาคำหรือข้อความในเว็บเพจ
- คัดลอกข้อความในเว็บเพจ
- ส่งลิงก์แบ่งปันเว็บเพจ
- ปรับความสว่างของหน้าจอ
- บันทึกรูปภาพจากเว็บเพจ
- ตั้งค่าการใช้งานเบราเซอร์
บทที่ 6 โลกของการเชื่อมต่อ อีเมล แชต และ YouTube
อีกหนึ่งการเชื่อมต่อที่สำคัญคือ การสื่อสาร 2 ทางกับผู้อื่นผ่านโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นอีเมลหรือแชต ใครที่ใช้งาน Gmail และ Talk อยู่แล้วจะรู้สึกสะดวกยิ่งขึ้นแน่นอน ส่วนใครที่ยังไม่ได้ใช้ ถ้าตอนนี้หันมาคบหากับ Android ก็ต้องลองใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งอาจจะชอบและใช้ไปตลอดเลยก็ได้ โดยเฉพาะการส่ง-รับอีเมลผ่าน Gmail เพราะมีการตอบสนองที่รวดเร็วทันใจ สามารถเพิ่มการใช้งานได้หลายบัญชี การแสดงผลเข้าใจง่าย ใช้งานไม่ยาก
- การใช้งาน Gmail
- ลงทะเบียนบัญชี Gmail
- เปิดอ่านจดหมายที่ได้รับ
- สลับบัญชีที่ต้องการใช้งาน
- ตอบกลับ-ส่งต่อจดหมายที่เปิดอ่าน
- เขียนจดหมายฉบับใหม่
- จัดเก็บจดหมายฉบับร่าง
- ลบบัญชี Gmail ออกจากระบบ
- ตั้งค่าการใช้งาน
- ใช้งานแอปพลิเคชัน Email
- เพิ่มบัญชีอีเมล
- ตั้งค่าบัญชีด้วยตัวเอง
- เปิดอ่านจดหมาย
- สลับการใช้งานบัญชีอีเมล
- ตอบกลับ-ส่งต่อ
- เขียนจดหมาย
- แชตสนุกทุกที่กับ Talk
- กำหนดสถานะหรือข้อความส่วนตัว
- ชวนเพื่อนมาแชต
- ตอบรับคำขอของเพื่อน
- คุยให้สนุกแชตให้มันกระจาย
- YouTube คลังแห่งคลิปวิดีโอ
- ล็อกอินเข้าใช้งาน
- ค้นหาคลิปวิดีโอที่สนใจ
- ควบคุมการเล่นวิดีโอ
- ให้เรตติ้งกับคลิปวิดีโอ
บทที่ 7 ติดต่อทุกสังคมออนไลน์แบบชิว ชิว
ณ ขณะที่กำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้ แอปพลิเคชันเกี่ยวกับสังคมออนไลน์ที่จะกล่าวถึงในบทนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกบรรจุเป็นแอปพลิเคชันพื้นฐานมาให้ในเครื่อง ต้องดาวน์โหลดเพิ่มเอง แต่ด้วยกระแสการใช้งานของสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง คิดว่าคงมีคุณผู้อ่านจำนวนไม่น้อยที่ต้องการคำแนะนำการใช้งานแอปพลิเคชันเหล่านี้ ใครเป็นแฟน Facebook, Twitter หรือ Foursquare ติดตามกันได้เลยในบทนี้
- เม้าท์กับเพื่อนได้ทุกที่ด้วย Facebook
- ล็อกอินเข้าใช้งาน
- โพสต์ความรู้สึกตัวเอง
- อัปโหลดรูปจัดเก็บในอัลบั้ม
- โพสต์ในโพรไฟล์เพื่อน
- ร่วมวงสนทนากับเพื่อน
- แสดงความเห็นกับรูปของเพื่อน
- บอกเล่าเก้าสิบกับ Twitter
- เปิดประตูสู่โลกของการ Tweet
- Tweet Tweet Tweet
- ย่อลิงก์ก่อน Tweet
- Reply สนทนาโต้ตอบกับเพื่อน
- ReTweet กระจายข่าวสาร
- เปิดลิงก์ที่อยู่ใน Timeline
- Follow ติดตามความเคลื่อนไหวของคนที่สนใจ
- Foursquare อัปเดตสถานะพร้อมตำแหน่ง
- ล็อกอินกันก่อน
- หาเพื่อนร่วมแบ่งปันข้อมูล
- เช็กอินให้เพื่อนรู้อยู่ไหนแล้ว
- อัปเดตสถานะบอกเล่าเก้าสิบ
- แสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานที่
- จะไปทำอะไรที่ไหน
บทที่ 8 ค้นหาสถานที่ด้วย Maps และ Layar
นอกจากแผนที่หรือ Maps ของ Google ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกันพอสมควร เพราะมีการใช้งานค่อนข้างแพร่หลายมาสักระยะแล้ว ยังมี Places และ Layar ที่เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการค้นหาสถานที่มาแนะนำกันด้วย ซึ่งมีจุดเด่นแตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันคือ คุณสมบัติการใช้งานที่น่าสนใจ บางครั้งเราต้องการหาร้านกาแฟนั่งสักหน่อย แต่ก็ไม่รู้ชื่อร้าน ไม่รู้จะค้นหายังไงใน Maps ก็ใช้ Places และ Layar นี่แหละ!
