เก่ง Ajax+JSP ให้ครบสูตร เสริมพลังด้วย JSF

ผู้เขียน: กาญจนา ตันวิสุทธิ์
ISBN: 978-616-7119-21-2
จำนวนหน้า: 432 หน้า
ขนาด: 14.5 x 21 x 2.1 ซม.
รูปแบบหนังสือ: หนังสือขาวดำ

ราคาปก: 295 บาท
ราคาสั่งซื้อ: 260 บาท
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน  


  • ปูพื้นฐาน Ajax และ JSP ตั้งแต่ขั้นต้น พ่วงด้วย JSF จนสามารถเขียนโปรแกรมได้
  • ประยุกต์ใช้ Ajax+JSP กับ XML และการติดต่อฐานข้อมูล MySQL ผ่าน JDBC
  • แนะนำ Framework ต่างๆ รวมทั้งวิธีการสร้าง Framework ขึ้นมาเอง
  • อธิบายวิธีการติดตั้งและการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ทั้ง J2SE, Tomcat และ EditPlus
  • มีตัวอย่างแอปพลิเคชันที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง เช่น ร้านค้าออนไลน์, แชตออนไลน์ ฯลฯ พร้อมคำอธิบายและภาพประกอบ

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่เริ่มต้นและสนใจทำเว็บไซต์ทุกระดับ
  • ผู้ที่สนใจการเขียนสคริปต์หรือพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย Ajax และ JSP
  • ผู้ที่ต้องการนำ Ajax ไปประยุกต์ใช้งานหรือพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จะอ่านหนังสือเล่มนี้ ควรรู้อะไรมาก่อนบ้าง

  • มีความรู้พื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรม
  • มีความรู้เกี่ยวกับภาษา HTML อย่างน้อยในขั้นพื้นฐาน
  • ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เป็น

จะทดลองปฏิบัติจริงตามตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ ควรมีอะไรบ้าง

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไป
  • โปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในหนังสือ เช่น โปรแกรม Tomcat, J2SE และ MySQL


บทที่ 1 ทำความรู้จักกับ Ajax

หลายคนมีความเข้าใจว่า Ajax เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมและน่าเสียดายที่บางคนมองข้ามไป เพราะไม่อยากจะเสียเวลามานั่งเรียนรู้ภาษาใหม่ แต่จริงๆ แล้ว Ajax เป็นเพียงเทคนิคการเขียนโปรแกรมที่นำเทคโนโลยีที่เคยใช้กันอยู่แล้ว เช่น JavaScript, XML, CSS มาผสมผสานกันก่อให้เกิดเว็บแอปพลิเคชันที่ทันสมัยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น

  • เว็บไซต์แบบ Ajax
  • การทำงานแบบ Ajax
    • มุมมองของผู้ใช้เว็บไซต์
    • มุมมองของผู้สร้างเว็บไซต์
    • ข้อดีของ Ajax
    • ใครใช้ Ajax บ้าง
      • ตัวช่วยค้นหา Google Suggest
      • แผนที่ Google Map
      • ข่าว Yahoo! News
      • อีเมลของ Gmail
      • ตรวจสอบโดเมน Instant Domain Search
      • อสังหาริมทรัพย์ Forest View
      • ร้านค้าออนไลน์ Panic Goods
      • สร้างงานศิลป์บนเว็บกับ TheBroth
    • เมื่อไหร่ต้องใช้ Ajax

    บทที่ 2 JavaScipt พื้นฐานสำคัญของ Ajax

    Javascript เป็นเทคโนโลยีหลักและใช้เชื่อมโยงเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าด้วยกัน ดังนั้นก่อนจะเริ่มศึกษา Ajax จึงจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานของภาษา Javascript มาบ้าง ในบทนี้จะช่วยปูพื้นฐานสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยศึกษาภาษานี้มาก่อน โดยจะอธิบายส่วนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการนำไปประยุกต์ใช้ในเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบ Ajax