- เรียกใช้การนำทางกับ Maps
- รูปแบบมุมมองของแผนที่
- การวัดระยะทางบนแผนที่
- ขอเส้นทางไปยังจุดหมายที่ต้องการ
- แบ่งปันตำแหน่งผ่าน Latitude
- ชวนเพื่อนมาแบ่งปันตำแหน่ง
- เปลี่ยนภาพประจำตัว
- ดูซิว่าเพื่อนเราอยู่ที่ไหน
- ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
- ค้นหาสถานที่ด้วย Places
- เลือกสถานที่ที่ต้องการ
- ให้เรตติ้งและแสดงความเห็น
- จัดเก็บสถานที่ที่ถูกใจ
- สร้างหมวดหมู่ใหม่
- ค้นหาสถานที่ด้วย Layar
- ค้นหาสถานที่แบบ 3 มิติ
- ขอเส้นทางไปยังสถานที่
บทที่ 9 ตั้งค่าการใช้งาน ANDROID
การใช้งานแต่ละส่วนแต่ละระบบของแต่ละคน ย่อมแตกต่างกันไป อย่างเช่น เวลาสัมผัสหน้าจอ บางคนอาจชอบให้มีเสียงหรือการตอบสนองเกิดขึ้น, บางคนอาจชอบเสียงเตือนดังๆ บางคนอาจจะใช้ภาษาไทย ในขณะที่บางคนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการแสดงเมนูการใช้งาน เป็นต้น แน่นอนว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้แต่ละคนสามารถกำหนดตามที่ตัวเองต้องการได้ โดยเข้าไปที่เมนู “การตั้งค่า” ซึ่งจะอธิบายในบทนี้
- ใช้งานโทรศัพท์แบบไม่เปิดสัญญาณ
- ค้นหาและใช้งาน Wi-Fi
- ใช้โทรศัพท์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- การใช้งานบลูทูธ
- ตั้งค่าการใช้งานโทรศัพท์
- ปฏิเสธสายอัตโนมัติ
- ตั้งการโอนสาย
- เปิดใช้งานการรับสายเรียกซ้อน
- ตั้งค่าการใช้งานเสียง
- ตั้งค่าการใช้งานหน้าจอ
- ตั้งค่าความปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์
- ล็อกด้วยการวาดรูปแบบ
- ล็อกด้วยรหัส PIN
- ล็อกด้วยรหัสผ่านแบบ Password
- ตั้งค่าความปลอดภัยซิมการ์ด
- แอ็กเคาต์และการซิงค์
- ตั้งค่าภาษาของเครื่อง
- ตั้งค่าวันที่และเวลา
- รีเซ็ตโทรศัพท์กลับสู่ค่าเริ่มต้น
- ตรวจสอบพื้นที่หน่วยความจำ
- ตรวจสอบรายละเอียดของโทรศัพท์
บทที่ 10 Market คลังแอปพลิเคชันและเกมนับแสน
อีกหนึ่งความน่าสนใจที่ทำให้ Android ได้รับความนิยมคือ มีแอปพลิเคชันและเกมจำนวนมากให้เลือกดาวน์โหลด ที่สำคัญคือ ส่วนใหญ่เป็นของฟรี ซึ่งก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาเกี่ยวกับการแนะนำแอปพลิเคชันและเกมในบทต่อไป มาดูกันสักนิดว่าวิธีการดาวน์โหลดและจัดการกับแอปพลิเคชัน เป็นอย่างไร
- มีอะไรบ้างใน Market
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันหรือเกม
- ให้เรตติ้งและแสดงความเห็น
- ลบแอปพลิเคชัน
- ลบจาก My apps ใน Market
- ลบจากหน้าจอเมนู Applications
- ลบจากเมนู Settings
บทที่ 11 แอปพลิเคชันเกี่ยวกับโทรศัพท์
จุดเด่นของสมาร์ตโฟนคือ สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันเสริมเพื่อเพิ่มอรรถประโยชน์หรือสมรรถนะในการใช้งานได้ ซึ่งแอปพลิเคชันจะน่าสนใจและมีให้เลือกมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการแต่ละบบ อย่างกรณีของ Android เองคงได้ยินกันอยู่แล้วว่ามีให้เลือกนับแสนรายการ งั้นก็มาเริ่มกันที่แอปพลิเคชันสำหรับอำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์กันก่อนเลย
- Advanced Task Killer
- APNdroid
- Backgrounds
- Car Dock v3
- Contact Analyzer 2
- Flip-Silent
- Lock Screen Widget
- Super Call Faker
- ShootMe
- Snowfall Live Wallpaper
- Touch Test
บทที่ 12 แอปพลิเคชันสารพัดประโยชน์
มาต่อกันที่แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้นกันบ้าง เช่น การใช้โทรศัพท์เป็นเครื่องแปลงหน่วย, ใช้สแกนเอกสาร, ใช้แปลศัพท์ รวมถึงใช้เป็นตัวช่วยหรือเป็นเครื่องทุ่นแรงในการทำงานหรือกิจกรรมใดๆ ในชีวิตอีกหลายอย่าง มีแอปพลิเคชันตัวไหนน่าสนใจหรือตรงกับความต้องการของคุณผู้อ่านบ้าง ไปดูกันเลย
- Barcode Generator
- Barcode Scanner
- CamScanner
- Car Finder AR DEMO
- ConvertPad
- Google goggles
- Google แปลภาษา
- myTalkMate
- OnePunch Notes
- SketchBook MobileX
- Thinking Space
บทที่ 13 แอปพลิเคชันด้านสังคมออนไลน์
ในบทที่ 7 ได้แนะนำการใช้แอปพลิเคชันเกี่ยวกับสังคมออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยม 3 ตัวอย่างละเอียดไปแล้ว แต่เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ชอบเล่นชอบลองอะไรใหม่ๆ จึงนำเอาแอปพลิเคชันในกลุ่มนี้มาแนะนำอีกเล็กน้อย
- Go! Chat
- MSN Talk
- PingChat!
บทที่ 14 แอปพลิเคชันเกี่ยวกับเพลงและดนตรี
ไม่เพียงแค่เครื่องเล่นเพลงแจ่มๆ ที่มีระบบปรับแต่งเสียงที่น่าสนใจเท่านั้น ยังมีแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเพลงและดนตรีมาแนะนำไว้ในบทนี้ด้วย เช่น Shazam แอปพลิเคชันที่ช่วยบอกให้รู้ว่าเพลงที่ได้ยินมีชื่อเพลงว่าอะไร, Ringdroid สำหรับการตัดต่อเพลงเพื่อนำไปใช้เป็นเสียงเรียกเข้าด้วยตัวเอง และอีกหลายตัวที่น่าเล่น....