    • เริ่มต้นเขียนสคริปต์
    • เรียกเว็บเพจและเบราเซอร์ด้วย JavaScript
    • เขียนหมายเหตุใน JavaScript
    • แยกโค้ด JavaScript จากไฟล์ HTML
    • การประกาศตัวแปร
    • การสร้างอ็อบเจกต์
    • ใช้โอเปอเรเตอร์จัดการกับตัวแปร
      • โอเปอเรเตอร์กำหนดค่า (Assignment Operators)
      • โอเปอเรเตอร์เชิงเปรียบเทียบ (Comparison Operators)
      • โอเปอเรเตอร์เชิงคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators)
      • โอเปอเรเตอร์เชิงตรรกะ (Logical Operators)
    • จัดการอีเวนต์บนเบราเซอร์
    • รวมชุดคำสั่งเข้าเป็นฟังก์ชัน
      • ฟังก์ชันแบบส่งค่ากลับ
      • การเรียกใช้งานฟังก์ชัน
      • ฟังก์ชันและขอบเขตของตัวแปร
      • ฟังก์ชันแบบไม่มีชื่อ (Anonymous Function)
    • ใส่เงื่อนไขการทำงาน
      • คำสั่ง if … else
      • คำสั่ง switch เลือก 1 ทาง จากหลายๆ ทางเลือก
    • วนรอบการทำงาน
      • คำสั่ง for
      • คำสั่ง while
      • คำสั่ง break
      • คำสั่ง continue
    • เพิ่มลูกเล่นให้แบบฟอร์ม
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 3 เริ่มต้นเขียน Ajax

    หลังจากที่ทำความรู้จัก Ajax และปูพื้นฐาน Javascript มาแล้ว คงถึงเวลาที่ต้องเริ่มหัดเขียนกันซะที คุณผู้อ่านจะได้เข้าใจความหมายของ Ajax มากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เรียนรู้การใช้งาน อ็อบเจกต์ XMLHttpRequest ซึ่งเป็นอ็อบเจกต์หลักของ Ajax ที่ช่วยในการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดยที่ไม่ต้องโหลดหน้าเว็บเพจใหม่ทุกครั้ง

    • ขั้นตอนการทำงานของ Ajax
    • สร้างอ็อบเจกต์ XMLHttpRequest
    • เมธอดและพรอเพอร์ตีของ XMLHttpRequest
      • กำหนดรายละเอียดการเชื่อมต่อด้วย open
      • พรอเพอร์ตี readyState และ status
    • เริ่มแบบง่ายๆ ด้วย Hello World Ajax
    • ทดสอบ Mouseover กับ Ajax
    • เชื่อมต่อกับโปรแกรมฝั่งเซิร์ฟเวอร์
      • Hello World ด้วย JSP
      • Hello World ด้วย Ajax กันอีกครั้ง
    • ปัญหา Caching ของ Internet Explorer
      • ทางแก้ที่หนึ่ง แนบเวลาปัจจุบันต่อท้าย URL
      • ทางแก้ที่สอง ใช้การสร้างเลขสุ่มต่อท้าย URL
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 4 ส่งข้อมูลให้เซิร์ฟเวอร์ด้วย Ajax

    ปกติแล้ว เราจะใช้ภาษา JavaScript ในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่ต้องทำงานในลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้ เพราะมีจุดเด่นคือ สามารถประมวลผลทางฝั่งเบราเซอร์ทันที จึงทำงานได้อย่างรวดเร็วทันใจ แต่ในกรณีที่ต้องมีการส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ และเราไม่ต้องการให้มีการโหลดข้อมูลทั้งหน้าทุกครั้งแล้วล่ะก็ จะต้องใช้ JavaScript อ่านข้อมูลที่ได้รับจากการกรอกแบบฟอร์มในหน้าเว็บ และจัดให้อยู่ในรูปแบบของการส่งข้อมูลตามเทคนิคของ Ajax ก่อนที่จะส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์

    • การสร้างฟอร์ม
    • อิลิเมนต์ของฟอร์ม
    • การเข้าถึงอิลิเมนต์ของฟอร์ม
      • การเข้าถึงอิลิเมนต์แบบ DOM Level 0
      • การเข้าถึงอิลิเมนต์แบบ W3C DOM
    • การอ่านข้อมูลจากอิลิเมนต์
      • อิลิเมนต์ประเภทข้อความ
      • อิลิเมนต์ประเภท checkbox
      • อิลิเมนต์ประเภท radio
      • อิลิเมนต์ประเภท select
    • จัดรูปแบบข้อมูลก่อนส่งให้เซิร์ฟเวอร์
    • ส่งข้อมูลให้เซิร์ฟเวอร์ด้วย Ajax
      • ส่งข้อมูลแบบ GET
      • ส่งข้อมูลแบบ POST
    • ปัญหาภาษาไทยกับเมธอด POST
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 5 สร้าง Ajax Framework

    ถ้าเราต้องเขียนโค้ดโปรแกรมแบบเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา คงทำให้เสียเวลามากเกินความจำเป็น จะดีกว่ามั้ยถ้าเอาเวลาเหล่านี้ไปพัฒนาโปรแกรมใหม่ๆ ฉะนั้นในบทนี้เราจะมาสร้าง Ajax Framework ซึ่งเป็นการนำโค้ดโปรแกรมของ Ajax ที่เราต้องใช้บ่อยๆ มารวบรวมไว้เป็นไลบรารี เพื่อให้สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งที่เราต้องการ

    • เริ่มต้นสร้าง Ajax Framework
    • ฟังก์ชัน createRequestObject( )
    • ฟังก์ชัน getDataReturnText( )
    • ฟังก์ชัน getDataReturnXml( )
    • ฟังก์ชัน postDataReturnText( )
    • ฟังก์ชัน postDataReturnXml( )
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 6 ตัวช่วยฟรีสำหรับ Ajax

    เพราะเวลามีค่าสำหรับทุกคน คงจะดีไม่น้อยถ้าเราจะสามารถเรียกใช้ไลบรารีที่ผู้พัฒนาอื่นๆ แจกจ่ายให้ใช้ได้ฟรีๆ โดยเฉพาะไลบรารียอดนิยมซึ่งจะแนะนำในบทนี้ ช่วยให้เราสามารถนำไปพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันได้อย่างง่ายดาย และที่สำคัญคือมีข้อผิดพลาดน้อยมาก เพราะได้ผ่านการทดลองจากผู้ใช้ทั่วโลกรวมทั้งมีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง

    • ลดการเขียนโค้ดด้วย Prototype
      • ฟังก์ชัน $( )
      • ฟังก์ชัน $F( )
      • เมธอด Form.getElements( )
      • เมธอด Form.getInputs( )
      • เมธอด Form.serialize( )
      • ฟังก์ชัน try.these( )
      • คลาส Ajax.Request
      • คลาส Ajax.Updater
      • คลาส Ajax.PeriodicalUpdater
    • อีกตัวช่วยที่น่าสนใจ Scriptaculous
      • เตรียมตัวก่อนใช้งาน Scriptaculous
      • อ็อบเจกต์ Draggable
      • อ็อบเจกต์ Droppables
    • ไลบรารี jQuery ก็มีดีไม่แพ้กัน
      • แรปเปอร์ $( )
      • เมธอด $.get( )
      • เมธอด $.post( )
      • เมธอด load( )
      • การใช้งานร่วมกับ Prototype
    • Rico รองรับแอปพลิเคชันเต็มรูปแบบ
      • อ็อบเจกต์ AjaxEngine
      • ตัวอย่างการเรียกใช้ Rico
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 7 Ajax กับ XML

    การส่งข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์ด้วยเทคนิค Ajax บางครั้งต้องมีการรับส่งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร XML เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจโครงสร้างของเอกสารชนิดนี้ รวมทั้งต้องเรียนรู้วิธีการใช้ Javascript เพื่อจัดการกับเอกสาร XML ให้ถูกต้องและเหมาะสม

    • กฎพื้นฐานในการเขียน XML
      • ประกาศว่าเป็นเอกสาร XML
      • ต้องมีอิลิเมนต์หลัก
      • เปิด-ปิดแท็กตามลำดับ
      • แอตทริบิวต์ของอิลิเมนต์
    • มองเอกสาร XML ในรูปแบบต้นไม้
    • เข้าถึงอิลิเมนต์ด้วย DOM
    • ค้นหาอิลิเมนต์จากชื่อ
    • อ่านค่าแอตทริบิวต์ของอิลิเมนต์
    • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร XML
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 8 แต่งเว็บเพจด้วยสไตล์ชีต