- Android Karaoke
- gStrings/Guitar Tuner
- MP3 Music Downloader
- PowerAMP
- Ringdroid
- Shazam
- TUB THUMPER
- TuneIn Radio
- Winamp
บทที่ 15 แอปพลิเคชันเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
ไม่ว่ากล้องในโทรศัพท์ของคุณมีฟังก์ชันหรือลูกเล่นมาให้มากน้อยเพียงใด ก็คงจะไม่เหมือนหรือมากเท่าแอปพลิเคชันเพื่อการถ่ายภาพ ซึ่งมีหลายตัวที่น่าสนใจ ลองเล่นดูแล้วจะติดใจ จากที่เคยใช้โทรศัพท์ถ่ายภาพเล็กๆ น้อยๆ อาจจะกลายเป็นชื่นชอบและสนุกกับการถ่ายภาพไปเลยก็ได้
- Camera360
- FxCamera
- Photaf
- PhotoFunia
- Photoshop Express
- PicSay
- Retro Camera
- Sketch Me
- Vignette Demo
บทที่ 16 เกมกีฬาหลากสไตล์หลายประเภท
ทางด้านของเกมมีความสนุกสนานและความมันให้เลือกหลายรูปแบบ ว่าแล้วมาเริ่มที่เกมเกี่ยวกับกีฬากันก่อน แม้ว่ากราฟิกของเกมหรือเสียงประกอบยังไม่เร้าใจเท่าไร แต่ถ้าลองได้เล่นแต่ละเกม ก็มีความสนุกอยู่ในตัวของมันเอง และเล่นได้เรื่อยๆ ไม่เบื่อ ส่วนตัวผมเองเกมที่ชอบในกลุ่มนี้ก็มี Beatdown Boxing, iBasket และ Penalty World เป็นต้น
- Air Hockey EM
- Basketball Shots 3D
- Beatdown Boxing
- Bow Man
- FingerBowling
- Freekick
- Homerun Battle 3D
- iBasket
- mini golf
- MX Moto (Lite)
- Penalty World
- Reckless Racing Lite
- Soccer
- Speed Skater
- Wheelz Lite
บทที่ 17 เกมเบาสมองเล่นเพื่อการผ่อนคลาย
ในบทนี้รวบรวมเกมประเภทที่เล่นเพื่อการผ่อนคลาย เบาสมอง เพลิดเพลิน มาแนะนำกัน บางเกมมีลักษณะที่ไม่ต้องคิดมาก เล่นแล้วยิ้มได้ บางเกมออกแนวระบายอารมณ์นิดๆ บางเกมอาจจะใช้ความคิดบ้าง แต่หลังจากที่ได้ลองเล่นแล้ว โดยรวมถือว่าเล่นแล้วสบายใจ จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้ ใครกำลังมองหาเกมแนวนี้ลองดูครับ
- 4 TEH BIRDS
- Action Potato
- Air Control Lite
- aJailBreak
- Bistro Cook
- Block It Up
- Bubble Ball
- Can Knockdown
- Checker Free
- Diner Dash 2 Demo
- Drag Toilet Paper
- Finger Dance
- Gem Miner
- Hangman Classic
- Netwalk
- Nintaii Lite
- Paper Toss
- Rope Cut
- Slice It!
- Space Physics (Lite)
- Stack the log!
- Traffic Rush
- Unlock Me Free
- What The Doodle!?
- X Construct
บทที่ 18 เกมต่อสู้ จู่โจม ระดมยิง
ใครชอบเกมแนวมันๆ ตื่นเต้นๆ ล่ะก็มาทางนี้ ประเภทเกมต่อสู้ ยิงปืน สาดกระสุนใส่กัน ได้แนะนำไว้ในบทนี้แล้ว เกมยอดฮิตอย่าง Angry Birds ก็ขอจัดไว้ในกลุ่มนี้ เพราะด้วยดีกรีความซ่าแล้ว เข้าทางเลยทีเดียว, Heavy Gunner ก็เป็นเกมหนึ่งที่อยากแนะนำ, Winds of Steel ขับเครื่องบินรบปฏิบัติภารกิจทิ้งระเบิดและยิงจู่โจมตีคู่ต่อสู้ เกมนี้ก็สนุก ...และอีกหลายเกมที่ตื่นเต้นเร้าใจไม่แพ้กัน
- Angry Birds
- Armored Strike Lite
- Chopper Control
- Duck Hunter
- EAGLE NEST
- Heavy Gunner
- HELIX HD Lite
- IRON SIGHT
- NinJump
- Robo Defense
- Saving Avatar
- SchottGunn
- Sky Force Lite
- Sniper
- Tank Hero
- Tank Recon 3D Lite
- Winds of Steel Demo