    CSS (Cascading Style Sheets) เป็นตัวกำหนดหน้าตาของเว็บไซต์ จากเดิมที่เคยมีแต่ภาษา HTML ซึ่งอาจมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่สามารถกำหนดรูปแบบหน้าตาเว็บไซต์ได้อย่างที่ต้องการ จึงมีการนำ CSS เข้ามาทำงานร่วมกับ HTML เพื่อเสริมพลังให้แก่เว็บไซต์นั้นๆ และในปัจจุบันได้มีการนำ CSS มาใช้ร่วมกับ Ajax ด้วยทำให้เว็บไซต์มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

    • ทำความรู้จัก CSS
    • การสร้างสไตล์ชีต
      • รูปแบบ Tag Selector
      • รูปแบบ Class Selector
      • รูปแบบ Tag Selector + Class Selector
      • รูปแบบ ID Selector
      • กลุ่ม Selector
    • การเรียกใช้งานสไตล์ชีต
      • Inline Style Sheet
      • Embedded Style Sheet
      • Link Style Sheet
      • @import Style Sheet
    • การกำหนดรูปแบบตัวอักษร
    • การกำหนดรูปแบบข้อความ
    • การกำหนดรูปแบบพื้นหลัง
    • การกำหนดรูปแบบเส้นขอบ
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 9 ตรวจสอบความผิดพลาด

    การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันในสมัยก่อน เราตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ยากมาก เพราะเราจะรันแอปพลิเคชันผ่านเว็บเบราเซอร์ แต่ปัจจุบันผู้พัฒนาเว็บเบราเซอร์ต่างให้ความสำคัญในจุดนี้ จึงได้มีการพัฒนาส่วนเสริมที่ช่วยให้สามารถหาข้อผิดพลาดได้ง่ายและตรงจุดมากขึ้น

    • ปัญหาการตรวจสอบโค้ด JavaScript ใน Internet Explorer
    • ตรวจสอบโค้ด JavaScript ด้วย Firefox
    • ตรวจสอบความผิดพลาดของ Ajax ด้วย Firebug
    • เริ่มการตรวจสอบข้อผิดพลาด
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 10 ทำความรู้จักกับ JSP

    เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายท่านที่เลือกใช้ภาษา JSP น่าจะมีความรู้เกี่ยวกับภาษา Java กันมาบ้าง ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้การเขียนสคริปต์ด้วยภาษา JSP ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษา Java โดยเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของ JSP และทำความรู้จักกับ JSP Container ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ รวมทั้งรูปแบบคำสั่งต่างๆ ในภาษา JSP ด้วย

    • ทำไมต้องใช้ JSP
    • การทำงานของ JSP
    • เขียนคำสั่ง JSP ทั่วไปด้วยแท็ก scriptlet
    • เขียนหมายเหตุใน JSP
    • แสดงค่าตัวแปรหรือเมธอดแบบย่อด้วยแท็ก expression
    • ประกาศตัวแปรหรือเมธอดด้วยแท็ก declaration
    • ประกาศตัวแปรใน scriptlet และ declaration ต่างกันอย่างไร
    • ชนิดข้อมูลและตัวแปร
    • เมธอดสตริงที่ควรรู้
      • เมธอด length( )
      • เมธอด charAt( )
      • เมธอด substring( )
      • เมธอด equals( )
      • เมธอด compareTo( )
      • เมธอด indexOf( ) และ lastIndexOf( )
      • เมธอด trim( )
      • เมธอด toUpperCase( ) และ toLowerCase( )
      • เมธอด startsWith( ) และ endsWith( )
    • แปลงข้อมูลสตริง <-> ตัวเลข
      • เมธอด parseInt( )
      • เมธอด toString( )
    • คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไข
      • คำสั่ง if
      • คำสั่ง if … else
      • คำสั่ง else if
      • คำสั่ง switch
    • คำสั่งวนรอบการทำงาน
      • คำสั่ง for
      • คำสั่ง while
      • คำสั่ง break
      • คำสั่ง continue
    • กำหนดสภาพการทำงานด้วยแท็ก Directive
      • การทำงานแบบ page directive
      • include directive
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 11 ติดต่อฐานข้อมูลด้วย JDBC

    อาจพูดได้ว่าแทบทุกระบบจะต้องมีการนำฐานข้อมูลเข้ามาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แอปพลิเคชัน ดังนั้นเราจำเป็นต้องเรียนรู้การติดต่อฐานข้อมูลอย่างละเลยไม่ได้ บทนี้จะกล่าวถึง JDBC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ JSP ใช้ในการติดต่อกับโปรแกรมฐานข้อมูลต่างๆ โดยเลือก MySQL เป็นฐานข้อมูลตัวอย่างในการทำความเข้าใจ

    • ติดตั้งฐานข้อมูล MySQL
    • ปรับแต่งฐานข้อมูล MySQL
    • คำสั่ง MySQL เบื้องต้น
      • คำสั่ง Create Database
      • คำสั่ง Show Databases
      • คำสั่ง Use
      • คำสั่ง Create Table
      • คำสั่ง Insert
      • คำสั่ง Select
      • คำสั่ง Update
      • คำสั่ง Delete
    • เตรียมเครื่องให้พร้อมใช้ JDBC
    • ได้เวลา JSP ทำงานกับ MySQL
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 12 สร้าง UI ง่ายนิดเดียวด้วย JSF

    เบื่อไหมกับการที่ต้องมานั่งเขียนโค้ดเพื่อสร้าง Text Box, Button, Label ฯลฯ ทั้งๆ ที่น่าจะมีวิธีที่ทำให้เราสามารถสร้างส่วนต่างๆ เหล่านี้ได้รวดเร็วและไม่ต้องมานั่งเขียนโค้ดเดิมซ้ำๆ JSF เป็นตัวเลือกที่คุณควรลองมาศึกษาดูว่ามันง่ายขนาดไหน เพียงแค่ลากแล้วปล่อย ก็ได้สิ่งที่ต้องการแล้ว

    • ทำความรู้จักกับ JSF
    • โครงสร้างของ JSF
    • JSF ทำงานอย่างไร
    • JSF Navigation Model คืออะไร
    • NetBeans เครื่องมือช่วยเขียน JSF
      • ติดตั้ง NetBeans
      • เพิ่ม Visual JSF เข้าไปใน NetBeans
      • เพิ่ม Tomcat เข้าไปใน NetBeans
    • เริ่มต้นเขียนโปรแกรม JSF
      • สร้างโปรเจกต์ใหม่ helloJSF
      • ส่วนประกอบของเว็บแอปพลิเคชันใน Netbeans
      • ไฟล์คอนฟิกเกอเรชัน (Configuration)
      • สร้าง UI
      • เขียนโค้ดกำหนดการทำงาน
      • ทดสอบโปรแกรม

    บทที่ 13 พัฒนาร้านขายหนังสือออนไลน์

    เชื่อว่าเว็บแอปพลิเคชันนี้คงโดนใจคุณผู้อ่านหลายท่าน เพราะนอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังสามารถนำตัวอย่างไปประยุกต์และพัฒนาเป็นระบบร้านค้าออนไลน์ที่สมบูรณ์ เพื่อนำไปเปิดร้านขายสินค้าหรือนำระบบไปขายหารายได้เข้ากระเป๋าได้อีกด้วย

    • ออกแบบตารางเก็บข้อมูล
      • ตาราง product
      • ตาราง shoppingcart
    • ร้านหนังสือออนไลน์ประกอบด้วยไฟล์อะไรบ้าง
      • ไฟล์ฝั่งเบราเซอร์
      • ไฟล์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์
    • กำหนดสไตล์การแสดงผล
    • เริ่มต้นด้วยหน้าแรกของเว็บไซต์
    • แสดงรายชื่อหนังสือในร้าน
    • หยิบหนังสือเข้าและออกจากตะกร้า
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 14 พัฒนาระบบแชตออนไลน์

    ลองมาเขียนโปรแกรมแชตออนไลน์ของตัวเองกันดีกว่า คุณสามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดเป็นระบบแชตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการใช้โปรแกรมดังๆ อย่าง MSN Messenger หรือ Skype แต่ระบบแชตที่เราพัฒนา เป็นระบบที่ไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องของเรา คือสามารถคุยผ่านหน้าเว็บของเราได้ทันที

    • ออกแบบตารางเก็บข้อมูล
    • แชตออนไลน์ประกอบด้วยไฟล์อะไรบ้าง
      • ไฟล์ฝั่งเบราเซอร์
      • ไฟล์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์
    • กำหนดสไตล์การแสดงผล
    • สร้างห้องแชต
    • แสดงข้อความในห้องแชต
    • เก็บข้อมูลในห้องแชต
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 15 สร้างห้องแสดงภาพออนไลน์

    ปัญหาหนึ่งของเว็บเพจในสมัยก่อน คือ ต้องใช้เวลามากในการโหลดรูปภาพขึ้นมาแสดงผล โดยเฉพาะการทำเว็บแกลเลอรีหรือห้องแสดงภาพออนไลน์แล้วล่ะก็ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง แต่เมื่อมีเทคโนโลยี Ajax เข้ามาช่วย การทำเว็บแกลเลอรีจึงกลายเป็นเรื่องที่ง่ายและไม่น่าเบื่ออีกต่อไป เพราะเราสามารถออกแบบและใส่ลูกเล่นที่น่าสนใจได้ อีกทั้งยังมี Framework ต่างๆ ที่สวยงามและเราสามารถนำมาใช้ได้ฟรีๆ

    • ออกแบบตารางเก็บข้อมูล
    • ห้องแสดงภาพออนไลน์ประกอบด้วยไฟล์อะไรบ้าง
      • ไฟล์ฝั่งเบราเซอร์
      • ไฟล์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์
    • กำหนดสไตล์การแสดงผล
    • สร้างห้องแสดงภาพ
    • แสดงรูปภาพตัวอย่าง
    • แสดงรูปภาพที่ได้รับเลือก
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 16 ดูหลากหลายเว็บไซต์ด้วย RSS

    หากเว็บไซต์แห่งใดมีการให้บริการข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและมีระบบที่ทันสมัย ย่อมจะทำให้เว็บไซต์เหล่านั้นนำหน้าคู่แข่งได้ไม่ยาก RSS ถือเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การอัปเดตข้อมูลข่าวสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นมาก ผู้รับข่าวสารไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเปิดเข้าเว็บไซต์ข่าวสารโดยตรง ก็สามารถอ่านข่าวสารจากเว็บไซต์เหล่านั้นได้ทันที

    • RSS Reader ประกอบด้วยไฟล์อะไรบ้าง
      • ไฟล์ฝั่งเบราเซอร์
      • ไฟล์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์
    • กำหนดสไตล์การแสดงผล
    • ดึงข้อมูลเว็บไซต์ RSS
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    บทที่ 17 ทำสมุดเยี่ยมชมออนไลน์

    การมีสมุดเยี่ยมชมไว้ในเว็บไซต์ จะช่วยให้เราสามารถประเมินผลเว็บของเราได้ แต่ถ้าเราต้องการจะให้ผู้เยี่ยมชมร่วมแสดงความคิดเห็นเข้ามามากๆ ในขณะที่ระบบกลับทำงานช้า ผู้ใช้ก็คงจะไม่รอและไม่อยากกรอกสมุดเยี่ยมเท่าไรนัก ฉะนั้นในบทนี้เราจะมาทดลองสร้างสมุดเยี่ยมชมออนไลน์โดยใช้เทคนิค Ajax เพื่อช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น

    • ออกแบบตารางเก็บข้อมูล
    • สมุดเยี่ยมชมออนไลน์ประกอบด้วยไฟล์อะไรบ้าง
      • ไฟล์ฝั่งเบราเซอร์
      • ไฟล์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์
    • กำหนดสไตล์การแสดงผล
    • สร้างสมุดเยี่ยมชม
    • อ่านความคิดเห็นในสมุดเยี่ยมชม
    • ส่งความคิดเห็นใหม่ๆ
    • รายชื่อไฟล์ที่แจกผู้อ่านในบทนี้

    ภาคผนวก ก เตรียมเครื่องให้พร้อมสำหรับ Ajax และ JSP

    • ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์อะไรบ้าง
    • ติดตั้ง J2SE
    • กำหนดค่าตัวแปร PATH
    • ติดตั้ง Tomcat เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์
      • ส่วนประกอบของ Tomcat
      • ปรับแต่ง Tomcat ให้ใช้ง่ายขึ้น
      • ทดสอบการทำงานของ Tomcat
    • ติดตั้ง EditPlus
    • ทดสอบการรัน JSP

    ภาคผนวก ข สารพันเว็บไซต์ Ajax และ JSP

    • เว็บไซต์แหล่งข้อมูล Ajax
    • เว็บไซต์ Ajax Framework
    • เว็บไซต์ JSP และ JSF

    FAQ คำถามที่พบบ่อย

    ดัชนี